หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุม กำกับ ดูแล ระบบการจัดการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PUXU-680A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุม กำกับ ดูแล ระบบการจัดการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานกำกับ ควบคุมการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน กำกับและดำเนินการพิธีการศุลกากร ตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน กรณีพบปัญหาที่เกิดขึ้น


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค
กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03511

กำกับ ควบคุมการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

1. ตรวจสอบการปฏิบัติของพนักงานตามขั้นตอนที่กำหนด

2. ประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานตามรายการที่กำหนด

03512

กำกับและดำเนินการพิธีการศุลกากร

1. ชี้แนะการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด

2. ดูแลการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้เป็นไปตามข้อกำหนด

03513

ตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน กรณีพบปัญหาที่เกิดขึ้น

1. สำรวจความถูกต้องของเอกสารการส่งออก-นำเข้าตามข้อกำหนด


2. ยืนยันความถูกต้องของเอกสารการส่งออก-นำเข้าตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานกำกับ ควบคุมการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน
     1.1 สามารถตรวจสอบการปฏิบัติของพนักงานตามขั้นตอนที่กำหนด
     1.2 สามารถประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานตามรายการที่กำหนด
2. ปฏิบัติงานกำกับการดำเนินการพิธีการศุลกากร
     2.1 สามารถชี้แนะการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด
     2.2 สามารถดูแลการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้เป็นไปตามข้อกำหนด
3. ปฏิบัติงานตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน กรณีพบปัญหาที่เกิดขึ้น
     3.1 สามารถสำรวจความถูกต้องของเอกสารการส่งออก-นำเข้าตามข้อกำหนด
     3.2 สามารถยืนยันความถูกต้องของเอกสารการส่งออก-นำเข้าตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การควบคุม การกำกับ ติดตามเกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้า
2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน
3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค
      2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย
(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร
      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน
      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร
      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร
(ค)  คำแนะนำการประเมิน
       ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน
(ง)  วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)  คำแนะนำ 
     1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการส่งออก-เข้าสินค้าและใบขนสินค้าเพื่อการผ่านแดนตามระเบียบของกรมศุลกากรในการ ผ่านแดน
     2.  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องกำกับการดำเนินการพิธีการศุลกากรตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย
     3. เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้าและการดำเนินการพิธีการศุลกากรตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทยและไปยังต่างประเทศ
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
      การควบคุม หมายถึง กระบวนการติดตาม ตรวจสอบ ผลการปฏิบัติงานขององค์การ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือมาตรฐานที่กำหนด เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน
การกำกับหมายถึง การศึกษาเรื่อง “การกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของธุรกิจการส่งออก-นำเข้า
     1) ศึกษาถึงรูปแบบการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของพนักงานในการบริหารงานขององค์กรส่งออก-นำเข้า 
     2) การกำหนดบทบาทของผู้บริหารในการกำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของการดำเนินการพิธีการศุลกากร และ 
     3) การเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ ต่อระบบการกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของธุรกิจการส่งออก-นำเข้า เช่น ผู้นำเข้าสามารถให้เอเย่นต์เป็นผู้ดำเนินการการผ่านพิธีการศุลกากรให้ได้ โดยเอเย่นต์นั้นต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากร ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจะต้องเสียภาษีต่าง ๆ เช่น ภาษีนำเข้า ภาษีการขาย ก่อนที่สินค้านั้นจะถูกปล่อยออกมา
      เอกสารที่กรมศุลกากรของกำหนด
      แบบฟอร์ม Customs Entry   
       หลักฐานแสดงสิทธิ์ในการเข้าเมือง เช่น Bill of landing
       Commercial invoice หรือ Pro-forma invoice    
      Packing List
       เอกสารอื่นๆ เช่น ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน
        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
18.2  เครื่องมือการประเมิน
        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
18.3  เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
       3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
 


ยินดีต้อนรับ