หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดต่อ ประสานงานเพื่อการส่งออก-นำเข้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-KLON-666A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดต่อ ประสานงานเพื่อการส่งออก-นำเข้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร) ระดับ 3 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานประสานงานเพื่อขอลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการขออนุมัติเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามที่กรมศุลกากรกำหนดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1. ระเบียบการขออนุมัติเป็นตัวแทนส่งออกและนำเข้า อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบของ กรมศุลกากร
2. กฎระเบียบการขออนุญาตเป็นตัวแทนส่งออกและนำเข้าตามมาตรฐานสากล 
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03211

ประสานงานเพื่อขอลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น

ที่เกี่ยวข้อง


1. ติดต่อ ประสานงานและเตรียมเอกสารขอลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

2. ติดตามการขออนุมัติเอกสารคำร้องขอเป็นผู้ส่งออก-นำเข้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

03212

ดำเนินการขออนุมัติเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามที่กรมศุลกากรกำหนดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

1. ติดต่อ ประสานงานและเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ

2. ติดตามการอนุมัติเอกสารคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้า ตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานประสานงานเพื่อขอลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 
    1.1 สามารถติดต่อ ประสานงานและเตรียมเอกสารขอลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออก-นำเข้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    1.2 สามารถติดตามการขออนุมัติเอกสารคำร้องขอเป็นผู้ส่งออก-นำเข้ากับกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการขออนุมัติเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามที่กรมศุลกากรกำหนดและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
     2.1 สามารถติดต่อ ประสานงานและเตรียมเอกสารเพื่อยื่นคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ
     2.2 สามารถติดตามการอนุมัติเอกสารคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้า ตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1.การขออนุมัติเป็นผู้นำเข้าตามที่กรมศุลกากรกำหนด
 2. ระเบียบปฏิบัติกรมศุลกากร
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)   
      1. เอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้นำเข้า
      2. เอกสารคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้า ตามระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากร
(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1. ใบผ่านการอบรมการปฏิบัติพิธีการศุลกากรและการจัดทำเอกสารการส่งออกและนำเข้า
      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
       ประเมินเกี่ยวกับการยื่นขอคำร้องเพื่อขอเป็นตัวแทนรับอนุญาตนำเข้าจากกรมศุลกากร  
(ง)  วิธีการประเมิน
      1. พิจารณาหลักฐานความรู้
      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
     (ก)  คำแนะนำ
           1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำเอกสารเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้นำเข้า ตามที่กรมศุลกากรกำหนด 
           2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องขออนุมัติการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากร
    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด
          1. ตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator : AEO) คือตัวแทนออกของทั่วไป ที่มีความประสงค์จะยกระดับตนเองเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านความปลอดภัย ในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสู่ระดับโลก โดยสามารถยื่นคำร้องขอรับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กรมศุลกากรกำหนด ซึ่งตัวแทนออกของที่กรมศุลกากรได้รับรองให้เป็นตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอ จะสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยความสะดวกรวดเร็ว และได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรมากยิ่งขึ้น

           2. ดำเนินการขออนุมัติหมายถึง ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ เพื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้นำของผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลำ เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบคำขออนุญาต/ ต่ออายุตัวแทนออกของปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถยื่นแบบคำขออนุญาต/ ต่ออายุฯ และ/หรือ แบบแนบได้ ณ ฝ่ายทะเบียนตัวแทนออกของ ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หรือ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้รับลงทะเบียนของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร

           3. ขั้นตอนนำเข้าสินค้าและเอกสารที่ต้องเตรียมนำเข้า
ปัจจุบันผู้ประกอบการจำนวนมากนำเข้า (Import) สินค้าจากต่างประเทศทั้งจีน ยุโรป อเมริกาหรือเพื่อนบ้านมาเวียนมาขายในไทย ผู้ประกอบการต้องเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ เมื่อสินค้าถึงปลายทาง ผู้ประกอบการติดต่อสายการเดินเรือหรือท่าอากาศยานเพื่อชำระค่าใช้จ่ายปลายทาง นำใบตราส่งสินค้าเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า โดยผู้ประกอบการจะต้องผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าก่อนจึงจะเบิกของได้ ซึ่งพิธีการศุลกากรใช้ระบบดิจิตอลทั้งหมด บันทึกข้อมูลพร้อมลงลายมือชื่อในโปรแกรมส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยผู้ประกอบการเข้าสามารถทำด้วยตนเอง, ผ่านชิบปิ้ง หรือ ผ่าน Counter Service ก็ได้ ซึ่งเรียกว่า ผู้นำเข้า

               1. ขั้นตอนนำเข้าสินค้าอย่างแรกที่ต้องทำคือ ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
ผู้นำเข้าบันทึกข้อมูลต่าง ๆ  ดังนี้

                   1) ข้อมูลเรือเข้า
                   2) ใบตราส่งสินค้า
                   3) บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ
                   4) บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ
                   5) เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
                   6) ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นใด กรณีสินค้านําเข้าเป็นของต้องจำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                   7) กรณีเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ควรมีเอกสารใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสาร รายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) เพื่อแปลงเป็นใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ จากนั้นส่งสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรทางอินเตอร์เน็ต

               2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า

                   เมื่อศุลกากรได้รับข้อมูลเรียบร้อย ทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้า หากมีข้อผิดพลาด ศุลกากรแจ้งกลับมายังผู้นำเข้าเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ส่งกลับกรมศุลกากรอีกครั้ง ขั้นตอนนี้อาจเกิดหลายครั้งหากข้อมูลยังผิดพลาดเมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกต้องครบถ้วน ศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

               3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพิสูจน์เงื่อนไขชำระภาษีอากรขาเข้า
  หลังจากตรวจสอบข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ของกรมศุลกากร เจ้าหน้าที่จะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท

              - ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้านำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
              - ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) ส่วนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่านที่นำเข้าสินค้านั้น ๆ ก่อนจนกลายเป็นสินค้าแบบ Green Line
              ในปัจจุบัน ผู้นำเข้าสามารถชำระได้ 3 วิธี ได้แก่ ที่กรมศุลกากร ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และที่ธนาคาร
              4. เจ้าหน้าที่ตรวจและปล่อยสินค้า เป็น ขั้นตอนนำเข้าสินค้า ลำดับสุดท้าย
ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้ากับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อปล่อยสินค้า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าเพื่อความถูกต้องโดยละเอียดอีกครั้ง เพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจ 

              หากเป็นใบขนสินค้าขาเข้ายกเว้นการตรวจ ใช้เวลาน้อยมากและปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร หลังจากนั้นสถานะของการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและผู้นำเข้า ส่วนสินค้าที่ต้องผ่านการเปิดตรวจตามพิธีการศุลกากร ท่าเรือหรือท่าอากาศยานจะเคลื่อนย้ายสินค้าไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่ศุลกากร เมื่อเสร็จเรียบร้อยปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร สินค้าที่ถูกปล่อยออกมาถูกขนส่งไปยังสถานที่ของผู้ประกอบการ เมื่อได้รับผู้ประกอบการควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสินค้าทุกครั้ง

              เอกสารที่ต้องเตรียมในขั้นตอนนำเข้าสินค้ามาขายในประเทศ
             1. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ
             2. แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
             3. สําเนาใบตราส่งสินค้า
             4. สําเนาบัญชีราคาสินค้า
             5. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (ถ้ามี)
             6. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (ถ้ามี)
             7. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสําหรับของควบคุมการนําเข้า (ถ้ามี)
             8. ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
             9. เอกสารที่จําเป็นอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะ การใช้งานของสินค้า แคตตาล็อก

             สิ่งสำคัญผู้ประกอบการต้องติดตามการขั้นตอนนำเข้าสินค้าทุกขั้น เมื่อได้รับสินค้าตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าและธุรกิจ

           4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-ไม่มี-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
18.2 เครื่องมือการประเมิน
       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
       2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์
       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
 


ยินดีต้อนรับ