หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของระบบหม้อไอน้ำ (Boiler)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-WSDR-485A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของระบบหม้อไอน้ำ (Boiler)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4
รหัส ISCO-08     
2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน
3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน
3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงการควบคุมการทำงานระบบหม้อไอน้ำ โดยต้องมีความรู้และทักษะในการควบคุมการทำงาน ตรวจสอบการทำงานของระบบ ซ่อมบำรุงระบบ ดูแลรักษาระบบหม้อไอน้ำตามข้อกำหนดความปลอดภัย และดำเนินงานตามกฎหมายหรือระเบียบของผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ รวมถึงติดตามและปรับปรุงการปฏิบัติดูแลหม้อไอน้ำให้ทันสมัยอยู่เสมอตามประกาศกระทรวงหรือหน่วยงานที่ดูแลควบคุม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1) กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564 
2) ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 
3) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
4) ประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549 
5) ประกาศกระทรวง เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549 
6) ประกาศกระทรวง เรื่อง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549
7) ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559 
8) ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมและการสอบมาตรฐาน หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2554
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
BMG-TP01-4-0051

ตรวจสอบและควบคุมการทำงานของหม้อไอน้ำ (Boiler) ให้อยู่ในสภาวะปกติ

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน องค์ประกอบ เครื่องมือความปลอดภัย ของหม้อไอน้ำ

2. อ่านและใช้คู่มือควบคุมหม้อไอน้ำ

3. ควบคุมการทำงานของหม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัย

4. ตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำตามแผนการตรวจสอบ 

5. วิเคราะห์ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำและดัชนีไอน้ำ

6. บันทึกการตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำ

BMG-TP01-4-0052

ตรวจสอบและทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ (Boiler)

1. ตรวจสอบการทำงานของระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ 

2. ทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ

3. บันทึกและรายงานผลการตรวจสอบ/ทดสอบระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ

BMG-TP01-4-0053

บำรุงรักษาหม้อไอน้ำตามแผนการบำรุงรักษา

1. ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของหม้อไอน้ำ ระบบท่อและวาล์ว และระบบน้ำต่างๆ

2. บำรุงรักษาระบบท่อและวาล์ว ตามข้อกำหนดความปลอดภัย

3. บำรุงรักษาหม้อไอน้ำตามคู่มือใช้งาน กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

BMG-TP01-4-0054

ซ่อมบำรุงระบบหม้อไอน้ำเบื้องต้น

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบหม้อไอน้ำแบบต่าง ๆ  

2. ตรวจสอบระบบหม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัย

3. วิเคราะห์และซ่อมบำรุงระบบหม้อไอน้ำให้มีความปลอดภัย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการควบคุมระบบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน 
2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค
3. ทักษะทางวิศวกรรมและสามารถซ่อมบำรุงเบื้องต้น
4. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน
5. ทักษะการใช้งานโปรแกรมควบคุมเครื่องจักร/ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเครื่องจักร
6. ทักษะในการสังเกตุสิ่งผิดปกติ
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านระบบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน 
2. ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านเครื่องจักรกลเบื้องต้น
3. ความรู้เรื่องกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อน้ำความร้อนและภาชนะรับแรงดันในโรงงาน 
4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมควบคุมเครื่องจักร/ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเครื่องจักร สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปกติ/ผิดปกติ
5. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน
6. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ในเครื่องมือประเมิน (Assessment Standard)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 
2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ
3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หลักฐานข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (ต้องมี 1 ข้อ)
1.1 หลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ควบคุมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน  หรือผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนจากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
1.2 หลักฐานการมีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงาน  สาขาช่างยนต์  สาขาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม  สาขาช่างเทคนิคการผลิต  หรือสาขาอื่นที่มีวิชาการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับไอน้ำ การเผาไหม้  ความร้อน  การประหยัดพลังงาน  หรือความแข็งแรงของวัสดุ  รวมกันไม่น้อยกว่า  ๙  หน่วยกิต
2. กรณีที่ปฎิบัติงานเกิน 2 ปี แสดงหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมแนวทางการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัยในการทำงานของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน  โดยให้รับการฝึกอบรมดังกล่าวอย่างน้อยสองปีต่อหนึ่งครั้งตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้
2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 
-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียน โดยข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย
2. สอบสัมภาษณ์
3. สอบสถานการณ์จำลอง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมการทำงานระบบหม้อไอน้ำให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
(ก) คำแนะนำ 
-N/A-
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 
ผู้ดำเนินงานด้านการควบคุมการทำงานระบบหม้อไอน้ำ จะต้องการควบคุมการทำงาน ตรวจสอบการทำงานของระบบ ซ่อมบำรุงระบบ ดูแลรักษาระบบหม้อไอน้ำตามข้อกำหนดความปลอดภัย และดำเนินงานตามกฎหมายหรือระเบียบของผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ 
1. ระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler) หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube boiler) หม้อไอน้ำแบบผสม (Hybrid Boiler) และเทคโนโลยีแบบไหลผ่านทางเดียว (Once Through Boiler)  
2. ระบบที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบท่อและวาล์ว ระบบน้ำ 
3. ดัชนีไอน้ำ หมายถึง ดัชนีการใช้พลังงานเป็นตัวแปรที่ใช้บอกต้นทุน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ใช้ไอน้ำ ซึ่งหม้อไอน้ำและอุปกรณ์ไอน้ำแต่ละชุดจะมีดัชนีที่แตกต่างกัน เนื่องจากประสิทธิภาพต่างกัน 
ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงานของหม้อไอน้ำ ประกอบด้วย ความสามารถผลิตไอน้ำสมมูล และอัตราการระเหยจริง
4. ความสามารถผลิตไอน้ำสมมูล หมายถึง ความสามารถในการผลิตไอน้ำจริง (ตัน/ชั่วโมง) เท่ากับ  อัตราการไหลน้ำป้อนเข้าหม้อไอน้ำ – อัตราการปล่อยน้ำโบล์วดาวน์
5. อัตราการระเหยจริง หมายถึง อัตราการผลิตไอน้ำต่อพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนความร้อน
6. การตรวจสอบความปลอดภัย (Safety) ของหม้อไอน้ำ หมายถึง การตรวจสอบ/ทดลองการทำงานของระบบความปลอดภัยของหม้อไอน้ำตามกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบำรุงรักษารักษาหม้อไอน้ำตามแผนการบำรุงรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน 
7. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การตรวจสอบระดับน้ำใน Gauge glass การ blow down หม้อไอน้ำ ตรวจสอบการเผาไหม้ด้วยสายตา การปรับสภาพน้ำ ตรวจสอบการทำงานโดยทั่ว ๆ ไป
8. การบันทึกข้อมูล ได้แก่ 
-    บันทึกความดันหรืออุณหภูมิของน้ำในหม้อไอน้ำ 
-    บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำป้อน 
-    บันทึกอุณหภูมิของปล่องไอเสีย 
-    บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำมันเชื้อเพลิง 
-    บันทึกความดันของหัวพ่นละอองน้ำมัน (Oil atomizer) 
-    บันทึกค่าความดันของก๊าซ (กรณีใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง) 
-    บันทึกอุณหภูมิของไอน้ำที่ผลิตได้และน้ำที่กลับสู่หม้อไอน้ำ 
-    บันทึกปริมาณการเติมน้ำเข้าสู่หม้อไอน้ำ 
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 
3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย
 


ยินดีต้อนรับ