หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายทอดความรู้ให้แนวทางและข้อแนะนำแก่ผู้ตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-JZDA-565A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายทอดความรู้ให้แนวทางและข้อแนะนำแก่ผู้ตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 1311 ผู้จัดการด้านการผลิตในภาคการเกษตรและการป่าไม้
1 3142 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและการประมง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) รวมถึงการให้แนวทางและข้อแนะนำแก่ผู้ตรวจประเมินเพื่อแก้ไขปัญหา


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.    หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
2.    มาตรฐาน ISO 19011 : 2018
3.    หลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
102051

ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนาการตรวจประเมินตามระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

1. วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ของผู้ตรวจประเมินตามระบบระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

2. สรุปจุดเด่น จุดด้อย และแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการตรวจประเมิน

3. ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนาการตรวจประเมิน

102052

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาการตรวจประเมิน

1. ระบุปัญหาและวิเคราะห์ที่มาของปัญหา

2. วิเคราะห์และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

102051

ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนาการตรวจประเมินตามระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

1. วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ของผู้ตรวจประเมินตามระบบระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

2. สรุปจุดเด่น จุดด้อย และแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการตรวจประเมิน

3. ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนาการตรวจประเมิน

102052

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาการตรวจประเมิน

1. ระบุปัญหาและวิเคราะห์ที่มาของปัญหา

2. วิเคราะห์และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  (PGS)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการเรียนรู้/ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ/ทักษะการใช้เครื่องมือ Digital Platform ที่เกี่ยวข้องต่อการทำงาน
2.    ทักษะการจัดการข้อมูล
3.    ทักษะการบูรณาการข้อมูล
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์
2.    หลักการเบื้องต้นองค์ประกอบและรูปแบบที่สำคัญของระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) 
3.    หลักการ ขั้นตอนและเทคนิคของการตรวจประเมินตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ชัดเจนในกรอบของมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างตรงประเด็น
4.    การวางแผนและบริหารงานอย่างมีประสิทธิผล
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)   หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
        - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมิน
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        - ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมินที่เกี่ยวข้อง เช่น Organic  และ หลักสูตรเกี่ยวกับ GMP หรือ HACCP หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความปลอดภัยอาหาร
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
       - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมินที่จัดทำไม่เกิน 2 ปี
(ง)    วิธีการประเมิน
         พิจารณาตามคู่มือการประเมิน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
      ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงความรู้และทักษะเกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  (PGS) 
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     การถ่ายทอดองค์ความรู้ และแนวทางในการพัฒนาการตรวจประเมิน หมายถึง การเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ และระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ให้แก่เกษตรกรและผู้ตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 วิธีการประเมิน
        - การสอบสัมภาษณ์   
18.2 เครื่องมือ
        - แบบบันทึกการสัมภาษณ์
        
 


ยินดีต้อนรับ