หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-KVPS-562A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 1311 ผู้จัดการด้านการผลิตในภาคการเกษตรและการป่าไม้
1 3142 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและการประมง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  (PGS) การตรวจประเมินแปลงเพาะปลูก สถานที่จัดเก็บ และเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ และการตรวจประเมินกระบวนการผลิต


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.    หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
2.    มาตรฐาน ISO 19011 : 2018
3.    หลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
102021

ตรวจประเมินแปลง

1. สำรวจข้อมูล ปัจจัยการผลิต แหล่งน้ำ

2. สำรวจสภาพพื้นที่ปลูกและสภาพแวดล้อม แนวกันชนทั้ง 4 ทิศ

3. ตรวจประเมินสถานที่จัดเก็บเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ 

4. ตรวจประเมินสถานที่จัดเก็บผลิตผลทางการเกษตร

5. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต 

102022

ตรวจประเมินกระบวนการผลิต

1. ตรวจประเมินแหล่งที่มาและการใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์

2. ตรวจประเมินการจัดการคุณภาพในการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว 

3. ตรวจประเมินการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

4. ตรวจประเมินการพักผลผลิต การขนย้ายผลผลิต การเก็บรักษาผลผลิต

5. ประยุกต์ใช้หลักการ ขั้นตอนและเทคนิคการตรวจประเมินได้

6. ประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในระบบอินทรีย์

102021

ตรวจประเมินแปลง

1. สำรวจข้อมูล ปัจจัยการผลิต แหล่งน้ำ

2. สำรวจสภาพพื้นที่ปลูกและสภาพแวดล้อม แนวกันชนทั้ง 4 ทิศ

3. ตรวจประเมินสถานที่จัดเก็บเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ 

4. ตรวจประเมินสถานที่จัดเก็บผลิตผลทางการเกษตร

5. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต 

102022

ตรวจประเมินกระบวนการผลิต

1. ตรวจประเมินแหล่งที่มาและการใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์

2. ตรวจประเมินการจัดการคุณภาพในการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว 

3. ตรวจประเมินการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

4. ตรวจประเมินการพักผลผลิต การขนย้ายผลผลิต การเก็บรักษาผลผลิต

5. ประยุกต์ใช้หลักการ ขั้นตอนและเทคนิคการตรวจประเมินได้

6. ประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในระบบอินทรีย์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การประยุกต์ใช้หลักการ ขั้นตอน และเทคนิคการตรวจประเมิน
2.    การวางแผนและบริหารงานอย่างมีประสิทธิผล
3.    การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การฟัง การสังเกตการณ์ 
4.    การทบทวนเอกสาร บันทึก และข้อมูลที่มีประสิทธิผล
5.    การทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมไว้
6.    การตรวจประเมินปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน
7.    การใช้เอกสารการทำงานเพื่อบันทึกกิจกรรมการตรวจประเมิน
8.    การจัดทำรายงานการตรวจประเมิน
9.     การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล 
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจประเมิน
2.    ความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการตรวจประเมิน เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน
3.    การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล
4.    กระบวนการผลิตพืช กระบวนการแปรรูปทั่วไป และคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.    หลักเกณฑ์ กฎหมายและกฎระเบียบระดับท้องถิ่น และข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมิน
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          - ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมินที่เกี่ยวข้อง เช่น Organic  และ หลักสูตรเกี่ยวกับ GMP หรือ HACCP หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความปลอดภัยอาหาร
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
          - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมินที่จัดทำไม่เกิน 2 ปี
(ง) วิธีการประเมิน
        พิจารณาตามคู่มือการประเมิน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
        ผู้จะเข้ามาประเมินจะต้องแสดงความรู้ในการเตรียมการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  (PGS)
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
        ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินแปลง ดังนี้
        - ข้อมูลเกษตรกร ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เลขที่บัตรบัตรประชาชน
        - ข้อมูลแปลง ได้แก่ ชื่อแปลง พิกัดแปลง พืชที่ขอรับรองฯ ปัจจัยการผลิตที่ใช้ แหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต รวมถึง บุคลากร เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิต แหล่งน้ำที่ใช้ ภาพวาดแปลง
       เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้แก่ บันทึกฟาร์ม บันทึกต้นทุน บันทึกการซื้อ จ้าง บันทึกการขาย บันทึกการเข้ารับการอบรมด้านเกษตรอินทรีย์
       การประยุกต์ใช้หลักการขั้นตอนและเทคนิคการตรวจเพื่อตรวจประเมินปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของความปลอดภัยและคุณภาพ ตามหลักการปฏิบัติสุขลักษณะที่ดี (Good Hygiene Practices (GHPs) 
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 วิธีการประเมิน
        - การสอบข้อเชียน
        - การสอบสัมภาษณ์
        - แฟ้มสะสมผลงาน

18.2 เครื่องมือ
        - ผลการสอบข้อเขียน
        - แบบบันทึกสัมภาษณ์
        - แบบบันทึกแฟ้มสะสมผลงาน
 


ยินดีต้อนรับ