หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QPDI-555A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 1311 ผู้จัดการด้านการผลิตในภาคการเกษตรและการป่าไม้
1 3142 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและการประมง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการตรวจประเมินแหล่งน้ำ สภาพพื้นที่แปลงเพาะปลูก สถานที่จัดเก็บ และเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ได้ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐาน รวมถึงการตรวจประเมินกระบวนการผลิต และสุขอนามัยในการผลิตได้ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.    หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี  ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 
2.    มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9001-2564
3.    พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
4.    พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
5.    มาตรฐาน ISO/IEC 17065 : 2012
6.    มาตรฐาน ISO/IEC 17020 : 2012
7.    มาตรฐาน ISO 19011 : 2018
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101021

ตรวจประเมินแปลงปลูกและการปฏิบัติต่างๆเพื่อประเมินความสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

1. ตรวจสอบแปลงปลูกและการปฏิบัติต่างๆ ตามขั้นตอนการผลิตพืชเพื่อประเมินความสอดล้องกับมาตรฐานตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

2. ตรวจสถานที่จัดเก็บวัตถุอันตราย เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

3. ตรวจสถานที่จัดเก็บผลิตผลทางการเกษตร

4. บันทึกกิจกรรมและข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจประเมินตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

101022

ตรวจประเมินการทวนสอบระบบผลิต ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

1. ตรวจประเมิน วิธีการทวนสอบ การบันทึกและจัดเก็บเอกสาร และการตามสอบสินค้าตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนด ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน

2. บันทึกกิจกรรมและข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจประเมิน ตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

101021

ตรวจประเมินแปลงปลูกและการปฏิบัติต่างๆเพื่อประเมินความสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

1. ตรวจสอบแปลงปลูกและการปฏิบัติต่างๆ ตามขั้นตอนการผลิตพืชเพื่อประเมินความสอดล้องกับมาตรฐานตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

2. ตรวจสถานที่จัดเก็บวัตถุอันตราย เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

3. ตรวจสถานที่จัดเก็บผลิตผลทางการเกษตร

4. บันทึกกิจกรรมและข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจประเมินตามเอกสารรายการตรวจประเมิน

101022

ตรวจประเมินการทวนสอบระบบผลิต ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

1. ตรวจประเมิน วิธีการทวนสอบ การบันทึกและจัดเก็บเอกสาร และการตามสอบสินค้าตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนด ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน

2. บันทึกกิจกรรมและข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจประเมิน ตามเอกสารรายการตรวจประเมิน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาความรู้
2. ทักษะการวางแผนดำเนินการและแก้ปัญหาหน้างาน 
3. ทักษะการสัมภาษณ์การฟัง การสังเกต การสื่อสารและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ 
4. ทักษะการบันทึกข้อมูล การเข้าถึงระบบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงานและทวนสอบข้อมูล
5. ทักษะการใช้เทคโนโลยีและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ในข้อกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์การตรวจประเมินและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนและต่ออายุใบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอาหาร
2.    ความรู้ในการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติและแนวทางการประเมินความถูกต้อง เหมาะสมของสิ่งที่ดำเนินงานป้องกันความเสี่ยง
3.    การจัดทำรายงานและขั้นตอนการขึ้นทะเบียนใบรับรองและต่ออายุใบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอาหาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
          - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมิน
(ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
          - ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมินที่เกี่ยวข้อง เช่น GAP ,ISO 9001 และ หลักสูตรเกี่ยวกับ GMP หรือ HACCP หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความปลอดภัยอาหาร หรือ การอารักขาพืช
(ค)     คำแนะนำในการประเมิน
        - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมินที่จัดทำไม่เกิน 2 ปี
(ง)     วิธีการประเมิน
          พิจารณาตามคู่มือการประเมิน
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 ก)    คำแนะนำ
        ผู้จะเข้ามาประเมินจะต้องแสดงความรู้ในตรวจประเมินแปลงเพาะปลูก สถานที่จัดเก็บ และเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
        การตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดกระบวนการผลิตสอดล้องกับมาตรฐานตามเอกสารรายการตรวจประเมิน มีดังนี้
         -    การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
         -    การจัดการคุณภาพในการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว 
         -    การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
         -    การพักผลผลิต การขนย้ายผลผลิต การเก็บรักษาผลผลิต
         -    ประเด็นสำคัญอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความเช่ือมั่นของความปลอดภัยอาหารและคุณภาพผลผลิต
         -    ตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพภายในกลุ่ม สำหรับการตรวจประเมินแบบกลุ่ม
        การทวนสอบระบบการผลิต ได้แก่ การบันทึกข้อมูลแปลงปลูก และการตามสอบสินค้าเมื่อมีปัญหาตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18.1 วิธีการประเมิน
        - การสอบข้อเขียน
18.2 เครื่องมือ
        - ผลการสอบข้อเขียน
 


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
N/A

ยินดีต้อนรับ