หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-DUGL-049B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)

1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

การปฏิบัติงานด้านบัญชีเกี่ยวกับรับรู้รายการเริ่มแรก การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ สำหรับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป การบันทึกรายการปรับปรุงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับรู้ผลตอบแทนจากการลงทุน การควบคุมภายในเกี่ยวกับรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่มี 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1 มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า

1.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของหลักทรัพย์เพื่อค้าให้ถูกต้อง

1.2 บันทึกบัญชีเมื่อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าให้ถูกต้อง

1.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อค้าณ วันสิ้นงวด ให้ถูกต้อง

1.4 บันทึกบัญชีกรณีโอนเปลี่ยนประเภทหลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง

1.5 ระบุแนวทางควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินลงทุนให้ถูกต้อง

010512 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย

2.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของหลักทรัพย์เผื่อขายให้ถูกต้อง

2.2 บันทึกบัญชีเมื่อขายหลักทรัพย์เผื่อขายให้ถูกต้อง

2.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขายณ วันสิ้นงวด ให้ถูกต้อง

2.4 บันทึกบัญชีกรณีโอนเปลี่ยนประเภทหลักทรัพย์เผื่อขายเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง

010513 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด

3.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดให้ถูกต้อง

3.2 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับผลตอบแทนจากจากเงินลงทุนในตราสารหนี้ให้ถูกต้อง

3.3 บันทึกบัญชีกรณีเปลี่ยนประเภทจากตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง

010514

บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนทั่วไป


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีสำหรับผู้มีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับที่ 3 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    บันทึกรับรู้รายการเริ่มแรก (ได้มา) ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป
2)    บันทึกรับรู้การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 
3)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
4)    บันทึกรับรู้รายการเกี่ยวกับการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป
5)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
6)    ทำทะเบียนคุมเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับคำนิยามและการจำแนกของหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป
2)    ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของราคาทุน และการคำนวณราคาทุนเมื่อเริ่มรับรู้รายการเริ่มแรกของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
3)    ความรู้เกี่ยวกับการวัดมูลค่าของราคาทุนของรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน
4)    ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีกรณีมีการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
5)    ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
6)    ความรู้เกี่ยวกับการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
7)    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมภายในสำหรับรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- ไม่มี -
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ
2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
- ไม่มี -
(ง)    วิธีการประเมิน
1)    การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         
- ไม่มี-
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด    
หลักทรัพย์เพื่อค้า หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้เพื่อหลักเพื่อที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้ในระยะสั้นๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ ดังนั้น หลักทรัพย์เพื่อค้าจึงมีอัตราการหมุนเวียนสูง
หลักทรัพย์เผื่อขาย หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หรือเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือเงินลงทุนในการร่วมค้า หลักทรัพย์เผื่อขายสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว
ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หมายถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน
เงินลงทุนทั่วไป หมายถึง เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ทำให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า เผื่อขาย หรือเงินลงทุนทั่วไป สามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว
การควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication) และ 5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring)  
ตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนเป็นแนวคิดในการควบคุมภายในขั้นพื้นฐานที่นักบัญชีต้องประยุกต์ให้เข้ากับงานด้านเงินลงทุน  ซึ่งผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความรู้อย่างน้อยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี 


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี 


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 


ยินดีต้อนรับ