หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรายงาน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HHOU-504A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรายงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2511 นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยนี้ครอบคลุมระดับพื้นฐานที่จำเป็นในการสนับสนุนงานระบบสารสนเทศทางการแพทย์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์
2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม
2514 โปรแกรมเมอร์
2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล
 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560
- คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
MBA0401

ระบุความต้องการข้อมูลและข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับการสร้างรายงานจากผู้ใช้

1.1 วิเคราะห์ข้อกำหนดสำหรับการสร้างรายงานจากผู้ใช้งาน

1.2 ระบุข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการสร้างรายงาน

MBA0402

ระบุและเลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมเครื่องมือและเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล

2.1 เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมในการทำรายงาน

2.2 เลือกเครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับนำข้อมูลมาวิเคราะห์

MBA0403

ระบุตัวแปรที่เหมาะสมทั้งหมด (เช่นข้อมูลว่างหรือข้อ จำกัด ของข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่จะให้)

3.1 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของข้อมูล เช่น ข้อมูลสามารถเป็นข้อมูลว่าง หรือเป็นค่าใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำรายงานหรือการนำไปใช้

3.2 กำหนดตัวแปรที่เหมาะสมสำหรับการทำรายงาน

MBA0404

บันทึกข้อมูลที่จำเป็นในเอกสารข้อกำหนดข้อมูล

4.1 บันทึกผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของข้อมูลและการระบุตัวแปรที่เหมาะสมลงในเอกสารข้อกำหนดข้อมูล

4.2 ตรวจสอบและแก้ไขข้อขัดแย้งของข้อมูลให้ถูกต้อง

MBA0405

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เลือก

5.1 เลือกเครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล

5.2 นำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่กำหนดมาวิเคราะห์

MBA0406

สร้างรายงานตามเอกสารข้อกำหนดข้อมูล

6.1 สร้างรายงานตามเอกสารข้อกำหนด

6.2 นำเสนอรายงานให้ผู้ใช้

MBA0407

ระบุและเน้นความผิดปกติและข้อ จำกัดใด ๆ

7.1 ตรวจสอบผลการวิเคราะห์เพื่อหาความผิดปกติของข้อมูล

7.2 ระบุความผิดปกติของข้อมูลและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและแก้ไข


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    มีความรู้ด้านธุรกิจการแพทย์
2.    มีความรู้และคุ้นเคยกับฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันขององค์กรด้านการแพทย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับสร้างรายงาน
2. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเกิดขึ้นที่มีผลกระทบต่อข้อมูลที่จะใช้ทำรายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง
3. ความสามารถในการสรุปและจัดทำเอกสารข้อกำหนดด้านข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในด้านโครงสร้างตัวแปรในการเก็บข้อมูล
2. ความรู้ในด้านโครงสร้างระบบฐานข้อมูล
3. ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของเทคโนโลยี
4. ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางธุรกิจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะ-ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
     1. ผลการบันทึกรายการจากการสังเกต
     2. ผลการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน
     3. ผลจากการปฏิบัติงาน
     4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
     1. ผลจากสัมภาษณ์และหรือ
     2. ผลจากทดสอบความรู้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
      ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
     1. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมินโดยใช้แบบทดสอบความรู้ข้อเขียน
     2. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสาธิตการปฏิบัติงานจริงโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ หรือ
     3. เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. วิเคราะห์โครงสร้างและข้อจำกัดของข้อมูล
2. ระบุข้อจำกัดของข้อมูล และตัวแปรที่เหมาะสม เช่นข้อมูลสามารถเป็นค่าว่าง, ไม่มีค่า, เป็นตัวเลขได้อย่างเดียว หรือเป็นตัวหนังสือ, รวมถึงขนาดของข้อมูล
3. รวบรวมข้อมูล  และบันทึกข้อมูลที่จำเป็นรวมถึงคุณลักษณะของข้อมูลในเอกสารกำหนดข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสม เช่น การวิเคราะห์เชิงสถิติ, การเปรียบเทียบข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูลประชากร, การวิเคราะห์โดยสร้างโมเดลจำลองสถานการณ์, การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นต้น
5. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น ใช้ Spreadsheet, เครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจ (Business Intelligent: BI), ฐานข้อมูล, คลังข้อมูล (Data warehouse) เป็นต้น
6. สร้างรายงานตามเอกสารข้อกำหนดข้อมูล เช่น รายงานด้านการเงิน, รายงานด้านเชิงคุณภาพ, รายงานประสิทธิภาพของการทำงาน, รายงานสำหรับให้องค์กรตรวจสอบคุณภาพภายนอกเข้ามาตรวจสอบ    
7. ระบุและเน้นความผิดปกติและข้อ จำกัดใด ๆ เช่นระบุว่าข้อมูลมีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรือมีค่าว่าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจได้รับการประเมินผ่าน    
•    การสอบข้อเขียน    
•    การสัมภาษณ์
โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น


ยินดีต้อนรับ