หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-HVVU-042B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี

 

1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานและเครื่องมือขั้นสูงในการตรวจสอบอัญมณี หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณี ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีรูปแบบต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในการจำแนกวิธีการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีดังกล่าวด้วยเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณีและเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง และผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ข้อจำกัดของการตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
50000601

ตรวจสอบวิเคราะห์การปรับปรุงคุณภาพอัญมณีด้วยเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน

1. ตรวจสอบอัญมณีภายใต้กล้องจุลทรรศน์อัญมณี

2. ตรวจสอบอัญมณีด้วยเทคนิคทางแสง

3. อ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจสอบ

50000602

ตรวจสอบวิเคราะห์การปรับปรุงคุณภาพอัญมณีด้วยเครื่องมือขั้นสูง

1. ตรวจสอบอัญมณีด้วยเครื่องมือทางสเปกโทรสโกปี

2. อ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจสอบ

50000603

วิเคราะห์และสรุปผลการตรวจสอบอัญมณี

1. วิเคราะห์ผล ตามความรู้ และลักษณะเด่น

2. สรุปและบันทึกผลการตรวจสอบอัญมณี

50000604

จัดการองค์ความรู้การตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี

1. จัดเก็บองค์ความรู้ด้านเทคนิคการตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี

2. จัดความรู้ให้เป็นระบบ ตามลักษณะการสืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย

3. ประมวลและกลั่นกรองความรู้ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

4. จัดการการเข้าถึงความรู้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

2. สามารถเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์อัญมณีจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

3. สามารถเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูงจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

3. สามารถเตรียมความพร้อมของเครื่องมือก่อนการตรวจสอบ

4. สามารถจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือภายหลังการตรวจสอบ

5. สามารถอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

6. สามารถวิเคราะห์ผลจากการใช้เครื่องมือ เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในเรื่องชนิดของการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี ลักษณะทางสเปกโทรสโกปี องค์ประกอบทางเคมี และลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง

3. ความรู้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

2. แสดงการเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์อัญมณีจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

3. แสดงการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูงจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

4. แสดงการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือก่อนการตรวจสอบ

5. แสดงการจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือภายหลังการตรวจสอบ

6. แสดงการอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

7. แสดงการวิเคราะห์ผลจากการใช้เครื่องมือ เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

8. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

9. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ความรู้ในเรื่องชนิดของการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี ลักษณะทางสเปกโทรสโกปี องค์ประกอบทางเคมี และลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณี

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง

3. ความรู้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจำแนกการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี

4. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง เพื่อตรวจสอบอัญมณีที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานและขั้นสูง  ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี และอัญมณีในความหมายของหน่วยสมรรถนะนี้เป็นชนิดที่ผ่านการเจียระไนแล้ว แต่ยังไม่เข้าตัวเรือนเครื่องประดับ ผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีทั้งพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และขั้นสูง เพื่อตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีแบบต่างๆ

การปรับปรุงภาพคุณภาพอัญมณี เป็นวิธีการทำให้คุณภาพสีและ/หรือ เนื้ออัญมณีมีความสวยงามมากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพอัญมณีมีหลายวิธี เช่น การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือการเผาพลอย (Heat treatment) การซ่านสีหรือแพร่สีพลอย (Diffusion) การฉายรังสี (Irradiation) การย้อมสี (Dyeing) การแช่น้ำมัน (Oiling) การเคลือบผิว (Coating) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงคุณภาพอัญมณีและวิธีการตรวจสอบนั้น มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การจัดการองค์ความรู้การตรวจสอบการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการจัดการความรู้เรื่องของการปรับปรุงคุณภาพอัญมณี มี 4 ขั้นตอน สำคัญ คือ

1. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป

2. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย

3. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

4. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ในหน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน เช่น กล้องจุลทรรศน์อัญมณี (Gemstone microscope) และหลอดอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet lamp) เป็นต้น และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง ทั้งทางด้านสเปกโทรสโกปีและเครื่องวัดองค์ประกอบทางเคมี

ในหน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง ได้แก่

  • Fourier Transform Infrared (FT-IR) Spectrometer
  • Laser Ablation Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (LA-ICP-MS)
  • Laser Induced Breakdown Spectroscopy (LIBS)
  • Raman Spectroscope
  • Soft X-ray Radiograph unit
  • Ultraviolet-Visible-Near infrared(UV-Vis-NIR) Spectrophotometer
  • X-ray Fluorescence (XRF) spectrometer

ขณะที่วิธีการปรับปรุงคุณภาพอัญมณีจะครอบคลุมวิธีการต่างๆ ได้แก่

  • การใช้ความร้อน (Heat treatment) เป็นการใช้อุณหภูมิสูงในการเปลี่ยนสี หรือกำจัดมลทินต่างๆ การใช้ความร้อนนี้จะรวมถึงการเผาซ่านสี (Diffusion) และการเผาแบบใส่สารเบริลเลียม
  • การอาบรังสี (Irradiation) คือ การปรับปรุงสีของอัญมณีโดยใช้รังสี เช่น รังสีแกมมา รังสีนิวตรอน และอิเล็คตรอน เป็นต้น
  • การฟอกสี (Bleaching) คือ การปรับปรุงความสะอาดของอัญมณีด้วยกรด
  • การย้อมสี (Dyeing) คือ การปรับปรุงสีของอัญมณี โดยย้อมสีแทรกเข้าไปตามรอยแตกต่างๆของอัญมณี
  • การอุดรอยแตก (Fracture filling) คือ การปรับปรุงความสะอาดของอัญมณี โดยการใส่สารเข้าไปในรอยแตกหรือช่องว่างของอัญมณี สารที่อุดเช่น น้ำมัน (Oiling) พอลิเมอร์หรือเรซิน (Impregnation) เป็นต้น
  • การเคลือบผิว (Surface coating) คือ การปรับรุงสีของอัญมณี ด้วยการเคลือบผิวของอัญมณีให้สะท้อนเกิดเป็นสีต่างๆ

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน