หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-QKUM-041B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี

 

1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมีการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานและเครื่องมือขั้นสูงในการตรวจสอบอัญมณี หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ในสภาพแวดล้อมในรูปแบบของการทำงานแบบประจำที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณี ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และทักษะในการจำแนกอัญมณีธรรมชาติออกจากอัญมณีสังเคราะห์ ด้วยเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณีและเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง และผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ข้อจำกัดของการตรวจสอบอัญมณีสังเคราะห์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
50000501

จำแนกอัญมณีธรรมชาติและอัญมณีสังเคราะห์ด้วยเทคนิคการตรวจสอบพื้นฐาน

1. ตรวจสอบอัญมณีด้วยกล้องจุลทรรศน์

2. ตรวจสอบอัญมณีด้วยเทคนิคทางแสง

3. อ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจสอบ

50000502

จำแนกอัญมณีธรรมชาติและอัญมณีสังเคราะห์ด้วยเครื่องมือขั้นสูง

1. ตรวจสอบอัญมณีสังเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโกปี

2. อ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจสอบ

50000503

วิเคราะห์และสรุปผลการตรวจสอบอัญมณี

1. วิเคราะห์ผล ตามความรู้ และลักษณะเด่น

2. สรุปและบันทึกผลการตรวจสอบอัญมณี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

2. สามารถเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์อัญมณีจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

3. สามารถเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูงจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

4. สามารถเตรียมความพร้อมของเครื่องมือก่อนและหลังการตรวจสอบ

5. สามารถอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี เพื่อจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

6. สามารถวิเคราะห์ผลจากการใช้เครื่องมือขั้นสูง เพื่อจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในเรื่องอัญมณีสังเคราะห์ ลักษณะทางสเปกโทรสโกปี องค์ประกอบทางเคมี และลักษณะเด่นของอัญมณีสังเคราะห์

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง สำหรับตรวจสอบอัญมณีสังเคราะห์

3. ความรู้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

2. แสดงการเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์อัญมณีจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

3. แสดงการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูงจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

4. แสดงการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือก่อนการตรวจสอบ

5. สามารถจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือภายหลังการตรวจสอบ

6. แสดงการอ่านค่าจากเครื่องมือตรวจสอบอัญมณี เพื่อจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

7. แสดงการวิเคราะห์ผลจากการใช้เครื่องมือ เพื่อจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

8. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

9. ใบบันทึกผลการสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ความรู้ในเรื่องจำแนกอัญมณีสังเคราะห์ ลักษณะทางสเปกโทรสโกปี องค์ประกอบทางเคมี และลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง

3. ความรู้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจำแนกอัญมณีสังเคราะห์

4. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานและขั้นสูง โดยฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณีและเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง เพื่อจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน 

3. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐานและขั้นสูง  ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี และอัญมณีในความหมายของหน่วยสมรรถนะนี้เป็นชนิดที่ผ่านการเจียระไนแล้ว แต่ยังไม่เข้าตัวเรือนเครื่องประดับ ผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือตรวจสอบอัญมณีทั้งพื้นฐานและขั้นสูง โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์อัญมณี เพื่อจำแนกอัญมณีธรรมชาติจากอัญมณีสังเคราะห์

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

ในหน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีพื้นฐาน เช่น กล้องจุลทรรศน์อัญมณี (Gem stereo-microscope) และหลอดรังสีอัลตราไวโอเลต (UV-lamp) เป็นต้น และเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง ทั้งทางด้านสเปกโทรสโกปีและเครื่องวัดองค์ประกอบทางเคมี

อัญมณี (Gemstone) หมายถึง อัญมณีธรรมชาติ อัญมณีสังเคราะห์ และอัญมณีเลียนแบบ ที่ใช้ตกแต่งเป็นเครื่องประดับได้ อัญมณีในที่นี้ ให้หมายรวมถึงอัญมณีที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วย อัญมณีธรรมชาติ (Natural gemstone) หมายถึง แร่ หรือหินบางชนิด หรืออินทรีย์วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ใช้ตกแต่งเป็นเครื่องประดับได้ โดยมีสมบัติพื้นฐานส าคัญ 3 ประการ คือ ความสวยงาม ความหายาก และความทนทาน อัญมณีสังเคราะห์ (Synthetic stone) หมายถึง วัตถุที่มนุษย์ผลิตขึ้นมีส่วนประกอบทางเคมี โครงสร้างสมบัติทางกายภาพ และทางแสงเหมือนอัญมณีธรรมชาติ

ในหน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมเครื่องมือตรวจสอบอัญมณีขั้นสูง ได้แก่

  • Fourier Transform Infrared (FT-IR) Spectrometer
  • Ultraviolet-Visible-Near infrared (UV-Vis-NIR) Spectrophotometer  spectrophotometer
  • Raman Spectroscope
  • X-ray Fluorescence (XRF) spectrometer

 

ขณะที่อัญมณีสังเคราะห์จะครอบคลุมอัญมณีสังเคราะห์แบบต่างๆ ได้แก่

  • การสังเคราะห์จากสารหลอมเหลว (Growth from the Melt) ได้แก่
    • การสังเคราะห์แบบ Verneuil technique (แบบเวอร์นอยล์) หรือ Flame fusion
    • การสังเคราะห์แบบ Czochralski technique (แบบโชคราวสกี้) หรือ Crystal Pulling
    • การสังเคราะห์แบบ Skull Melting (แบบสกัลเมลติ้ง)
  • อัญมณีสังเคราะห์ที่มาจากสังเคราะห์จากสารละลาย (Growth from Solution) ได้แก่
    • การสังเคราะห์แบบ Hydrothermal technique
    • การสังเคราะห์แบบ Flux technique
    • การสังเคราะห์แบบ Sedimentation ในโอปอสังเคราะห์
  • การสังเคราะห์แบบเซรามิก เช่น เทอร์คอยส์สังเคราะห์ เป็นต้น

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. การสัมภาษณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน


ยินดีต้อนรับ