หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การรับ ส่ง และเคลื่อนย้ายอัญมณีที่ตรวจสอบ

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-KQKR-039B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การรับ ส่ง และเคลื่อนย้ายอัญมณีที่ตรวจสอบ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์พลอยสี

2. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร

1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัญมณีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ผู้ปฏิบัติงานควรมีความรู้เกี่ยวกับการรับและคืนตัวอย่างอัญมณี และการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีที่ตรวจสอบตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดการหรือการเคลื่อนย้ายตัวอย่างนั้นจะไม่ส่งผลต่อการทดสอบหรือผลการทดสอบในภายหลัง รวมถึงจะไม่ให้ตัวอย่างอัญมณีเกิดความเสียหายหรือสูญหาย ผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้ในเรื่องสมบัติความทนทานของอัญมณี (Durability) และวัสดุสำหรับใช้บรรจุหรือเคลื่อนย้ายอัญมณี เช่น ถาด ถุงซิปล็อค เป็นต้น


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
50000301

รับและคืนตัวอย่างอัญมณี

1. ตรวจรับความถูกต้องของเอกสารใบสั่งงานและอัญมณี  

2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของอัญมณี ทั้งตอนรับและคืนตัวอย่างอัญมณี


50000302

การเคลื่อนย้ายตัวอย่างระหว่างการตรวจสอบอัญมณี

1. เลือกใช้วิธีการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีที่เหมาะสมกับขนาดและลักษณะของอัญมณีที่ทำการทดสอบ

2. ตรวจสอบอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

3. ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของอัญมณี ก่อนและหลังเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

4. ทำรายงานกรณีอัญมณีเกิดความเสียหาย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถตรวจรับความถูกต้องของเอกสารใบสั่งงานและอัญมณี 

2. สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของอัญมณี ทั้งตอนรับและคืนตัวอย่างอัญมณี

3. สามารถเลือกใช้วิธีการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีที่เหมาะสมกับขนาดและลักษณะของอัญมณีที่ทำการทดสอบ

4. สามารถเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

5. สามารถตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของอัญมณี ก่อนและหลังเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

6. สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี กรณีอัญมณีเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความทนทานของอัญมณ์ (Durability)

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

3. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี กรณีอัญมณีเกิดความเสียหายหรือสูญหาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงตรวจรับความถูกต้องของเอกสารใบสั่งงานและอัญมณี 

2. แสดงตรวจสอบความสมบูรณ์ของอัญมณี ทั้งตอนรับและคืนตัวอย่างอัญมณี

3. แสดงการเลือกใช้วิธีการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีที่เหมาะสมกับขนาดและลักษณะของอัญมณีที่ทำการทดสอบ

4. แสดงการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

5. แสดงการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของอัญมณี ก่อนและหลังเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

6. แสดงการปฏิบัติตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี กรณีอัญมณีเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. อธิบายเกี่ยวกับความทนทานของอัญมณ์ (Durability)

2. อธิบายเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

3. อธิบายเกี่ยวกับข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี กรณีอัญมณีเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

4. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรับและคืนตัวอย่างอัญมณี และการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีในระหว่างการตรวจสอบอัญมณี โดยพิจารณาจากหลักฐานด้านความรู้

 (ง) วิธีการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการรับและคืนตัวอย่างอัญมณี และการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณีในระหว่างการตรวจสอบอัญมณี ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี ผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้ในเรื่องสมบัติความทนทานของอัญมณี (Durability) เนื่องจากอัญมณีแต่ละชนิดจะมีความทนทานไม่เหมือนกัน และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการรับคืนและเคลื่อนย้ายตัวอย่างอัญมณี นอกจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุหรือเคลื่อนย้ายอัญมณีแล้ว คือ ความทนทานของอัญมณี  (Durability) ความทนทานของอัญมณี พิจารณาจากคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ความแข็ง (Hardness) ความเหนียว (Toughness) และความมีเสถียรภาพ (Stability) ความแข็งเป็นความทนทานต่อการขูดขีดหรือขัดถู เช่น เพชรเป็นอัญมณีที่มีความแข็งมากที่สุด จึงยากต่อการเกิดรอยขูดขีดหรือรอยสึก ความเหนียวเป็นความทนทานต่อการแตกหักเมื่อมีแรงมากระทบ เช่น หยก เป็นอัญมณีที่มีความเหนียวมากที่สุด จึงนิยมนำมาแกะสลัก และความมีเสถียรภาพเป็นความทนทานต่อการซีดจางของสี หรือการสูญเสียเนื้ออัญมณีเมื่อถูกความร้อน แสงสว่าง หรือสารเคมี เช่น โอปอ เป็นอัญมณีที่อาจเสียหายได้หากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบอากาศแห้ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 

 


ยินดีต้อนรับ