หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-IZVT-306A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
201021

การปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.1 แก้ไขขนาดงาน แก้ไขชนิดและขนาดของตัวอักษร และสามารถจัดการรูปภาพที่มีการเชื่อมโยง (link) ได้อย่างถูกต้อง

1.2 เปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) ได้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการทำงานที่จะดำเนินการต่อ

1.3 ออกแบบและแก้ไขการตัดตก (bleeding) ของไฟล์งานได้อย่างถูกต้อง

1.4 จัดการชดเชยการพิมพ์เหลื่อม (trapping) ของงานพิมพ์สีได้อย่างถูกต้อง

201022

ตรวจสอบความถูกต้องของรูปภาพงานพิมพ์

2.1 จัดการเรื่องความละเอียดของรูปภาพ (resolution) และภาพลายเส้นได้อย่างถูกต้อง

201023

ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสีและการใช้โปร์ไฟล์สี

3.1 ปฏิบัติการปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสี (tone and color corrections) ได้อย่างถูกต้อง

3.2 แก้ไขโหมดสีของไฟล์งาน จัดการแก้ไขและฝังค่าโพรไฟล์สีของงานพิมพ์ได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางการพิมพ์และชนิดของวัสดุใช้พิมพ์

201024

กำหนดรูปแบบชิ้นงานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์

4.1 ออกแบบไฟล์งานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ หรือความต้องการของลูกค้า

201021

การปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.1 แก้ไขขนาดงาน แก้ไขชนิดและขนาดของตัวอักษร และสามารถจัดการรูปภาพที่มีการเชื่อมโยง (link) ได้อย่างถูกต้อง

1.2 เปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) ได้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการทำงานที่จะดำเนินการต่อ

1.3 ออกแบบและแก้ไขการตัดตก (bleeding) ของไฟล์งานได้อย่างถูกต้อง

1.4 จัดการชดเชยการพิมพ์เหลื่อม (trapping) ของงานพิมพ์สีได้อย่างถูกต้อง

201022

ตรวจสอบความถูกต้องของรูปภาพงานพิมพ์

2.1 จัดการเรื่องความละเอียดของรูปภาพ (resolution) และภาพลายเส้นได้อย่างถูกต้อง

201023

ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสีและการใช้โปร์ไฟล์สี

3.1 ปฏิบัติการปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสี (tone and color corrections) ได้อย่างถูกต้อง

3.2 แก้ไขโหมดสีของไฟล์งาน จัดการแก้ไขและฝังค่าโพรไฟล์สีของงานพิมพ์ได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางการพิมพ์และชนิดของวัสดุใช้พิมพ์

201024

กำหนดรูปแบบชิ้นงานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์

4.1 ออกแบบไฟล์งานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ หรือความต้องการของลูกค้า


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20101 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1.  

1. การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์แก้ไขงาน ทั้งเรื่องของชนิด ขนาดตัวอักษร การจัดการรูปภาพที่มีการเชื่อมโยง (link)การเปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file)

2. ออกแบบและแก้ไขการตัดตก (bleeding) ไฟล์งาน

3. การกำหนดการซ้อนทับของสี (trapping)

4.การจัดการไฟล์รูปภาพและรายละเอียดของไฟล์งานพิมพ์

5.การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสี (tone and color corrections) การแก้ไขโหมดสีของไฟล์งาน และการเปลี่ยนค่าโพรไฟล์สีของงานพิมพ์ได้

6. การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ปรับตั้งไฟล์ตามมาตรฐานทางการพิมพ์

7.การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์จัดการออกแบบไฟล์งานในเรื่องของงานหลังพิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านงานก่อนพิมพ์
  2. การปรับตั้งและแก้ไขไฟล์งาน และเทคนิคการทำไฟล์งานพิมพ์
  3. รายละเอียด (resolution) ของไฟล์รูปภาพสำหรับงานพิมพ์
  4. โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ในเรื่องการปรับตั้งและจัดการสี
  5. โหมดสีและค่าโพรไฟล์สีของงานพิมพ์
  6. มาตรฐานทางการพิมพ์
  7. โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ในเรื่องการกำหนดรูปแบบงานหลังพิมพ์
  8. ขั้นตอนของงานหลังพิมพ์

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์จัดการไฟล์งาน การจัดการกับภาพที่มีการเชื่อมโยง (link) การเปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) วิธีการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) และการใช้เทคนิคการชดเชยการพิมพ์เหลื่อม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน

(ง) วิธีการประเมิน

      ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)
    1. ปรับตั้งและแก้ไขงานในเรื่องของตัวอักษร รูปภาพ การฝังการเชื่อมโยงรูปภาพ ( Link ) โดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์บนคอมพิวเตอร์
    2. การจัดเก็บไฟล์งานให้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการทำงานที่จะดำเนินการต่อ เช่น การแปลงรูปภาพให้นำไปทำต้นฉบับทางการพิมพ์ได้ หรือการเปลี่ยนไฟล์งานให้สามารถเปิดบนโปรแกรมเฉพาะทางด้านการพิมพ์
    3. ออกแบบการตัดตก (bleeding) ได้แก่ การออกแบบหรือแก้ไขขนาดสิ่งพิมพ์ในไฟล์งานให้สอดคล้องกับกระบวนการงานหลังพิมพ์ในเรื่องการตัด การเจียนและการเก็บเล่ม
    4. ชดเชยการพิมพ์เหลื่อม (trapping) ได้แก่ การกำหนดรูปแบบและระยะการซ้อนทับของสีเข้มทับบนสีอ่อนเพื่อป้องกันปัญหาการพิมพ์เหลื่อม
    5. ความละเอียด (resolution) ของรูปภาพและภาพลายเส้น ได้แก่ ไฟล์รูปภาพที่สามารถนำไปทำแม่พิมพ์แล้วภาพมีความคมชัดไม่แตก สามารถนำไปพิมพ์งานที่มีคุณภาพสูงได้
    6. โทนการผลิตภาพสี ได้แก่ โทนภาพสว่าง โทนกลาง และโทนมืด ( tone reproduction )
    7. โหมดสีของไฟล์ทางด้านการพิมพ์ ได้แก่ โหมดสี CMYK RGB bitmap แพนโทน (pantone) หรือ โหมดสีพิเศษ
    8. ค่าโพรไฟล์สี ได้แก่ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของสีบนวัสดุใช้พิมพ์แต่ละประเภท
    9. มาตรฐานทางการพิมพ์ เช่น ISO 12647-2 / มอก. 2260 เล่ม 2-2551 มาตรฐานทางด้านการควบคุมกระบวนการการผลิตในงานแยกสีฮาล์ฟโทน ปรู๊ฟ และพิมพ์เล่ม 2 กระบวนการพิมพ์ออฟเซต, มาตรฐานการพิมพ์ที่ควบคุมสมดุลเทา (GRACoL 7) และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    10. งานหลังพิมพ์ เช่น รูปแบบการพับงานพิมพ์ การตัด เจียนแบบต่าง ๆ ปั๊มขาด ดุนนูน และกระบวนการวิธีการเข้าเล่มแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าเล่มแบบไสสันทากาว เย็บมุงหลังคา เป็นต้น

          (ก) คำแนะนำ

                 N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด

              N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


ยินดีต้อนรับ