(ก) ความต้องการด้านทักษะ
1. ทักษะในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน
(ข) ความต้องการด้านความรู้
1. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเมินความเป็นไปได้ของโครงการด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
1.1 การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
แนวคิดพื้นฐานของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ว่า เป็นการศึกษาและการจัดทำเอกสารที่ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นอันแสดงถึงเหตุผลสนับสนุนความถูกต้องสมบูรณ์ของโครงการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการที่ดี โดยโครงการที่ดีได้แก่ โครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเมื่อปฏิบัติแล้วให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนการศึกษาความเป็นไปได้จึงมีความหมายเช่นเดียวกับการวิเคราะห์โครงการ (Project Analysis) ซึ่งเป็นวิธีแสดงการใช้ทรัพย์ากรอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดภายใต้จุดมุ่งหมายหรือความต้องการของสังคมในรูปแบบที่สะดวกและเหมาะสม เพราะการวิเคราะห์โครงการ เป็นการประเมินข้อดีและข้อเสีย หรือผลประโยชน์ (Benefit) ต้นทุน (Cost) ต่าง ๆ ของโครงการ โดยจะเน้นการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ โครงการจะมีความคุ้มค่าก็ต่อเมื่อผลประโยชน์มีค่าสูงกว่าต้นทุน ฉะนั้นการวิเคราะห์โครงการจึงมีส่วนช่วยต่อการตัดสินใจ ในการที่จะใช้ทรัพย์ากรไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าสูงสุดตามหลักวิชาการ การพิจารณาเชิงเศรษฐศาสตร์ ในด้านคุณค่าของผลงานเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายจึงมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ และการใช้ทรัพย์ากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โครงการ โดยรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบเชิงปริมาณและคุณสมบัติอื่น ๆ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์และมาตรการที่ถูกต้องตามการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน (Financial Analysis)และทางเศรษฐศาสตร์(Economic Analysis)ความเป็นไปได้ทางการเงิน หรือการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน เป็นการพิจารณาโครงการโดยมองในแง่การเงินเพียงด้านเดียว ด้วยการวัดค่าผลได้ผลเสียในราคาตลาด (Market Price)กล่าวคือ การวิเคราะห์มุ่งแสดงกระแสของผลตอบแทน หรือรายได้ที่สร้างขึ้นโดยโครงการ และค่าใช้จ่ายในรูปการลงทุน และทุนดำเนินการที่ต้องเสียในการดำเนินงานตามโครงการนั้น และต้นทุนนี้คิดจากราคาที่ปรากฏในตลาด และทุนดำเนินการ ไม่ได้มีการปรับค่าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของสินค้าและปัจจัยการผลิตแต่อย่างใด ดังนั้นการวิเคราะห์ทางการเงินนี้ก็เพื่อหาข้อยุติว่าโครงการ ที่พิจารณาอยู่นั้นจะมีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไร และไปรอดหรือไม่ทางด้านการเงิน
การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ หรือการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการประเมินค่าโครงการ (Project Appraisal) คือ เป็นการพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการลงทุนหรือการดำเนินการในโครงการใดโครงการหนึ่งว่ามีความคุ้มค่าและสมควรนำไปลงทุนหรือไม่ โดยวิเคราะห์โครงการที่กำลังพิจารณาอยู่นั้นว่าจะให้ผลตอบแทนต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศหรือไม่เพียงใด เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการใช้ทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผลการวิเคราะห์คือ ถ้าผลประโยชน์ของโครงการนั้นสูงกว่าต้นทุนโครงการนั้นก็เป็นโครงการที่ดีทาง
เศรษฐศาสตร์ (Economically Sound or Profitable)แต่ถ้าโครงการใดให้ผลประโยชน์ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นโครงการนั้นก็เป็นโครงการที่ไม่ดีทางเศรษฐศาสตร์ (Economically Unwise or Unprofitable) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจึงมีส่วนช่วยอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจในการที่จะรับหรือปฏิเสธโครงการการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ จะใช้ราคาที่แน่นอนที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงเป็นราคาที่ถูกปรับค่าเรียกว่า ราคาเงา (Shadow Price) หรือ ราคาในทางบัญชี (Accounting Price) สำหรับรายการค่าใช้จ่าย ที่ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ (ประสิทธิ์, 2538: 100-103)
1) ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ค่าเสื่อมราคาจะไม่รวมเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ ทั้งนี้ เพราะเมื่อมีการซื้อเครื่องจักรเครื่องมือหรือสินทรัพย์ถาวรมาใช้กับโครงการในปีใดก็ได้มีการพิจารณาเป็นค่าใช้จ่าย ในปีนั้นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการหักค่าเสื่อมราคาของการใช้ในปีต่อๆ มาอีก
2) ค่าชาระหนี้ (Debt Service)
การชำระหนี้ก็เหมือนกับค่าเสื่อมราคาที่มีลักษณะกระจาย (Spreading) คือ กระจายค่าใช้จ่ายออกไปเป็นเวลาหลาย ๆ ปี ในขณะที่เรานับค่าใช้จ่าย ณ เวลาที่มีการใช้ทรัพย์ากรนั้น การชำระหนี้สินจึงไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการ และจะต้องมีการหักออกจากค่าใช้จ่ายหากมี เพราะเป็นการโอนเปลี่ยนมือทางการเงินที่ไม่ได้แสดงถึงการใช้ทรัพย์ากรอย่างแท้จริง
3) ค่าภาษี (Tax Payment)
ภาษีทุกชนิดที่โครงการจ่ายให้กับรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นเงินที่จ่ายไปตามจริงแต่การวิเคราะห์โครงการทางเศรษฐกิจถือเป็นเพียงรายจ่ายโอนจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการไปสู่ภาครัฐ ไม่ได้มีส่วนต่อการใช้ทรัพย์ากรจริงๆ ของโครงการแต่อย่างใด ดังนั้นต้องมีการหักรายการภาษีออกจาก ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
4) รายจ่ายสารอง (Contingency)
ในทางเศรษฐศาสตร์จะคิดเฉพาะเงินสำรองจ่ายที่กันไว้เฉพาะรายการที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่รวมถึงเงินสำรองจ่ายสำหรับเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อเป็นการเพิ่มราคาให้กับสินค้าทั่วไปโดยกระทบราคาที่ใช้คำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ในอัตราเดียวกันจึงไม่ส่งผลต่อราคาโดยเปรียบเทียบ (Relative Price) สำหรับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ราคาที่นามาใช้ในการคำนวณต้นทุน ผลประโยชน์จะต้องเป็นราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์ากรนั้นๆ ที่เรียกว่า ราคาเงา
5) ต้นทุนจม (Sunk Cost) ต้นทุนจม หมายถึง รายจ่ายที่ได้จ่ายไปแล้วในอดีตของโครงการส่วนการวิเคราะห์โครงการนั้น เป็นการพิจารณาถึงรายจ่ายของโครงการแต่เฉพาะค่าใช้จ่ายในอนาคตที่หวังผลตอบแทนในอนาคตเช่นกัน แล้วนำมาเป็นฐานของการตัดสินใจรายจ่ายต่างๆ ในอดีตซึ่งเป็นต้นทุนจมจึงไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ นอกจากนั้นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินก็เพื่อช่วยการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพย์ากรไปอย่างไรจึงจะดีที่สุด จากบรรดาหนทางเลือกต่างๆ ที่มีให้เลือก การตัดสินใจจึงเกี่ยวข้องกับว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน สิ่งที่เป็นอดีตก็ขอให้เป็นอดีตไปไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วได้แต่ในการวิเคราะห์ทางการเงินจะใช้ราคาตลาด (Market Price) ซึ่งจะรวมเอาภาษี เงินอุดหนุน ดอกเบี้ย เข้าไปด้วย โดยภาษีและดอกเบี้ยถือว่าเป็นต้นทุนเพราะจ่ายให้กับแหล่งเงินทุนภายนอก และเงินอุดหนุนคือผลตอบแทนของโครงการ
2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำหนดวิธีประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ
1. ความแต่กต่างของวิธีการวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ (ประสิทธิ์, 2538: 151) จะใช้ราคาตลาด (Market Price) ซึ่งจะรวมเอาภาษี เงินอุดหนุน ดอกเบี้ย เข้าไปด้วย โดยภาษีและดอกเบี้ยถือว่าเป็นต้นทุนเพราะจ่ายให้กับแหล่งเงินทุนภายนอก และเงินอุดหนุนคือผลตอบแทนของโครงการ ซึ่งสามารถสรุปความแต่กต่างของการวิเคราะห์ทางการเงินและทางเศรษฐศาสตร์ ได้ดังนี้
1. ความแต่กต่างเรื่องราคาที่ใช้
2. ความแต่กต่างด้านการคิดค่าใช้จ่าย
3. ความแต่กต่างด้านการคิดผลตอบแทน
1.1 ความแต่กต่างเรื่องราคาที่ใช้
โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะใช้ราคาที่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของผลผลิตออกและทรัพย์ากรที่ใช้ ฉะนั้น หากราคาตลาดที่ปรากฏอยู่ไม่สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงดังกล่าว จะต้องมีการปรับราคาและใช้ราคาเงาหรือราคาทางบัญชีแทน ส่วนการวิเคราะห์ทางการเงินจะใช้ราคาตลาดที่รวมถึงค่าภาษีและเงินอุดหนุนโดยตรง โดยไม่ต้องมีการปรับแต่ประการใด
1.2 ความแต่กต่างด้านการคิดค่าใช้จ่าย
โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของสังคมจากการมีโครงการ ในขณะที่การวิเคราะห์ด้านการเงินจะคิดแต่เฉพาะรายจ่ายภายในโครงการ จึงไม่รวมรายจ่ายทางอ้อมอื่น ๆ ที่ตกแก่สังคมว่าเป็นรายจ่ายของโครงการและในขณะที่รายจ่ายทางด้านดอกเบี้ย ค่าภาษีอากร และค่าชาระหนี้ ไม่คิดรวมว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ แต่กลับถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจยังคิดในรูปของค่าเสียโอกาส เช่น ค่าเสียโอกาสของการใช้แรงงานและทุนของตนเอง แต่ทางการเงินไม่ได้คิดในรูปของ ค่าเสียโอกาส เป็นต้น
1.3 ความแต่กต่างด้านการคิดผลตอบแทน
ความแต่กต่างด้านการคิดผลตอบแทน เป็นเช่นเดียวกับทางด้านค่าใช้จ่ายที่ผลตอบแทนบางประเภทคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เช่น ผลตอบแทนที่ไม่มีตัวตน แต่ไม่คิดเป็นผลตอบแทนในทางการเงิน และในขณะเดียวกันผลตอบแทนบางรายการไม่คิดว่าเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแต่คิดเป็นผลตอบแทนทางการเงิน เช่น เงินอุดหนุนนอกจากนั้น อัตราส่วนลดที่นำมาใช้ยังมีความแต่กต่างกัน โดยการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จะใช้ค่าเสียโอกาสของทุน ในขณะที่การวิเคราะห์ทางการเงินหรือเอกชนจะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดเป็นอัตราส่วนลด
2. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ (วันชัย ริจิรวนิช และ ชอุ่ม พลอยมีค่า)
ส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติซึ่งกำหนดเพื่อใช้เปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกใช้แนวทางการแก้ปัญหาของระบบก็คือ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ในแนวนี้เกี่ยวเนื่องในเชิงเศรษฐศาสตร์จึงไม่พ้นในเรื่องการวิเคราะห์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์อื่นๆ โดยมีจำนวนเงิน เป็นหน่วยเปรียบเทียบถ้าจะพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่กำหนดให้ดีแล้วจะพบว่ามีสองลักษณะคือ ลักษณะ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ สำหรับการดำเนินการในปัจจุบันและการดำเนินการในอนาคต โดยมีค่าใช้จ่ายและผลได้ต่างๆ เป็นการคาดคะเนสำหรับอนาคตทั้งสิ้น การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ มีหลักการดังต่อไปนี้
1. เงินมีความสัมพันธ์กับเวลา
2. การเปลี่ยนแปลงในอนาคตมีไม่มาก
3. การคาดหมายอนาคตมีความแม่นยำพอควร
โดยอาศัยหลักการดังกล่าว การวิเคราะห์จะทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลรายรับรายจ่ายในอนาคตของแต่ละแนวปฏิบัติ แล้วจึงเปรียบเทียบปรับเข้าสู่เกณฑ์การเปรียบเทียบมาตรฐานเดียวกันคือ จะใช้วิธีการเปรียบเทียบรายรับรายจ่ายทั้งสิ้น ด้วยอัตราดอกเบี้ยอัตราหนึ่งให้แสดงค่าเชิงปริมาณเป็น ค่าเทียบเท่าเงินต้นปัจจุบันหรือจะใช้วิธีเปรียบเทียบเป็นเงินรายปีเท่าๆ กันก็ได้ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นก่อนจะศึกษารายละเอียดวิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ หลักการและแนวคิดต่างๆ
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ที่ควรทราบมีดังนี้
1. นักวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จะต้องทราบเป้าหมายที่แน่นอนของปัญหา เพื่อจะได้สามารถกำหนด คาดคะเน และเลือกองค์ประกอบที่มีขนาดและความคุ้มค่าที่ต้องการได้
2. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่การตัดสินใจของฝ่ายจัดการ ดังนั้นนักวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ จึงเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลสำหรับฝ่ายจัดการ และการตัดสินใจจะไม่จำเป็นต้องคล้อยตามผลการวิเคราะห์ด้วย
3. ไม่ควรมีการตัดสินใจโดยขาดหลักการเมื่อสามารถวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ได้ การตัดสินใจของฝ่ายจัดการถึงแม้จะทำได้โดยอาศัยประสบการณ์และความคิดเห็น โดยไม่ต้องอาศัยตัวเลขข้อมูลต่างๆ แต่ถ้าจะใช้ตัวเลขข้อมูลต่างๆ ที่ได้เป็นส่วนประกอบ โอกาสที่จะตัดสินใจได้ดีก็มีมากขึ้น
4. ควรพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่จะเป็นไปได้ทุกๆ แนวทางเพราะว่าการวิเคราะห์เป็นการเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติทั้งหมดเพื่อกำหนดหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
5. ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ควรแยกองค์ประกอบออกเป็นส่วนที่สามารถวิเคราะห์เป็นตัวเลขเป็นจำนวนเงิน และส่วนที่ไม่สามารถวิเคราะห์เป็นตัวเลขแท้จริงได้
6.การลงทุนหรือส่วนอื่น ๆ ของรายได้และรายจ่ายในอดีตเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การตัดสินใจจะเป็นเรื่องของอนาคต จึงไม่ควรนำส่วนที่ได้ผ่านไปแล้วมารวมคิดด้วย
7.รายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ควรพิจารณาจากช่วงเวลาเดียวกัน การเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติติจึงจะเป็นการเปรียบเทียบที่สมเหตุสมผล
8. ช่วงเวลาในการวิเคราะห์ไม่ควรเกินกว่าระยะที่จะสามารถคาดหมายได้ถูกต้อง ดังที่เข้าใจแล้วว่า การวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติเป็นเรื่องของอนาคต ดังนั้นการคาดหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ มากปกติ เราจะมีช่วงที่สามารถคาดหมายได้ถูกต้องพอสมควร การวิเคราะห์เฉพาะในช่วงนั้นก็พอจะถูกต้อง ได้บ้าง แต่ถ้าไปวิเคราะห์ช่วงซึ่งการคาดหมายอาจจะไม่ถูกต้อง การวิเคราะห์ก็หมดความหมาย
9. เปรียบเทียบองค์ประกอบทุกอย่างในการวิเคราะห์ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน การเปรียบเทียบจึงจะทำได้มาตรฐาน
10.ความแต่กต่างของแนวทางปฏิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการตัดสินใจ ในการเปรียบเทียบแนวปฏิบัติหลายๆ แนว การศึกษาผลแต่กต่างของแต่ละแนวทางเทียบกับทุกๆ แนวทางจะช่วยให้การตัดสินใจได้ถูกต้องขึ้น
11.การวิเคราะห์แนวทางปฏิบัติต่างๆ ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์คุณสมบัติร่วมซึ่งมีคุณค่าเท่าๆ กันสำหรับแนวทางปฏิบัตินั้นๆ
12.การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ เป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจเพื่อการลงทุนในขณะเดียวกัน เกี่ยวกับการหาเงินทุน งานทั้งสองส่วนจึงเป็นอิสระต่อกัน
13.ในการตัดสินใจนอกเหนือจากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ แล้วจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ทีมีเงื่อนไขไม่แน่นอนด้วย
14. การตัดสินใจต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเป้าหมายที่แน่นอน
3. แนวคิดเกี่ยวกับอายุโครงการ
อายุของโครงการ (Project Life) ก็คือ ช่วงเวลาที่โครงการยังคงให้ผลตอบแทน อายุโครงการ จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างโครงการ และสิ้นสุดเมื่อโครงการไม่สามารถจะให้ผลประโยชน์ได้อีกต่อไป สามารถ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อสร้าง (Construction or Implementation Period) และระยะการดำเนินงาน (Operational Period) โดยหลักการสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ประเภท คือ อายุทางเศรษฐกิจ (Economic Life) ซึ่งเริ่มตั้งแต่โครงการให้ผลตอบแทนจนถึงเวลาที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าบำรุงรักษามีแนวโน้มสูงขึ้นเกินกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับและอายุทางเทคนิค (Technical Life) จะพิจารณาตามอายุการใช้งานของทรัพย์สินประเภททุนโดยยึดเหตุผลทางวิศวกรรมจากเวลาที่โครงการเริ่มดำเนินงานไปจนถึงเวลาที่โครงการหมดสภาพการใช้งานทางเทคนิค
4. แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนและประโยชน์ของโครงการ
การวัดต้นทุนและผลประโยชน์นั้นจะต้องคำนึงถึง คำถาม 2 ประการ คือ ผู้ตัดสินใจคือใครและวัตถุประสงค์ของเขาเหล่านั้นคืออะไร ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจจะแต่กต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่า เป็นการพิจารณาจากแง่มุมของบุคคลโดยตรงหรือของสังคมโดยรวมนั่นคือ การวิเคราะห์ทางด้านการเงินใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดหรือนับจากแง่มุมของบุคคลหน่วยงานหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจใช้ต้นทุนและผลประโยชน์ที่วัดหรือนับจากแง่มุมของสังคมโดยส่วนรวมมีรายละเอียดดังนี้
4.1 ต้นทุนของโครงการ
ต้นทุนโครงการ อาจจำแนกได้เป็นต้นทุนทางตรง (Direct cost) และต้นทุนทางอ้อม(Indirect Cost) ซึ่งต้นทุนทางตรง หมายถึง มูลค่าของการใช้สิ่งที่ใส่เข้าไปเพื่อติดตั้งดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ค่าใช้จ่ายประเภทนี้จัดเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรงของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายทางด้านการลงทุนและการดำเนินงาน ส่วนต้นทุนทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการมีโครงการหรือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากผลพลอยได้ของโครงการ นอกจากนี้ ต้นทุน โครงการ ยังจำแนกออกเป็นต้นทุนที่วัดเป็นตัวเงินได้ (Tangible Cost) และต้นทุนที่วัดเป็นตัวเงินไม่ได้(Intangible Cost) (พรเพ็ญ, 2539)
4.2 ผลประโยชน์โครงการ
ผลประโยชน์โครงการอาจจำแนกได้เป็นผลประโยชน์ทางตรง (Direct Benefit) และผลประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefit) ซึ่งผลประโยชน์ทางตรง หมายถึงผลประโยชน์ของโครงการที่เป็นเจตจำนงหรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่วน ผลประโยชน์ทางอ้อมหมายถึง ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือไปจากกลุ่มเป้าหมายและผู้ได้รับประโยชน์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนในการลงทุนดำเนินงานโครงการแต่อย่างใด นอกจากนี้ผลประโยชน์โครงการยังจำแนกได้เป็นผลประโยชน์ที่วัดค่าเป็นตัวเงินได้ (Tangible Benefit) และผลประโยชน์ที่วัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ (Intangible Benefit) (พรเพ็ญ, 2539)
4.3 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือมูลค่าสุทธิของรายได้และค่าใช้จ่ายรวมตลอดโครงการและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) คือยอดสุทธิของเงินทุนโครงการมากกว่าค่าใช้จ่ายของโครงการหลังจากหักต้นทุนของโครงการรวมกับพิจารณามูลค่าเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลา (Time Value of Money)โดยต้องการให้มูลค่าของต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงและ NPV ก็คือมูลค่าเฉลี่ยของส่วนกองทุนที่ใช้ในการดาเนินธุรกิจ วิธีของ NPV จะนำ(Time Value of Money ) ลงในบัญชี เนื่องจากการลงทุนและการดำเนินการของโครงการมีระยะเวลายาว และเป็นช่วงเวลาที่แต่กต่างกัน ดังนั้นในการเปรียบเทียบค่าประโยชน์และต้นทุนของโครงการจึงจำเป็นต้องนาค่าของเงินมาปรับให้อยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นผลตอบแทนสุทธิที่แท้จริงเป็นมูลค่าเงินปัจจุบัน โดยใช้อัตราคิดลด(Discount Rate)ซึ่งความหมายของ Time Value of Money หมายถึงการที่ยอดรวมที่จะได้รับในอนาคตมีค่าน้อยกว่ายอดรวมที่จะได้รับในปัจจุบัน เพราะว่ายอดเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะนำไปใช้ในการลงทุนซึ่งก่อให้เกิดผลตอบแทนได้ มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นการพิจารณา ค่าปัจจุบันหรือค่าเท่าของเงินลงทุน ณ เวลาปัจจุบันของเงินในอนาคต โดยอาศัยอัตราดอกเบี้ย ต่อช่วงเวลาเพื่อกำหนดค่าในอนาคตเพื่อสัมพันธ์กับปัจจุบัน ในการวิเคราะห์หามูลค่าปัจจุบันสุทธิ ใช้การคำนวณจากสูตร มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = S (1+i) n S = มูลค่าของเงิน ที่เป็นค่ากระแสเงินสดสุทธิสำหรับแต่ละปีที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV ซึ่งค่ากระแสเงินสดนี้ใช้แทนความแต่กต่างระหว่างค่าใช้จ่ายประจำปีของสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในโครงการ กับค่าใช้จ่ายประจาปีของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่
I = อัตราดอกเบี้ย คืออัตราส่วนลดหรืออัตราผลตอบแทนของการลงทุนในเวลาที่คำนวณค่า NPV ตัวเลือกอื่นๆ ในการคิดคำนวณอัตราส่วนลด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินลงทุนและอัตราการตอบแทนของโครงการอื่นๆ
n = จำนวนปีทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV การคำนวณนั้นคิดในแต่ละปีที่ถูกนำมาพิจารณา
สิ่งที่จะช่วยให้มีความเข้าใจเรื่อง NPV ขั้นแรกควรที่จะศึกษาส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องถามที่จะช่วยให้เข้าใจว่า NPV คืออะไรนั้น เช่น ค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้กับเงิน 1 บาทในอีก 1 ปีถัดไปเท่ากันหรือไม่
คำตอบก็คือไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากค่าของเงินที่เปลี่ยนไปตามเวลานั่นเอง ค่าของเงิน 1 บาทในอีก 1 ปีถัดไปนับจากวันนี้ ย่อมมีค่าน้อยกว่าค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้ ซึ่งอาจเป็นไปเนื่องด้วยอัตราส่วนลดหรืออัตราผลตอบแทนการลงทุน เป็นต้น อธิบายง่าย ๆ คือ สมมุติว่าให้ค่าของอัตราผลตอบแทนของการลงทุนมีค่าเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าของเงิน 1 บาทในวันนี้มีค่าเท่ากับค่าของเงิน 1.1 บาท ในอีก 1 ปีถัดไปและ ค่าของเงิน 1 บาท ในอีก 1 ปีถัดไปก็ย่อมมีค่าเท่ากับค่าของเงิน 0.91 บาทในวันนี้ เพราะว่ามีการคิดในเรื่องของดอกเบี้ยด้วย ซึ่งหากอัตราผลตอบแทนการลงทุนที่มีค่าเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าของเงิน 0.91 บาท มีค่าอัตราผลตอบแทนของการลงทุนเท่ากับเงิน 0.09 บาท ถ้าเสนอ 120 บาทในหนึ่งปีจากปัจจุบันและอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) และอัตราที่เกี่ยวข้อง (Interest Rate) คือ 20% ถ้าในตอนนี้การทางานถอยค่ากลับไปในการกำหนดของวันนี้อยากจะเป็น 100 บาท สิ่งนี้ถูกเรียกว่า การแสดงค่าและเมื่อเงินสดหมุนเวียนเกินจำนวนของปีถูกผสมใว้ในวิธีการแสดงออกเป็นรูปสรุปรวมทั้งหมดนี้ ถูกเรียกว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) การคำนวณ ที่ดีที่สุด
4.4 ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ (Payback Period)
ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ(Payback Period) หมายถึง ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการที่ทำให้ผลตอบแทนสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนพอดี หรืออาจกล่าวได้ว่าระยะเวลาคืนทุน ของโครงการ คือ จำนวนปี ในการดำเนินงานซึ่งทำให้ผลกำไรที่ได้รับในแต่ละปี รวมกันแล้ว มีค่าเท่ากับเงินลงทุนเริ่มแรก ระยะเวลาคืนทุน (จำนวนปี ) สามารถคำนวณได้ตามสูตรการคำนวณดังนี้
ระยะเวลาคืนทุน = ค่าใช้จ่ายในการลุงทุน
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี
เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจโดยการพิจารณาระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) จากโครงการที่ได้ ผลตอบแทนคืนภายในระยะเวลาอันสั้น
เกณฑ์การตัดสินใจ
โดยทั่วไปเกณฑ์ตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่นั้นจะพิจารณาจากระยะเวลาคืนทุนที่คำนวณได้เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจแต่กต่างกันไปในแต่ละโครงการขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นๆ มีความต้องการเงินต้นคืนกลับมาในช่วงเวลาใด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระยะเวลา 5 ปี คือระยะเวลาที่โครงการต้องการเงินต้นกลับคืนมา การตัดสินใจจะเป็นดังนี้
หาก ระยะเวลาคืนทุน ≤ 5 ปี ก็ตัดสินใจลงทุน
หาก ระยะเวลาคืนทุน> 5 ปี ก็ตัดสินใจไม่ลงทุน
วิธีการคำนวณระยะเวลาคืนทุนนี้ เป็นการพิจารณาอย่างคร่าวๆและมีความสะดวกในการเปรียบเทียบหรือจัดลำดับโครงการโดยเฉพาะโครงการขนาดเล็ก การคืนทุนเร็วจะช่วยให้โครงการมีสภาพคล่องดีขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยลง แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ไม่ได้นำเรื่องค่าของเงินตามเวลามาพิจารณาและไม่ให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดที่ได้รับภายหลังระยะเวลาคืนทุน
4.5 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis)
โดยหลังจากที่ได้ตัวชี้วัดทางการเงินแล้ว หากผลที่ออกมานั้นทำให้โครงการสามารถ ยอมรับได้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ใจว่ามีความแน่นอนในการประเมินผลตอบแทนและต้นทุนโครงการ เพราะการวิเคราะห์ เป็นการใช้ข้อมูลในปัจจุบันและแนวโน้มจากอดีตซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลในอนาคตดีที่สุด แต่เนื่องจาก อนาคตเป็นเรื่องของความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงภัยอยู่ด้วย โอกาส ผิดพลาดจึงอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึง ต้องมีการทดสอบโดยการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้
1. ค่าในแง่ดี เงื่อนไขเชิงบวก
- ต้นทุนลด 10 % ผลประโยชน์เพิ่ม 10 %
- ต้นทุนลด 10 % ผลประโยชน์คงที่
- ต้นทุนคงที่ ผลประโยชน์เพิ่ม 10 %
2. ค่าในแง่ร้ายเงื่อนไขเชิงลบ
- ต้นทุนเพิ่ม10 % ผลประโยชน์ลด 10 %
- ต้นทุนเพิ่ม 10 % ผลประโยชน์คงที่
- ต้นทุนคงที่ ผลประโยชน์ลด 10 %
ซึ่งผลวิเคราะห์ความอ่อนไหวในกรณีต่างๆ ทำให้ตัวชี้วัดความคุ้มค่าทั้ง 3 ตัว ของโครงการเปลี่ยนแปลงไป
4.6 อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return : IRR)
อัตราผลตอบแทนภายใน หมายถึง ผลตอบแทนเป็นร้อยละของโครงการหรืออัตราคิดลดในกระบวนการคิดลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์ ถ้าอัตราคิดลดระดับหนึ่ง ที่ใช้ในกระบวนการคิดลดแล้วทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าลดลง และลดลงต่อไปเท่าที่อัตราคิดลดยังคง สูงขึ้นตามลำดับ สุดท้ายจะมีอัตราคิดลดลดระดับหนึ่งที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งก็คืออัตราผลตอบแทนภายในของโครงการในการศึกษานี้การหาค่า iซึ่งจะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นศูนย์ ใช้วิธีลองเพิ่มและลดอัตราคิดลด แล้วพิจารณาดูว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นอย่างไร ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์แสดงว่าถึงจะเสียดอกเบี้ยลงทุนรายได้ยังคงเกินรายจ่าย อยู่อีกจำนวนหนึ่ง อัตราคิดลดที่เลือกจึงยังคงต่ำเกินไป ยังสามารถเพิ่มให้สูงขึ้นได้ ขั้นต่อไปลองเพิ่มอัตรา คิดลด ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเป็นลบหรือน้อยกว่าศูนย์แสดงว่าอัตราคิดลดที่ต้องการจะต้องอยู่ในระหว่าง สองค่าดังกล่าว ในการคำนวนหาค่าอัตราผลตอบแทนภายในโครงการหรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) นั้นคล้ายคลึงกับการคำนวนหาค่า NPV แต่ส่วนที่แต่กต่างกันนั้นอยู่ที่ค่าตัวแปร iค่า IRR ถูกใช้แทน อัตราส่วนลดหรืออัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนของโครงการ
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = S .
(1+i) n S = มูลค่าของเงินที่เป็นค่ากระแสเงินสดสุทธิสำหรับแต่ละปี ที่ใช้ในการคำนวณหาค่า NPV ซึ่ง ค่ากระแสเงินสดนี้ใช้แทนความแต่กต่างระหว่างค่าใช้จ่ายประจำปี ของสภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ ใน โครงการกับค่าใช้จ่ายประจำปี ของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่
I = อัตราผลตอบแทนภายใน
n = จำนวนปี ทั้งหมดที่ใช้ในการคำนวณหาค่า IRRการคำนวณนั้นคิดในแต่ละปี ที่ถูกนำมาพิจารณา
เกณฑ์การตัดสินใจ
เกณฑ์การตัดสินใจสำหรับวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือ ถ้ามูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณได้ของโครงการมีค่ามากกว่า 0 ก็ตัดสินใจลงทุนหรือยอมรับโครงการนั้น หากมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าน้อยกว่า 0 หรือ มีค่าเป็นลบก็ไม่ลงทุนในโครงการดังกล่าวเนื่องจากไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน สำหรับในกรณีที่มีโครงการลงทุนที่น่าสนใจมากกว่า 1 โครงการ จะต้องจัดอันดับโครงการโดยเรียงลำดับตามมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณได้จากค่ามากไปหาค่าน้อย
4.7 อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio: BCR)
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน หมายถึง การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์โครงการรวมหารด้วยมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนรวม
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) = ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ (NPB)
ผลรวมมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (NPC)
อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 1 หมายความว่า โครงการให้ผลประโยชน์รวมมากกว่า ต้นทุนรวม ซึ่งถือว่ายอมรับโครงการได้
5. การปรับราคาในการประเมินโครงการเพื่อให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์
การประเมินค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์สามารถใช้ราคาตลาด (Market Price) ในการประเมินโครงการ ได้ถ้าอยู่ภายใต้ระบบการแข่งขันสมบูรณ์ แต่เนื่องจากระบบตลาดในปัจจุบันไม่ใช่ระบบที่แข่งขันสมบูรณ์ ทำให้ราคาตลาดไม่สามารถนำมาใช้ในการประมาณค่าได้ จึงต้องมีการคำนวณหาราคาที่แท้จริงออกมา ราคาที่ คำนวณขึ้นมาเพื่อนำมาใช้แทนราคาตลาดในกรณีที่ราคาตลาดใช้ไม่ได้นี้คือราคาเงา (Shadow Price) หรือ ราคาทางการบัญชี (Accounting Price) การที่ต้องใช้ราคาเงาหรือราคาทางการบัญชีแทนที่จะเป็นราคาตลาด นั้น ก็เพราะว่าราคาตลาดไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงเหตุผลที่นำมาใช้อธิบายได้คือ ในโลกแห่งความเป็นจริง พบว่าแบบจำลองการแข่งขันสมบูรณ์(Perfectly Competitive Paradigm) ไม่เป็นจริงราคาตลาดจึง มักจะแต่กต่างไปจากราคาเหมาะสมทางสังคม ด้วยเหตุผลนี้ตลาดจึงเป็นแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีการตั้งราคา ขายของผู้ผู้กขาด ( Monopolistic Pricing) การแทรกแซงตลาดของรัฐบาล (Government Intervention) ความไม่สมบูรณ์ในข่าวสารข้อมูลและความไม่รอบรู้ของผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาด (Imperfect Knowledge) ผลจากภายนอก (Externalities) ราคาเงาหรือราคาทางการบัญชี จึงเข้ามาแทนที่ราคาตลาดของผลผลิตและปัจจัยการผลิต เพื่อที่จะได้สะท้อนอย่างถูกต้องถึงต้นทุนทางสังคมหน่วยสุดท้ายที่ยอมสละไปกับส่วนอื่นของระบบ เศรษฐกิจ (ชูชีพ, 2544) ราคาเงานอกจากจะแสดงถึงความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคเพื่อที่จะได้มาซึ่งสินค้า และบริการแล้ว ยังแสดงถึงค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของทรัพย์ากรต่างๆ ที่นำมาใช้ใน โครงการนั้นๆ ด้วย ซึ่งถ้าหากราคาตลาดเท่ากับค่าเสียโอกาสหรือราคาเงาของผลผลิตและปัจจัยที่ใช้ในโครงการนั้น การวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปรับราคาแต่อย่างใด เพราะผล จะออกมาเหมือนกับการวิเคราะห์ทางการเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาตลาดของผลผลิตและปัจจัยการ ผลิตมักจะไม่เท่ากับค่าเสียโอกาส เนื่องจากเหตุผลหลายอย่าง การใช้ทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เป็นไปตามสภาพที่แท้จริงของทรัพย์ากรนั้น ทำให้จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์ควบคู่ไปกับการ วิเคราะห์ทางด้านการเงินด้วย เพื่อให้มีการใช้ทรัพย์ากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดการวิเคราะห์โครงการ ด้านเศรษฐศาสตร์ จะเริ่มจากการวิเคราะห์ทางการเงิน และปรับปรุงรายการหรือการปรับราคา(Price Adjustment) เพื่อให้เป็นการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ สามารถแยกออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การปรับสำหรับรายการเงินโอนทางตรง
2. การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศได้
3. การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้
ในการปรับสำหรับรายการเงินโอนทางตรง ขั้นตอนแรกในการปรับราคาทางการเงินให้เป็นราคาเงา คือการขจัดรายการโอนทางตรงออกไป เพราะรายการเงินโอนทางตรงนี้ไม่เป็นเพียงค่าใช้จ่ายของการใช้ทรัพย์ากรที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิเรียกร้องต่อทรัพย์ากรที่แท้จริงที่โอนจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในสังคมด้วย รายการเงินโอนโดยทั่วๆ ไป ได้แก่ ภาษี การอุดหนุนทางตรง และธุรกรรมสินเชื่อ ซึ่งจะรวมถึงเงินกู้ รายรับ การชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยจ่าย รายการทั้งหมดนี้จะต้องถูกตัดออกไปก่อนที่จะปรับปรุงบัญชีทางการเงินให้สะท้อนถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ
การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศได้ สินค้า หรือรายการที่ซื้อขาย ต่างประเทศได้ หมายถึง สินค้าที่นาเข้าหรือส่งออกได้จริงๆ หรือสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ในการนำเข้าและส่งออก การกำหนดมูลค่าเริ่มจากราคาชายแดน (Border Prices) อันเป็นราคาเงาหรือราคาทาง บัญชีของสินค้าที่ซื้อขายต่างประเทศได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการนำเข้า คือ ราคา C.I.F. และการส่งออก คือราคา F.O.B. จากนั้นราคาชายแดนจะถูกปรับด้วยค่าขนส่ง และค่าการตลาดในประเทศระหว่างที่ตั้งของโครงการกับจุดการส่งออกและนำเข้า ผลที่ได้คือ ราคาเงาหรือราคาทางบัญชีที่จะใช้กับการประเมิน ค่าโครงการต่อไป
การปรับสำหรับการบิดเบือนราคาตลาดในรายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้ รายการที่ซื้อขายต่างประเทศไม่ได้ คือ สินค้าหรือบริการที่ต้นทุนการผลิตในประเทศต่ำกว่าราคา C.I.F แต่สูงกว่าราคา F.O.B. หรือ การที่รายการนั้นๆ มีการแทรกแซงจากรัฐบาลด้วยวิธีการห้ามการนำเข้า โควต้า และอื่นๆ การเปลี่ยน จากราคาทางการเงินไปเป็นราคาทางเศรษฐศาสตร์สามารถทำได้โดยการคูณด้วยตัวประกอบแปลงค่า (Conversion Factor) ที่เหมาะสม หรือคูณด้วยตัวประกอบแปลงค่ามาตรฐานซึ่งสามารถหาได้จากบัญชี รายชื่อทั้งหมดของตัวประกอบแปลงค่าที่กำหนดโดยธนาคารโลก ซึ่งค่า Conversion Factor : C.F จะ เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หากประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจไปตาม ทิศทางที่มีการแข่งขันใกล้เคียงกับการแข่งขันสมบูรณ์ค่าของ C.F. จะมีค่าใกล้ 1 ถ้าค่า C.F. น้อยกว่า 1 หมายความว่า ราคาที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นสูงกว่าราคาที่ควรจะเป็น (ราคาเงา)
3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่ สีเขียว
เขียนเนื้อหารายงานประเมินประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน
3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ
เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ กล่าวคือธุรกิจเราทำอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ ชัดเจน
3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียวหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่าย ๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์
3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต
3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่สีเขียว
3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ
3.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน
3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวประสบความสำเร็จ
3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ ค่านิยมของลูกค้าปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้
ดังนั้นจึงต้องมีหลักการเขียนที่ดีและสิ่งสำคัญควรมีเทคนิคการเขียนเนื้อหารายงานอย่างมีหลักการ
|