หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ACTB-075A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 3


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต คัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต และการส่งมอบปัจจัยการผลิต โดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ    


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
01211 วางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต

1.1 ระบุวัตถุประสงค์การใช้ปัจจัยการผลิต

1.2 กำหนดปัจจัยการผลิต

1.3 ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต

01212 คัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์

2.1 อธิบายแนวทางการคัดเลือกปัจจัยการผลิต

2.2 เลือกปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตตามปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ได้แก่ ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร

01213 ประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัยการผลิต

3.1 ระบุวิธีการประเมินตามหลักการวัดผลิตภาพจากผลผลิต

3.2 วิเคราะห์ผลของการใช้ปัจจัยการผลิตในด้านผลผลิตรวม (TP) ผลผลิตเฉลี่ย (AP) และผลผลิตส่วนเพิ่ม (MP)

3.3 รายงานผลการใช้ปัจจัยการผลิตจากการนำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว

01214 ประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต

4.1 ระบุแนวทางการวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์จากการลดต้นทุนของการใช้ปัจจัยการผลิต

4.2 อธิบายวิธีการวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์จากการลดต้นทุนในการใช้ปัจจัยการผลิต

4.3 วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น (ShortRun) และระยะยาว (Long Run) จากการใช้ปัจจัยการผลิต

01215 ส่งมอบปัจจัยการผลิต

5.1 ระบุปัจจัยการผลิตที่ต้องการส่งมอบให้ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว

5.2 อธิบายวิธีการส่งมอบปัจจัยการผลิตเพื่อได้ผลการตอบแทนของการใช้ปัจจัยการผลิต

5.3 ประเมินผลตอบแทนการใช้ปัจจัยการผลิตจากค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร ที่เกิดจากการส่งมอบปัจจัยการผลิตให้กับธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการวางแผน คัดเลือก ประเมิน การจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต
2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยการผลิต
1.1 ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการจัดสรรทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความพอใจมากที่สุดทั้งนี้เนื่องจากทรัพย์ากรธรรมชาติมีจำกัดขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด วิชาเศรษฐศาสตร์จึงต้องจัดสรรทรัพย์ากรที่มีอย่างจำกัดไปผลิตสินค้าต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัดให้ได้รับความพอใจสูงสุด มีความหมายและลักษณะทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ ดังนี้
1) สถานการณ์และบริบทต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ความหมาย ขอบเขตและเนื้อหาของความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ได้มีบทบาทเชื่อมโยงและครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ในสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการทรัพย์ากรกายภาพ การขนส่ง การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เป็นต้น หากจะกล่าวถึงขอบเขตและความหมายของเศรษฐศาสตร์ในลักษณะเฉพาะประเด็นอาจจะไม่ครอบคลุมมากนัก โดยที่ผ่านมามีนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการ หลายยุคหลายสมัยได้ให้คำนิยามและมุมมองในกระบวนวิชาทางเศรษฐศาสตร์อยู่มากมาย อีกทั้งที่มีความพยายามจะนำเสนอว่าเศรษฐศาสตร์นั้นคืออะไร ซึ่งหากยุคสมัยมีการเปลี่ยนผ่านไปก็ย่อมมีอิทธิพลต่อการกล่าวถึงบทบาทและมิติขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์แต่กต่างกันด้วย และในที่นี้หากจะต้องกล่าวถึงบทบาทและความหมายของเศรษฐศาสตร์ ก็ต้องนำเสนอถึงแนวคิดที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายาม ให้มุมมองทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน: 2549) นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการได้พยายามเสนอคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับความหมายของเศรษฐศาสตร์ โดยทั่วไปมักมีการพิจารณาออกเป็น 2 แนวทาง แนวหนึ่ง คือ การให้คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการทางเศรษฐกิจของมนุษย์ (Materialistic definition of economics) อีกแนวหนึ่งคือการให้คำนิยามที่เน้นถึงความจำกัดของทรัพย์ากรที่มีอยู่ (Scarcity definition of economics) โดยอาจให้คำนิยามความหมายของเศรษฐศาสตร์
2) เศรษฐศาสตร์ ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ (ประชาชน + สังคม) เลือกใช้ประโยชน์จากทรัพย์ากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (หาหนทางเลือกที่ดีที่สุด) เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ (อย่างไม่สิ้นสุด)
3) ความต้องการของมนุษย์ความต้องการสินค้า บริการและความสะดวกสบาย ความต้องการนี้จะแต่กต่างกันตามแต่ละบุคคล ระยะทางและสถานที่ ความต้องการของมนุษย์เพื่อให้เกิดความพอใจมักจะมีมากกว่าสินค้าและบริการที่มีอยู่ 
4) ทรัพย์ากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ที่ดินจะรวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพย์ากรธรรมชาติต่าง ๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า แรงงาน จะรวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานแบ่งอาจออกเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีทักษะแรงงานถึงทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ แรงงานที่ทางานจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ทุนหมายถึง เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เส้นทางคมนาคมขนส่ง ชลประทาน ตลอดจนเครือข่ายการสื่อสารต่าง ๆ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ เงินมิใช่ทุน เนื่องจากเงินไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดได้เลย เงินเป็นเพียงสื่อกลางที่จะก่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่านั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน รับการเสี่ยงภัย ทำหน้าที่ตัดสินใจและรับผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
5) ปกติทรัพย์ากรหรือปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดสามารถเลือกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่นที่ดินแปลงหนึ่งอาจใช้สำหรับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม บ้าน ถนน สวนสาธารณะ หรือ สวนผลไม้ แรงงานคนหนึ่งอาจจะทำงานเป็นคนทำความสะอาด ทำงานก่อสร้าง กรรมกรขนสินค้าที่ท่าเรือหรือทำงานบริการอื่น ๆ นักศึกษาคนหนึ่งอาจได้รับการอบรมให้เป็นนักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ หรือทนายความ เนื่องจากทรัพย์ากรมีปริมาณจำกัด (Scarcity of resources) จึงก่อให้เกิดราคาขึ้น 
6) การที่ทรัพย์ากรโดยทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ปริมาณสินค้าและบริการ       ที่ผลิตได้ในแต่ละสังคมมีจำนวนจำกัดไปด้วยขณะเดียวกันทรัพย์ากรแต่ละชนิดยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ดังนั้นสังคมจึงต้องตัดสินใจเลือกว่าควรจะผลิตสินค้าชนิดใดและไม่ควรผลิตสินค้าใด ในระยะสั้นสังคมสามารถทำได้เพียงพอใจในสิ่งที่เขาต้องการ ถ้าความต้องการของมนุษย์มีจำกัดขณะที่ทรัพย์ากร มีไม่จำกัดก็จะไม่เกิดการขาดแคลน วิชาเศรษฐศาสตร์จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
7) เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนแรงงานและความชำนาญของแรงงานเพิ่มสูงขึ้น มีการค้นพบทรัพย์ากรธรรมชาติและมีการคิดค้นเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ขึ้นมีผลทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นด้วย แต่ความต้องการของมนุษย์ก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้ความขาดแคลนยังคงมีอยู่ ความขาดแคลนดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานของทุกระบบเศรษฐกิจ
1.2 ข้อมูลปัจจัยนำเข้าวัสดุอุปกรณ์วัตถุดิบแรงงานเงินทุนทรัพย์ากรต่างๆรวมไปถึงเวลาและสถานที่พื้นที่สีเขียว คำว่า “ทรัพย์ากรการผลิต” หมายถึง ปัจจัยการผลิต (factors of production or input) แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดิน (land) แรงงาน (labor) ทุน (capital) และผู้ประกอบการ (entrepreneur) มีรายละเอียดดังนี้
1) ที่ดิน (land) ได้แก่ ที่ดินรวมทั้งทรัพย์ากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้นมาไม่ได้ ผลตอบแทนจากการใช้ที่ดินเรียกว่า ค่าเช่า (rent) โดยที่ดินเป็นการพิจารณาในฐานะที่อุตสาหกรรมต้องใช้ที่ดินให้เป็นแหล่งทำเลที่ตั้งทางอุตสาหกรรมที่เหมาะสม หรือการตั้งสถานประกอบการที่เหมาะสมในการจัดการต้นทุน ค่าขนส่งในการผลิตให้ต่ำที่สุด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
2) แรงงาน (labor) เป็นทรัพย์ากรมนุษย์ (human resource) ที่อยู่ในวัยทำงาน พิจารณาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งได้แก่ระดับการศึกษาและความรู้ในการประกอบอาชีพ สติปัญญา สุขภาพอนามัย ศีลธรรมและจริยธรรม ผลตอบแทนของการใช้แรงงานคือ ค่าจ้าง (wage) หรือค่าแรง โดยอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการจ้างแรงงานให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งแรงงานในอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น     3 ลักษณะ คือ แรงงานที่มีฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ
3) ทุน (capital)  หรือสินค้าทุน (capital goods) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง (construction) และอุปกรณ์การผลิต (equipment) การลงทุน (investment) หมายถึงการจัดหาสินค้าทุน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการในอนาคตเพิ่มขึ้น นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินทุน (money capital) เป็นเพียงสื่อกลางในการจัดหาสินค้าทุนสินค้าทุนหรือสินทรัพย์ประเภททุนที่สะท้อนถึงกำลังการผลิตที่มีอยู่ในหน่วยผลิตหรือในระบบเศรษฐกิจที่เป็นจริงได้ดีกว่าจำนวนเงินทุน ดังนั้นสินค้าทุนจึงมีความสำคัญ    ในเชิงเศรษฐกิจมากกว่าเงินทุน แต่เนื่องจากไม่สามารถคำนวณยอดรวมสินค้าทุน เพราะสินค้าทุนแต่ละอย่าง   มีหน่วยนับไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงเลี่ยงไปใช้จำนวนเงินลงทุนแทน และใช้ผลตอบแทนของเงินทุน อันได้แก่ ดอกเบี้ย (interest) ในการวัดผลตอบแทนของปัจจัยทุน ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องอาศัยทุนในการผลิตอยู่ 2 ลักษณะ คือ เงินทุน (จำนวนเงินที่นำมาลงทุนในการทำกิจการ) และสินค้าทุน (เป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินทุนในการจัดหามา เช่น เครื่องจักร เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เป็นต้น)
4) ผู้ประกอบการ (entrepreneur)  คือผู้ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิต            3 ประเภท ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนของผู้ประกอบการเรียกว่า กำไร (profit) ปัจจัยการผลิตซึ่งเป็นผู้ประกอบการนี้มีความสำคัญที่สุดเนื่องจาก หากปราศจากผู้ประกอบการก็จะไม่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มหรือผลตอบแทนของทรัพย์ากรต่างๆ ที่มีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามนิยามของหลักวิชาเศรษฐศาสตร์นั่นเอง ทั้งนี้ผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมคือผู้ที่ครองครองปัจจัยการผลิตที่จัดหามาได้แล้วนำมาผลิตตามเทคนิคการผลิตที่คิดค้นขึ้นหรือได้รับการถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบ การรักษาความลับทางการผลิต เพื่อสร้างอำนาจทางการแข่งขันหรือสร้างอุปสรรคทางการแข่งขัน โดยในมุมทางการจัดการผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่สร้างอุปสรรคทางการแข่งขันได้ต้องการผลิตสินค้าในสังคมนวสมัย     แต่เนื่องด้วยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตในระยะยาวนั้นผู้ประกอบการจะเผชิญกับการแข่งขันและ    มีกำไรปกติ ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องรักษามาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพและการรักษาเทคนิคการผลิตให้ได้ระยะเวลายาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาพื้นฐานข้อมูลปัจจัยนำเข้า
2.1 ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกันเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic System) ที่มีแนวปฏิบัติคล้ายๆ กัน มาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) เพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค แนวปฏิบัติที่คล้ายคลึง กันนี้จะเป็นกฎเกณฑ์และนโยบาย      ที่หน่วยเศรษฐกิจในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เราสามารถจำแนกระบบเศรษฐกิจออกได้เป็น 3 ระบบ คือ
2.1.1 ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน (Unplanned Economy) หรือบางแห่งเรียกว่าระบบเศรษฐกิจเอกชน (Private enterprise economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีอิสระในการดาเนินการผลิตและการบริโภค ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาวางแผนกำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร กลไก-ราคาจะเป็นตัวกำหนดทั้งสิ้น ระบบเศรษฐกิจแบบนี้นิยมเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบเสรี 
2.1.2 ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่ (Planned Economy) หรือบางแห่งเรียกระบบสังคมนิยมภาคบังคับ (Authoritarian socialism) เป็นระบบที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และเป็นผู้กาหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนเต็มที่นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 
2.1.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Semi-Planned Economy) หรือบางแห่งเรียกว่า Mixed Economy เป็นระบบที่รัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และแบ่งปันผลผลิตกันอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้าดาเนินการวางแผนในกิจกรรมเศรษฐกิจบางประการเท่านั้น โดยทั่วๆ ไปจะปล่อยให้เอกชนดาเนินการโดยการทางานของอาศัยกลไกราคา หรือกลไกตลาด
2.2 อธิบายการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.2.1 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems)
เนื่องจากทรัพย์ากรมีอย่างจำนวนจำกัด ไม่พอที่จะบำบัดความต้องการทุกอย่างของทุกคนในสังคมได้ ดังนั้นทุกสังคมจึงต้องประสบกับปัญหาอย่างเดียวกัน คือ ผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร ซึ่งรวมเรียกว่าปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อนึ่ง คำว่า ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic economic problems) มักใช้เฉพาะกับปัญหา 3 ประการ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อให้แต่กต่างจากปัญหาเศรษฐกิจทั่วไป
1)  ปัญหาผลิตอะไร (what) เป็นปัญหาการตัดสินใจว่าอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการควรจะผลิตสินค้าหรือบริการอะไร และควรจะผลิตเป็นจำนวนเท่าไร ปัญหานี้เกิดจากทรัพย์ากรการผลิตมีอย่างจำกัด จึงต้องเลือกผลิตเฉพาะที่จำเป็นระบบเศรษฐกิจจะไม่ต้องประสบกับปัญหานี้เลย หากปัจจัยการผลิตมีจำนวนมากเพียงพอที่จะนำไปผลิตสินค้าทุกชนิดและเป็นจำนวนมากตามความต้องการ    ที่ไม่จำกัดของคน
2) ปัญหาผลิตอย่างไร (how) เป็นการพิจารณาว่าสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการจะผลิตด้วยเทคนิคการผลิตแบบไหน และใช้ปัจจัยการผลิตอะไรบ้าง แต่ละชนิดใช้เป็นสัดส่วนเท่าไรจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากในการผลิตแต่ละชนิดมีวิธีการผลิตหลายวิธี จึงต้องพิจารณาเลือกวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3) ปัญหาผลิตเพื่อใคร (for whom) เป็นการพิจารณาว่าสินค้าและบริการที่อุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบการผลิตได้จะจัดสรรให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมด้วยวิธีการอย่างไร ระบบเศรษฐกิจแต่ละแบบจะมีวิธีการจัดสรรสินค้าและบริการแต่กต่างกัน ถ้าเป็นระบบเสรีนิยม ผู้มีรายได้และทรัพย์สินมากก็ได้รับ
2.2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ กับการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Systems and Solutions)
การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชนโดยทั่วไปถือเป็นระบบสังคมเศรษฐกิจ (Social economy) ในสังคมเศรษฐกิจมีการแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละหน่วยการผลิตตามแนวคิดของ อดัม สมิท ที่ทุกหน่วยการผลิตจะต้องประสานงานกัน สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานเรียกว่าสถาบันทางเศรษฐกิจ (institutions) ซึ่งแสดงคุณลักษณะของสังคมเศรษฐกิจทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน โดยทั่วไป   การจำแนกระบบเศรษฐกิจอาจพิจารณาจากเกณฑ์สำคัญต่อไปนี้คือ (1) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นของส่วนบุคคลหรือส่วนรวม (2) การตัดสินใจในปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นของส่วนบุคคลหรือส่วนรวม และ (3) การจัดสรรทรัพย์ากรและผลผลิตผ่านกลไกตลาดหรือโดยการบังคับ ซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็นมุมมอง ในด้านมหภาคของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณาร่วมกันกับการตัดสินในลงทุนในกิจการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินสถานการทางเศรษฐกิจที่เป็นไปได้ โดยปกติระบบเศรษฐกิจตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ มีดังนี้
2.2.2.1 ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
ระบบเศรษฐกิจแบบนี้มีเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ระบบการประกอบการเสรี (Free Enterprise System) และระบบตลาด (Market System) ลักษณะสำคัญของระบบนี้มีดังนี้
1) มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ากร (ownership of resources) ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ ครัวเรือนและอุตสาหกรรมเป็นหน่วยเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผู้ที่เป็นเจ้าของมีเสรีภาพเต็มที่ในการจัดการกับปัจจัยการผลิตตามที่เห็นว่าเหมาะสม
2) เสรีภาพในธุรกิจ (freedom for enterprise) อุตสาหกรรมผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกประกอบธุรกิจตามต้องการ ส่วนครัวเรือนก็มีเสรีภาพในการขายปัจจัยการผลิตที่เขาเป็นเจ้าของให้แก่อุตสาหกรรม 
3) กำไรเป็นเครื่องจูงใจ (profit motive) ผลตอบแทนจากการขายปัจจัยผลิตก็คือรายได้ การที่อุตสาหกรรมมีการนำปัจจัยผลิตมาใช้ประโยชน์ในการผลิตและพยายามหาเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มกำไร ส่วนผู้บริโภคก็พยายามเปรียบเทียบราคาของสินค้ากับความพอใจของตนเองที่จะได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นเปรียบเทียบราคาสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย และเลือกซื้อสินค้าที่จะนำความพอใจมาให้มากที่สุดด้วยการจ่ายในราคาต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
4) ระบบราคา (price system) ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ราคากำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของสิ่งนั้นในตลาด ถ้าจำนวนซื้อและจำนวนขายเท่ากันพอดี ราคาก็จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากจำนวนซื้อและจำนวนขายไม่เท่ากัน ราคาจะเคลื่อนไหวทันที ราคาจะสูงขึ้นถ้าจำนวนซื้อมีมากกว่าจำนวนขาย และราคาจะลดลงถ้าจำนวนซื้อมีน้อยกว่าจำนวนขาย ซึ่งอุตสาหกรรมต้องพิจารณาเรื่องการกำหนดราคานี้เป็นเรื่องที่สำคัญในโครงสร้างราคาในระบบเศรษฐกิจ
2.2.2.2 ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (Centralized Planning Economy)
ลักษณะสำคัญของระบบนี้คือส่วนร่วม หรืออีกนัยหนึ่งรัฐเป็นเจ้าของทรัพย์ากรต่างๆ รวมทั้งปัจจัยผลิตเกือบทุกอย่างแม้กระทั่งแรงงาน กล่าวคือบุคคลไม่มีสิทธิแม้แต่การใช้แรงงานของตนในการเลือกประกอบอาชีพและถิ่นที่อยู่ตามความพอใจ กลไกราคาไม่มีบทบาทแต่อย่างใด การตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดำเนินไปตามแผนที่วางไว้  แผนคือข้อกำหนดที่ระบุถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ นับตั้งแต่การจัดสรรทรัพย์ากร การลงทุนการผลิต จนถึงการแจกแจงผลผลิตไปสู่มือผู้บริโภค  แผนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแทนหน่วยเศรษฐกิจทั้งหลาย
2.2.2.3 ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)
ระบบเศรษฐกิจแบบนี้มีลักษณะทุนนิยมผสมกับแบบวางแผน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน กลไกราคามีบทบาทในการจัดสรรทรัพย์ากรและการแจกแจงผลผลิต แต่ถ้าเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแข่งขันสมบูรณ์แล้ว กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีบทบาทน้อยกว่า เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจแบบผสมมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของหลายฝ่าย เช่น สหภาพแรงงาน สมาคมการค้าและธุรกิจ กลุ่มเหล่านี้สามารถสร้างอิทธิพลและอำนาจการผู้กขาดบางส่วน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจต่างๆ เช่น การกำหนดสินค้าที่ผลิต การลงทุน การจัดสรรทรัพย์ากร ค่าตอบแทนหรือรายได้
3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้า
เขียนเนื้อหารายงานประเมินบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้าเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางเศรษฐศาสตร์ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน
3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ 
เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ  แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ  กล่าวคือธุรกิจเราทำอะไร  มีจุดมุ่งหมายอย่างไร  มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ  ชัดเจน  
3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ 
การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้าหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่ายๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์
3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต
3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของบริบทข้อมูลปัจจัยนำเข้าและจัดทำรายงานข้อมูลปัจจัยนำเข้า
3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจเป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมาย  ที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ                                              
3.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน  อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน     
3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key  Success  Factor) พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวประสบความสำเร็จ  
3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ  ค่านิยม ของลูกค้าปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ ดังนั้น จึงต้องมีหลักการเขียนที่ดีและสิ่งสำคัญควรมีเทคนิคการเขียนเนื้อหารายงานอย่างมีหลักการ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ
2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หรือ
3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ 
2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
2. แฟ้มสะสมผลงาน
3. การสอบสัมภาษณ์
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ 
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวางแผนการจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิต การคัดเลือกปัจจัยการผลิตจากปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ การประเมินผลิตภาพจากการใช้ปัจจัย การผลิต การประเมินประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนการผลิต และการส่งมอบปัจจัยการผลิต
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
ทรัพย์ากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ที่ดินจะรวมไปถึงปุ๋ยในดิน สภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ แร่ธาตุ ตลอดจนทรัพย์ากรธรรมชาติต่างๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า แรงงาน จะรวมไปถึงความสามารถของมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการผลิตสินค้าและบริการ แรงงานแบ่งอาจออกเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีทักษะ แรงงานกึ่งทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ แรงงานที่ทำงานจะได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทน ทุนหมายถึง เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน สิ่งประดิษฐ์ เส้นทางคมนาคมขนส่ง ชลประทาน ตลอดจนเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ เงินมิใช่ทุน เนื่องจากเงิน    ไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดได้เลย เงินเป็นเพียงสื่อกลางที่จะก่อให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่านั้น ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดหาทุน รับการเสี่ยงภัย ทำหน้าที่ตัดสินใจและรับผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุนจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังคำอธิบายในหัวข้อทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ข) ความต้องการด้านความรู้
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 
18.2 แฟ้มสะสมผลงาน
18.3 การสอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ