หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BBCM-449A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

1 5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการในเด็ก และรวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็กเพื่อรายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10401.1

ส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการ (Developmental tasks) ในเด็ก

1. อธิบายพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็กในแต่ละช่วงอายุ

2. ให้ความช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการในช่วงวัย

3. สอนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

10401.2

รวบรวมข้อมูลด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก

1. บันทึกข้อมูลพฤติกรรมเด็กในแต่ละวันลงในแบบฟอร์มที่กำหนด

2. สอบถามผู้ดูแลเพื่อซักถามข้อมูลพฤติกรรมของเด็กที่บ้าน

3. รายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • ทักษะการสื่อสารทางบวกกับเด็กและผู้ปกครอง
  • ทักษะการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย
  • ความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กเบื้องต้น

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
  • แบบบันทึกผลการอบรม
  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน
  • แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์

คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดูแลพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

วิธีการประเมิน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แบบบันทึกผลการอบรม และประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้อง
  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน

15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานดูแลพัฒนาการและสุขภาวะของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย โดยเริ่มจากส่งเสริมกิจกรรมตามพัฒนาการในเด็ก ตั้งแต่การอธิบายพัฒนาการที่เหมาะสมของเด็กในแต่ละช่วงอายุ ให้ความช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของเด็ก และสอนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้ด้วยตนเอง และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยบันทึกข้อมูลพฤติกรรมเด็กในแต่ละวัน สอบถามข้อมูลพฤติกรรมของเด็กนอกพื้นที่ปฏิบัติงานจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น พฤติกรรมของเด็กเมื่ออยู่กับครอบครัว และรายงานข้อมูลพฤติกรรมของเด็กให้กับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญที่กำกับดูแลทราบ
คำแนะนำ
ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ครอบคลุมในทุกมิติที่กำหนดไว้ และแสดงความรู้ผ่านการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

คำอธิบายรายละเอียด
1. พัฒนาการเด็ก หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมทั้งในด้านโครงสร้าง หน้าที่ และพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 9 ปี อันเกิดจากอิทธิพลของพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู โดยอาจเป็นผลจากที่เด็กได้รับมาตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ โดยพัฒนาการเด็ก สามารถแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้
1.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวร่างกายที่ประสานกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการเจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย
1.2 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัวผ่านประสาทสัมผัส การมีประสบการณ์กับสิ่งต่าง ๆ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสามารถในการสร้างภาพในสมอง (mental representation) มีความสามารถในการให้ความสนใจและเปลี่ยนความสนใจ จดจำข้อมูลและยับยั้งพฤติกรรมของตนเอง สามารถเรียนรู้ภาษาและวิธีการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา รู้จักการใช้เหตุผลอย่างง่าย โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นรูปธรรมของสิ่งรอบตัว
1.3 พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์พื้นฐานต่าง ๆ และอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งของตนเองและผู้อื่น และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม สามารถกำกับ ควบคุมและจัดการพฤติกรรมทางอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคมของตนเอง มีความสามารถในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้าง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
  • สอบข้อเขียน
  • การสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ