หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยกลำไย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-MHRQ-423A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยกลำไย

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพลำไยในระหว่างการคัดแยก ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกษ. 1-2546)
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก
3. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047-2560)
4. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (มกษ. 9035-2563)
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
105021

วิเคราะห์ปัญหาระหว่างการคัดแยกลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย

1. รวบรวมปัญหาด้านคุณภาพของลำไยที่เกิดจาก
ปัจจัยต่าง ๆ ได้

2. อธิบายข้อกำหนดที่จำเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เชื่อมั่นในคุณภาพของลำไย

105022

แก้ไขปัญหาระหว่างการคัดแยกลำไย
เพื่อส่งจำหน่าย

1. ประสานงานและให้ข้อมูลแก่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไข
ปัญหา ในกรณีที่พบคุณภาพของลำไยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
ที่กำหนด

2. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาคุณภาพ
ของลำไยระหว่างการคัดแยกเพื่อส่งจำหน่าย  


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายการวัสดุอุปกรณ์และการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกผลลำไย
2. มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะคุณภาพชั้นต่ำของลำไย และคุณภาพของลำไยตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
3. มีความรู้เกี่ยวกับการบรรจุ บรรจุภัณฑ์ และเครื่องหมายหรือฉลากตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
4. มีความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชในลำไย เชื้อรา แมลง
5. มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผลไม้สด
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการคัดแยกคุณภาพลำไยตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพ  และลักษณะคุณภาพทางกายภาพของลำไยตามที่ข้อกำหนดและมาตรฐานที่กำหนดเพื่อส่งจำหน่ายในภูมิภาคต่าง ๆ 
2. ทักษะในการทำงานเป็นทีมและสื่อสารในส่วนงานที่รับผิดชอบ
3. ทักษะแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการคัดแยกคุณภาพลำไย
4. ทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพลำไย
5. ทักษะการควบคุมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน
6. ทักษะการจำแนกโรคพืชและศัตรูพืชในลำไย
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคลและหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
2. วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกลำไย
4. พันธุ์และลักษณะของลำไยที่มีคุณภาพตามชั้นคุณภาพหรือเกรดคุณภาพตามข้อกำหนดในมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
5. การจำแนกโรคพืชและศัตรูพืชในลำไย
7. มีความรู้ในการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    ผลการสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      -

(ค) คำแนะนำในการประเมิน
    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

(ง) วิธีการประเมิน
    การสอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
    การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงานหรือหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกคุณภาพผลผลิตลำไยในกระบวนการผลิตของโรงคัดบรรจุ เช่น อุปกรณ์การตรวจสอบศัตรูพืช (เข็มเขี่ย มีดผ่า แว่นขยาย) กรรไกร ตะกร้าพลาสติกรองรับของเสียหรือไม่ได้คุณภาพ กระดาษรองตะกร้า สติกเกอร์ติดตะกร้าบรรจุภัณฑ์ที่ระบุเกรดคุณภาพลำไย   เป็นต้น
2. โรงรวบรวม/ โรงคัดบรรจุ หมายถึง พื้นที่หรืออาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารจัดการสำหรับคัดบรรจุผลลำไย โดยมีการจัดการผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเตรียม การคัดเลือก การตัดแต่ง การบรรจุ การเก็บรักษา จนถึงการขนส่ง พื้นที่ผลิตควรมีแนวทางในการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชเข้าทำลายผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น การใช้มุ้งตาข่ายขนาด 30 เมช บริเวณทางเข้าออกควรเป็นประตู 2 ชั้น เป็นต้น
3. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพลำไยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่บังคับใช้ภายในประเทศ ประเทศส่งออก และความต้องการของลูกค้า พิจารณาจากคุณลักษณะของลำไยและบรรจุภัณฑ์
4. คุณภาพขั้นต่ำของลำไยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกษ. 1-2546) ต้องมีผลสมบูรณ์ มีลักษณะคุณภาพที่ดี ไม่เน่าเสีย ไม่ช้ำ และไม่มีตำหนิที่เห็นเด่นชัด ปลอดจากศัตรูพืช และความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช ปลอดจากความเสียหายอันเนื่องมาจากอุณหภูมิต่ำ และอุณหภูมิสูง ปลอดจากความชื้นที่ผิดปกติจากภายนอก ปลอดจากกลิ่นแปลกปลอม และรสชาติผิดปกติ
5. ขนาดของลำไยช่อ และลำไยผลเดี่ยว พิจารณาจากจำนวนผลต่อกิโลกรัม หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของผลตามข้อกำหนดขนาดในมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ลำไย (มกษ. 1-2546)
6. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 10
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A    


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A    


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์หรือการสาธิตการทำงานหรือสังเกตการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ