หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาดระดับฟาร์ม/ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน (ระดับกลาง/ใหญ่)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GQNL-404A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาดระดับฟาร์ม/ระดับกลุ่ม ระดับชุมชน (ระดับกลาง/ใหญ่)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัส ISCO-08    
2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง
3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม
2133 นักนิเวศวิทยา
2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์ได้ สามารถจัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร จัดการคลังสินค้าทางการเกษตร พร้อมพัฒนาเครือช่ายความร่วมมือชุมชนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชนได้ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘
- พรบ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พรบ.คอมพิวเตอร์
ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558
- มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
         ระดับฟาร์ม: มาตรฐานฟาร์ม (GAP) ปศุสัตว์อินทรีย์ (GFM)
         ระดับโรงงาน/โรงฆ่าสัตว์: ใบอนุญาต (ฆจส. 2) GMP, HACCP, มาตรฐานโรงงานส่งออก
         ระดับสถานที่จัดจำหน่าย: ใบอนุญาต (ร.10) ปศุสัตว์
- มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม GOOD FARMING MANAGEMENT (GFM)
- มาตรฐาน/กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
531

วิเคราะห์ตลาดสินค้าเกษตรและแนวโน้มตลาดเชิงพยากรณ์

1. สำรวจความต้องการสินค้าเกษตร

2. สำรวจราคาและวิเคราะห์แนวโน้มราคาสินค้าเชิงพยากรณ์

3. ประสานกับกลุ่มผู้ผลิตเพื่อการเลือกผลิตสินค้าตามสภาวะการณ์ตลาด

4. วิเคราะห์ความเสี่ยงการตลาด

532

จัดหาช่องทางการขายและประชาสัมพันธ์สินค้า

1. สำรวจช่องทางการขายสินค้าและวิเคราะห์ข้อได้เปรียบของแต่ละช่องทาง

2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายกับลักษณะสื่อที่เหมาะกับสินค้าเกษตร

3. ทำการตลาดเครือข่ายผลผลิตการเกษตรออนไลน์ และวางแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า

4. ประสานความร่วมมือเครือข่ายการตลาดประเมินงบประมาณกิจกรรม

533

จัดการคลังสินค้าทางการเกษตร

1. วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด

2. ดำเนินการผลิตสินค้าและจัดการคลังสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Demand)

534

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือชุมชุนการเกษตร/วิสาหกิจชุมชน

1. รวบรวมเครือข่ายการเกษตรชุมชน

2. กำหนดแนวทางของเครือข่ายการเกษตรชุมชน

3. ประสานเครือข่ายการทำเกษตรเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด

4. สร้างความสัมพันธ์และพัฒนาเครือข่ายชุมชนการทำเกษตรร่วมกัน

535

มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร

1. ปฎิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตร

2. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตร


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล
- ทักษะการบริหารจัดการ
- ทักษะทางการตลาด การประสานงาน การเจรจาต่อรอง
- ทักษะในการสืบค้นข้อมูล
- ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้สื่อออนไลน์
- ทักษะในการปรับบริบทการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับช่องทาง/ราคาสินค้าเกษตร
- ความรู้เกี่ยวการขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์
- ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ/วิสาหกิจชุมชน
- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าเกษตร
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- หลักฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาด 
- การขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ 
- หลักฐานการทำงานเกี่ยวข้องกับเครือข่าย/วิสาหกิจชุมชน
- หลักฐานการทำงานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะ เช่น การจัดการคลัง
 
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- หลักฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลผลิตทางการเกษตรและการตลาด
- การอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าออนไลน์
- การอบรมการพัฒนาเครือข่าย/วิสาหกิจชุมชน
- หลักฐานอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหน่วยสมรรถนะ เช่น หลักสูตรการจัดการคลัง การตลาด เทคนิคทางการตลาด การเพิ่มยอดขาย
 
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
-N/A-

(ง) วิธีการประเมิน
    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย
1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์
2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 

(ก)    คำแนะนำ 
-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 
เทคนิคทางการตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น การสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า ทำให้ตลาดรู้จักสินค้า เกิดการจดจำคุณภาพของสินค้า ช่วยส่ให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บริโภครู้จักสินค้าอยู่แล้ว จึงสามารถคาดหวังคุณภาพสินค้าได้ อีกอย่างหนึ่งคือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นเพื่อขายสินค้า คือการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพมากกว่าของคู่แข่ง หรืออาจจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก 
อ้างอิง: ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
         การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) มาตรฐานบังคับ คือ มาตรฐานที่มีกฎกระทรวง และ 2) มาตรฐานทั่วไป คือ มาตรฐานที่มีประกาศกําหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อสัมภาษณ์ คำถามสัมภาษณ์สอดคล้องกับสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การประเมิน
-    แฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นตาม Check-list
 


ยินดีต้อนรับ