หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและประเมินโครงการ (โครงการขนาดใหญ่ ทุกมิติ)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OAHC-399A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและประเมินโครงการ (โครงการขนาดใหญ่ ทุกมิติ)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ       ISCO-08    
2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง
3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม
2133 นักนิเวศวิทยา
2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโครงการและประเมินโครงการ ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน วิเคราะความเสี่ยงและวางแผนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการใช้พื้นที่เกษตรในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งวางแนวทางในการพัฒนาธุรกิจได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

-    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง/อาคาร
-    กฎหมายสิ่งแวดล้อม
-    พรบ. การขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543
-    พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
-    ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. ๒๕๖๐
-    กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
361

วิเคราะห์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของโครงการ

1. วิเคราะห์ข้อมูลโครงการและประเมินโครงการ

2. ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

3. วิเคราะห์ความเสี่ยง/โอกาส พร้อมกับวางแผนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

362

วางแผนการใช้พื้นที่เกษตรเพื่อทำธุรกิจและหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ

1. วิเคราะห์ข้อมูลการทำธุรกิจเกษตรในพื้นที่

2. วางแผนธุรกิจในพื้นที่และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ

3. สร้างจุดขายและสร้างแบรนด์ (Branding) ในพื้นที่เกษตร

4. วิเคราะห์เครือข่ายธุรกิจและวางแผนการสร้างเครือข่ายธุรกิจ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการวิเคราะห์โครงการ การวางแผนโครงการ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์ วางแผน
- ทักษะการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง 
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนโครงการ/การประเมินโครงการ
- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการ/ความเสี่ยง
- ความรู้เกี่ยวกับชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศในพื้นที่ออกแบบ
- ความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งเครือข่าย
- ความรู้เกี่ยวการวางแผนธุรกิจ
- ความรู้ในการสร้างแบรนด์ 
- ความรู้ในการวิเคราะห์/ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ความรู้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความเป็นไปได้และการประเมินโครงการ
- หลักฐานโครงการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- แผนธุรกิจ
- หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี)

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- หลักฐานการอบรมเกี่ยวกับความเป็นไปได้และการประเมินโครงการ (feasibility)
 - หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน
-N/A-

(ง) วิธีการประเมิน
    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย
1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์
2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 

(ก)    คำแนะนำ 
-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 
การสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า/บริการ เป็นการทำให้ตลาดรู้จักสินค้า/บริการของผู้ผลิต เกิดการจดจำคุณภาพของสินค้า/บริการ มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างไร และจะช่วยส่งผลให้การขายสินค้า/บริการมีความง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทราบอยู่แล้วและสามารถคาดหวังได้ว่าถ้าซื้อสินค้า/หรือบริการมีคุณภาพอย่างไร
การทำแผนธุรกิจ มีการกำหนดแนวคิดการทำธุรกิจ องค์ประกอบของธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน อื่นๆ ลงในแผน รวมถึงแผนการตลาดโดยมีการกำหนดตลาดที่ชัดเจน เพื่อกำหนดคุณภาพสินค้าเกษตร และการวางแผนการผลิตที่เหมาะสมในการจำหน่าย ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
เครือข่ายธุรกิจ หมายถึงการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจหลายแห่ง ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนวิธีสร้างความสัมพันธ์และการทำธุรกิจร่วมกันในรูปแบบต่างๆ โดยที่ธุรกิจเครือข่ายทำงานร่วมกันเสมือนเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ดำเนินการร่วมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกัน จึงมีความสามารถสูงกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ความคล่องตัวสูงกว่า และความคิดริเริ่มดีกว่า ที่ธุรกิจแต่ละแห่งจะทำตามลำพัง ธุรกิจเครือข่ายจะทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถอยู่รอด และมีความสามารถในการแข่งขัน
การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เป็นเทคโนโลยีทางการจัดองค์กร เพื่อให้วิสาหกิจขนาดเล็กหลาย ๆ แห่ง รวมตัวเพื่อให้ได้ประโยชน์เท่ากับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ขณะที่ยังคงรักษาจุดเด่นของธุรกิจขนาดเล็กไว้ การสร้างเครือข่ายจะต้องออกแบบให้เหมาะกับสภาพธุรกิจและวัฒนธรรมของกลุ่ม
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อสัมภาษณ์ คำถามสัมภาษณ์สอดคล้องกับสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การประเมิน
-    แฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ (ดูรายละเอียดใน Check-list)
 


ยินดีต้อนรับ