หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบระบบเกษตรตามวัตถุประสงค์

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-WWTF-395A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบระบบเกษตรตามวัตถุประสงค์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ  ISCO-08    
2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง
3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม
2133 นักนิเวศวิทยา
2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถออกแบบการใช้พื้นที่เพื่อทำการเกษตรได้ตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์พื้นที่เพื่อกำหนดระบบเกษตรได้ตามความต้องการของลูกค้า รวมทั้งทำการวิเคราะห์ชุมชนและสังคมในพื้นที่ทำเกษตรก่อนการออกแบบระบบเกษตร และสามารถออกแบบผังฟาร์มได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร
สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน
-    พรบ. การขุดดินถมดิน พ.ศ. 2543
-    พรบ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
-    พรบ. พัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551
-    พรบ. ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558
-    พรบ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532
กฎหมายสิ่งแวดล้อม
-    พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
-    มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร
-    กฎหมาย/มาตรฐาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
321

วิเคราะห์ความต้องการและกำหนดระบบเกษตรตามความต้องการของลูกค้า

1. รับข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการทำเกษตรของลูกค้า

2. วิเคราะห์พื้นที่เกษตรและระบบเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่

3. ให้คำแนะนำและกำหนดระบบเกษตรตามความต้องการของลูกค้า

322

วิเคราะห์ชุมชนโดยรอบและสังคมในพื้นที่ทำเกษตร

1. กำหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา

2. วางแผนการวิเคราะห์ชุมชนและสังคมแบบมีส่วนร่วม

3. รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน

4. วิเคราะห์ปัญหาและและความต้องการ

323

ออกแบบผังฟาร์ม/ภูมิทัศน์ฟาร์ม

1. รวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ (ความต้องการจากเจ้าของฟาร์ม/ข้อมูลผลการวิเคราะห์พื้นที่)

2. ออกแบบภูมิทัศน์ฟาร์ม

3. ออกแบบผังฟาร์ม


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการเกษตรกับการทำงาน
- ทักษะในการคิดประยุกต์ วิเคราะห์ วางแผน
- ทักษะในการปรับบริบทการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
- ทักษะในการออกแบบ
- ทักษะในการสื่อสาร
- ทักษะการออกแบบเชิงภูมิสังคม (Geosocial)
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะพื้นที่ พืช สัตว์ ประมง ในพื้นที่
- ความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตร
- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะชุมชนในพื้นที่ทำเกษตร
- ความรู้เกี่ยวกับการทำฟาร์มเกษตรและการจัดวางผังฟาร์ม
- ความรู้ในหลักการการออกแบบ
- ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายในการทำฟาร์ม
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย/มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ
- ความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบเชิงภูมิสังคม (Geosocial)
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
-หลักฐานการออกแบบระบบเกษตร

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบเกษตร
- หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ชุมชน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน
-N/A-

(ง) วิธีการประเมิน
    ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย
1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์
2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกสัมภาษณ์ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะ 

(ก)    คำแนะนำ 
-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 
            การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า
“นักออกแบบ” ซึ่งหมายถึงคนที่ทางานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป โดยใช้ความรู้
ความสามารถในเรื่องต่างๆ ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ หลอมรวมกันเพื่อใช้ในการออกแบบงานนั้นๆ

ระบบเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่: การประยุกต์ใช้ระบบเกษตรตามสภาพพื้นที่เป็นการนำระบบที่ลูกค้า/เจ้าของที่ดินต้องการ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น มาประยุกต์การทำงานให้เข้ากับสภาพพื้นที่ โดยมีขั้นตอนการทำงาน เช่น ตรวจสอบพันธ์พืช/สัตว์ ที่สามารถเพาะปลูกและเลี้ยงได้ในพื้นที่ ตามกิจกรรมที่ลูกค้าต้องการ ในแต่ละกิจกรรมอาจมีรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือเกษตรธรรมชาติ มีสัตว์หรือพื้ช

รูปแบบกิจกรรมเป็นตัวกำหนด เช่น 
- กิจกรรมพืชเป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากพืช
- กิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากการเลี้ยงสัตว์
- กิจกรรมประมงเป็นหลัก โดยมีรายได้หลักจากการประมง
- กิจกรรมไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นหลัก มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตรทุกแขนง

ลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนดระบบเกษตร เช่น ระบบเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่สูงระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม
อ้างอิง: กรมวิชาการเกษตร 

การจัดวางระบบฟาร์ม เช่น ระบบน้ำ ระบบระบายอากาศ ระบบน้ำทิ้ง ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบทำความเย็น ระบบเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องมีการจัดวางในช่วงของการออกแบบ

ขั้นตอนการจัดวางผังฟาร์ม มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ศึกษาบริบทเกี่ยวกับงานที่จะวางผัง ซึ่งฟาร์มแต่ละประเภทจะมีบริบทที่แตกต่างกันตามรายละเอียดที่เจ้าของฟาร์มหรือเจ้าของโครงการต้องการ ในฐานะผู้ว่าจ้าง รายละเอียดที่ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะให้ผู้รับจ้างทำอะไรบ้าง เช่น 1) การบอกขอบเขตของงานให้ชัดเจน 2) ระยะเวลาที่ต้องการ 3) สิ่งที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดำเนินการ 4) มีกี่ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยอะไรบ้าง 5) ผลกระทบจากการปฏิบัติงานตามสัญญาและการผิดสัญญา และ 6) วิธีการดูแลงานของผู้ว่าจ้าง
2. ศึกษาองค์ประกอบของงาน ที่จำเป็นต้องมีตามประเภทของฟาร์มอย่างละเอียด  โดยอาจศึกษาจากตำราง และศึกษาโครงสร้างของฟาร์มแต่ละประเภท
3.วิเคราะห์สภาพที่ตั้งฟาร์ม ต้องทำโดยละเอียด ต้องทำการสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งสภาพแวดล้อมภายในและข้างเคียง โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง ทางระบายน้ำตามธรรมชาติ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ภูมิประเทศ/ภูมิทัศน์ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อที่จะช่วยในการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เลือกประเภทของฟาร์มได้อย่างเหมาะสมและง่ายต่อการบริหารจัดการฟาร์ม
4. ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนต่างๆ เช่น การคมนาคมขนส่ง การสาธารณูปโภค ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม แหล่งน้ำ แหล่งเก็บขยะ ปฏิกูล การกำจัด บ่อบำบัด
5. ศึกษาประชากรข้างเคียงและเพื่อนบ้าน การตั้งถิ่นฐาน ประชากรดั้งเดิม สภาพสังคมความเป็นอยู่
6. ศึกษาพื้นที่ทางธรรมชาติ โดยสภาพทางธรรมชาติหรือพื้นที่ข้างเคียงควรสงวนไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และสภาพทางธรรมชาติ
7. กำหนดวิสัยทัศน์ฟาร์ม เพื่อการพัฒนาฟาร์มรองรับการเปลี่ยนแปลง สะท้อนต่อการดำเนินธุรกิจของฟาร์มและเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เกี่ยวข้องกับฟาร์มดำเนินธุรกิจฟาร์มให้บรรลุเป้าหมาย
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (ทดสอบความรู้ตามเกณฑ์การปฎิบัติงาน)
-    ข้อสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นตาม Check-list
 


ยินดีต้อนรับ