หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจนิเวศเกษตรและหลักการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PHPZ-389A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจนิเวศเกษตรและหลักการทำเกษตรในประเทศไทยและสากล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ  ISCO-08
2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง
3142 ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญด้านเกษตรกรรม
2133 นักนิเวศวิทยา
2133 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความเข้าใจระบบนิเวศ สามารถวิเคราะห์ระบบนิเวศและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ สามารถวิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินิเวศในพื้นที่ มีความเข้าใจในหลักการทำเกษตรยั่งยืนของประเทศไทยและสากล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านเกษตรกรรม เช่น สาขาเกษตรปราดเปรื่อง สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาส่งเสริมการเกษตร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สาขาเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำเริเศรษฐกิจพอเพียง สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ    


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-N/A-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
111

วิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร

1. เข้าใจความหมายและบทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศ

2. วิเคระห์ระบบนิเวศในพื้นที่ทำเกษตร

3. วิเคราะห์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ทำเกษตร

112

วิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินิเวศในพื้นที่

 1. วิเคราะห์ชุมชนในพื้นที่ทำการเกษตร

2. ศึกษาภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น

113

เข้าใจหลักการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและต่างประเทศ

1. เข้าใจแนวคิดการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย

2. อธิบายแนวคิดเกษตรยั่งยืนของต่างประเทศ

3. ประยุกต์ใช้หลักการทำเกษตรยั่งยืน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการการคิดวิเคราะห์
-    ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการทำเกษตร
-    ทักษะในการอธิบาย การเรียงลำดับขั้นตอน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในพื้นที่ทำเกษตร
-    ความรู้เกี่ยวกับภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น
-    ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเกษตรยั่งยืนในประเทศไทยและสากล
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
-    หลักฐานการทำงานกับชุมชนในท้องถิ่น (ถ้ามี)
-    หลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี)
-    เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เจ้าหน้าที่สอบพิจารณา) เช่น แบบบันทึกรายละเอียดการทำงานที่สอดคล้องกับ UOC (บันทึกด้วยตนเองพร้อมมีผู้รับรองเอกสาร) (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
-    หลักฐานการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำเกษตรของประเทศไทย/สากล (ถ้ามี)
-    ใบรับรองผลการเรียน (ที่มีรายละเอียดหน่วยการเรียนสอดคล้องตาม UOC) (ถ้ามี)
-    เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เจ้าหน้าที่สอบพิจารณา) เช่น แบบบันทึกรายละเอียดการทำงานที่สอดคล้องกับ UOC (บันทึกด้วยตนเองพร้อมมีผู้รับรองเอกสาร) (ถ้ามี)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
-N/A-

(ง) วิธีการประเมิน
ผู้ประเมินทำการประเมินตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดย
1.    พิจารณาจากหลักฐานความรู้/สัมภาษณ์
2.    พิจารณาจากหลักฐานการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจนิเวศเกษตรของพื้นที่ วิเคราะห์ภูมินิเวศและวัฒนธรรมท้องถิ่น และแสดงถึงความเข้าใจในหลักการทำเกษตรยั่งยืนและการประยุกต์ใช้ สามารถอธิบายการทำเกษตรแบบพันธสัญญาได้ รูปแบบต่างๆ ข้อดีและข้อจำกัด และวิธีการทำเกษตรแบบพันธสัญญา

(ก)    คำแนะนำ 
- N/A-
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 
ลักษณะทางภูมินิเวศเกษตร เป็นการศึกษาอาณาเขตและภูมิประเทศ ลักษณะทิวเขา ลักษณะพื้นที่ราบ ลักษณะลุ่มน้ำและลำน้ำ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะดิน
การจัดแผนผังภูมินิเวศเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเชิงนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนเมืองและชุมชนชนบทของประเทศไทย มีการพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศ
ตัวอย่างระบบเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย 5 รูปแบบ 
-    เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอมหรือสารสกัดชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน
-    เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุด โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถมีการคลุมดินและใช้ปุ๋ยพืชสดได้
-    เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอ
เพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งมีการผลิตอื่น ๆ เพื่อบริโภคและจำหน่ายส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง
-    เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปในเวลาเดียวกันและกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัดในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-    วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforestry) เน้นการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน และเป็นการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทางหนึ่ง
เกษตรยั่งยืนในต่างประเทศ เช่น แนวคิดการทำเกษตรแบบ permaculture ของต่างประเทศ 
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-N/A-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

-    ข้อข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก (ทดสอบความรู้ตามเกณฑ์การปฎิบัติงาน)
- ข้อสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดในหน่วยสมรรถนะโดยวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฎิบัติงาน (Portfolio) มาเป็นส่วนประกอบการสัมภาษณ์ได้ (ถ้ามี) โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณาควบคู่กับการสัมภาษณ์ 
 


ยินดีต้อนรับ