หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -DCOJ-205B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานแนวโน้มของกระแสนิยม พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อตอบสนองการตลาดการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 นักออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

         บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับชำนาญมีประสบการณ์ทำงานเป็นที่ยอมรับของวงการวิชาชีพ เป็นผู้ที่กำหนดทิศทางนโยบายขององค์กร กำหนดตลาดเทรน แฟร์ชั่น และมีความเข้าใจในด้านตลาดด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศสามารถพูดจูงใจ และชี้แนะ คัดเลือกและบริหารจัดการคน วัตถุดิบ เวลาและการผลิตได้ มีความสามารถในการจูงใจ มีภาวะผู้นำในระดับสูง กล้าตัดสินใจมีคุณธรรมจริยธรรม รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ เข้าใจหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมอย่างชำนาญ ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

2163-นักออกแบบผลิตภัณฑ์

2163-นักออกแบบอุตสาหกรรม


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

 การออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก,มาตรฐานคุณภาพสินค้ายุโรป Toy Testing EN71, ASTM


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
AL581 จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมในวงการไลฟ์สไตร์โปรดักส์

1. รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกระแสนิยมเพื่อใช้ในการนำเสนอ

2. เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

3. จัดทำรายงานเอกสารกระแสนิยมแนวโน้มของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

AL582 ระบุและสืบค้นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวงการไลฟ์สไตร์โปรดักส์

1. เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

2.สืบค้นและระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

3. จัดทำรายงานรวบรวมหลักการและข้อมูลจากการสืบค้น

AL583 ถ่ายทอดเรื่องวัสดุ ประยุกต์ใช้หรือหาวัสดุทดแทนปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

1.สร้างสภาวะแวดล้อมของสถานที่ในทำงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

2 พัฒนาวัสดุใหม่ๆเพื่อทดแทนวัสดุเดิมและลดต้นทุนในการผลิต

AL584 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต

1. สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน

2. เข้าใจหลักการออกแบบ และหลักการผลิตในระบบอุตสาหกรรมอย่างชำนาญ

3. ถ่ายทอดหลักการการออกแบบเพื่อการผลิต

AL585 ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน

1.ถ่ายทอดหลักการการออกแบบแนวคิดที่ซับซ้อน

2 ต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองลูกค้าและส่งเสริมการตลาด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     เข้าใจทิศทาง การออกแบบในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ เข้าใจหลักการทฤษฏีในการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ สามารถอธิบายจัดการระบบความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบเป็นขั้นตอน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดทำรายงานการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

2. ปฏิบัติการตรวจติดตามการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

3. ปฏิบัติการติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำและตรวจสอบรายงาน

2. การจัดทำเป้าหมายการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

3. เทคโนโลยีการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ระดับเชี่ยวชาญ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

        หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน  (Performance  Criteria)  และทักษะและความรู้ที่ต้องการ  (Required Skills and Knowledge)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน  (Performance  Evidence)

1. เอกสารรายงานการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

2. เอกสารรับรองผลการปฏิบัติงานจริง

3. แฟ้มสะสมงาน

(ข) หลักฐานความรู้  (Knowledge  Evidence).

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์

2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ระดับ 5 ต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะอาชีพทดสอบโดย การสัมภาษณ์นำเสนอผลงาน (พาวเวอร์พอย) คัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่คัดเลือกในหลายๆด้านและมีความน่าเชื่อถือและคัดกรองพิจารณา (เป็นการมอบให้จากการสมัครแต่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ผ่านการคัดเลือก)

3. ผู้ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพด้านอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ระดับ 5 ไม่สามารถเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพอาชีพปฏิบัติงานด้านการออกแบบไลฟ์สไตร์โปรดักส์ ได้อีกถือว่าระดับนี้เป็นระดับสูงสุด

 (ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจริง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      N/A

(ข) คำอธิบานรายละเอียด

- วัฒนธรรมกระแสนิยม หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม โดยวัฒนธรรมสมัยนิยม มักจะมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง

            - แหล่งที่มาของข้อมูล หมายถึง  เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง

            - สร้างบรรยากาศและการจัดสภาวะแวดล้อม หมายถึง เป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคล เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี"

            - ทดสอบการประเมินผลิตภัณฑ์ หมายถึง ก่อนที่สินค้าทุกชิ้นจะได้รับการประทับโลโก้ จะต้องสามารถนำมาใช้ได้ มันต้องพิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดนี่เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติก่อนวางตลาด และต้องพัฒนาเครื่องจักร สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างแท้จริงเครื่องจักรนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของธรรมเนียมปฏิบัติ ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นวิธีการหลักก่อนติดแบรนด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบสัมภาษณ์ เป็นข้อสอบที่วัดความรู้หลักการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคและกระแสนิยมของการออกแบบไลสไตร์โปรดัก

18.2 สาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการวัดความรู้ทางด้านทักษะหลักการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคและกระแสนิยมของการออกแบบไลสไตร์โปรดัก


ยินดีต้อนรับ