หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุม กำกับ และประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FZMZ-387A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุม กำกับ และประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

(รหัส ISCO 3252) นักเวชสถิติ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

มีความรู้และทักษะการควบบคุม กำกับ งานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ โดยการตรวจสอบ การยืม คืน และการให้บริการ ตลอดจนประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ จากการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุปผล จัดทำรายงาน กำหนดแนวทางการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และกำหนดรูปแบบการบันทึกรหัสด้านสุขภาพของสถานพยาบาลได้ตามความเหมาะสม  


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเวชสถิติ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10403.01

ควบคุม กำกับงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

1.    ตรวจสอบ การยืม คืน และการให้บริการงานเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์

2.    จัดการงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก 

3.ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

10403.02

ประเมินผลงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

1.       รวบรวมข้อมูลบริการงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์

2.       วิเคราะห์ สรุปผล จัดทำรายงานการให้บริการงานเวชระเบียนและระบบสารสนเทศทางการแพทย์ 

3.       กำหนดแนวทางการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)  

4. กำหนดรูปแบบการบันทึกรหัสด้านสุขภาพของสถานพยาบาลหรือตามข้อกำหนดของกองทุนประกันสุขภาพ ในระบบเวชระเบียนหรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1. ทักษะในการวิเคราะห์ระบบการให้บริการเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์
  2. ทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบบริการเวชระเบียน
  3. ทักษะในการบริหารจัดการงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1. ความรู้เกี่ยวกับระบบการให้บริการเวชระเบียนและสารสนเทศทางการแพทย์
  2. ความรู้เกี่ยวกับระบบบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
  3. ความรู้เกี่ยวกับรหัสด้านสุขภาพ

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

           หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน
  2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง
  3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ผลการทดสอบความรู้
  2. หลักฐานการอบรมหลักสูตรด้านเวชสถิติหรืองานที่เกี่ยวข้อง
  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการ

รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  1. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้สอบครบทุกหน่วยสมรรถนะของระดับนี้  

15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตหมายถึงการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุม กำกับ ประเมินผล

ระบบบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และสามารถวิเคราะห์ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเวชระเบียนเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้ได้มากขึ้น ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  1. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ใน

หน่วยสมรรถนะนี้

        (ข) คำอธิบายรายละเอียด

  1. เวชระเบียนผู้ป่วยใน หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่บันทึกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับไว้รักษาภายใน

โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน

  1. เวชระเบียนผู้ป่วยนอก หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่บันทึกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับไว้รักษาภายใน

โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก

  1. ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การพัฒนาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่

อำนวยความสะดวกเพื่อการแพทย์ ซึ่งดำเนินการโดยจัดเก็บเอกสารผู้ป่วยทั้งแฟ้มโดยการสแกนภาพลงบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดี หรือฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น และการบันทึกข้อมูลประวัติผู้ป่วยเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสารและประโยชน์ในการสืบค้น

  1. เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ประเภทต่างๆ เช่น เอกสาร/

คดี เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น

  1. ข้อมูลขนาดใหญ่ หมายถึง ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลหรือจากระบบสารสนเทศ

โรงพยาบาล หรือแฟ้มมาตรฐาน 43 แฟ้ม

  1. รหัสด้านสุขภาพ หมายถึง รหัสที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบริหารจัดการรหัสยา

รหัสมาตรฐาน 24 หลัก (TMT), มาตรฐานข้อมูลสุขภาพ HL7, PACS  X-ray , SNOMED-CT, Diagnosis, ICD Code, รหัส UCEP, เบิกจ่าย Map Code กับ รหัสโรงพยาบาล, รหัสข้อมูลหมวดรายการค่าใช้จ่าย (BillGroup) 18 หมวด (Standard Items for Medical Billing (SIMB) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยใช้แบบแบบทดสอบความรู้

2. ใช้เอกสาร/หลักฐาน


ยินดีต้อนรับ