หน่วยสมรรถนะ
ประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | WPS-PJQT-010B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักความปลอดภัยในการทำงาน |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เรื่องข้อกำหนดกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล ความรู้เกี่ยวกับการประเมินเบื้องต้น สมารถจัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และดำเนินการประเมินและติดตาม รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
A303.1 จัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
1. รวบรวมมาตรการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์จากแบบฟอร์มการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ได้
2. รวบรวมมาตรการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานได้
3. ระบุสิ่งที่ต้องประเมินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้
4. จัดทำทะเบียนการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ |
A303.2 ดำเนินการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
1. "ระบุวิธีการประเมินผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ได้"
2. ดำเนินการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ตามกำหนดระยะเวลากำหนดเสร็จได้
3. ระบุการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ที่มีประสิทธิผลให้ผู้ที่รับผิดชอบได้เข้าใจได้
4. ระบุการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจได้
5. ตรวจสอบหลักฐานของผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้
6. ระบุรายละเอียดผลการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันลงในทะเบียนการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้
7. จัดเก็บทะเบียนผลการติดตามการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ |
A303.3 รายงานผลการประเมินและติดตามมาตรการการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และหรือกรณีที่อาจเกิดการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ |
1. "รวบรวมผลการติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action)
2. และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้"
3. จัดทำรายงานผลการวิเคราะห์การติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทั้งบริษัท ได้
4. นำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์การติดตามและประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action) และป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของทั้งบริษัทให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้ |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ด้านกฎหมาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2549 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ.2543 และ ISO 45001:2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการนำการสืบค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ (incident investigations) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ลักษณะของความเป็นอันตราย ภัยคุกคาม (threats) และจุดอ่อน (vulnerabilities) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ คำอธิบายรายละเอียด |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินการจัดทำทะเบียนติดตามมาตรการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดมาตรฐาน |