หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บํารุงรักษาเครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex)

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-WKMO-066A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บํารุงรักษาเครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานผลิตชิ้นส่วนประกอบยาง (ขอบลวดและยางเสริม) ระดับ 2


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถตรวจสอบ บํารุงรักษาเครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex) ตรวจสอบความชื้นค่า ความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดเส้นรอบวงได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
1.1.2.14.1 ตรวจสอบเครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex) ก่อนผลิต

1.1 ตรวจสอบเครื่องตามแบบฟอร์มการตรวจสอบก่อนเริ่มงาน

1.2 ตรวจสอบระบบ Safety

1.3 ตรวจสอบและอุ่นลูกกลิ้งให้อุณหภูมิได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.4 เตรียมวัตถุดิบเส้นใยขึ้นเครื่องพร้อมที่จะปฏิบัติงาน

1.5 ตรวจสอบเครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex) อย่างถูกต้องตามจุด และลําดับขั้นตอน

1.6 ระบุสภาพเครื่องมือ อุปกรณ์ ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ตรวจได้ปกติหรือผิดปกติ

1.7 แจ้งข้อมูลผลการตรวจสอบเครื่องจักรเมื่อพบปัญหา

1.8 บันทึกรายงานผลการตรวจสอบได้ถูกต้อง

1.1.2.14.2 บํารุงรักษาสภาพพื้นฐาน เครื่องออกลวด (Tire Bead Wire Grommet and Forming/Winding Machine) และยางเสริม (Apex)

2.1 ดําเนินการอัดจาระบี และขันแน่นตามคู่มือการปฏิบัติงานกําหนด

2.2 บันทึกการตรวจสอบและการอัดจาระบีขันแน่น ตามแบบฟอร์มการบันทึก

2.3 ดําเนินการหล่อลื่น จุดที่กําหนดได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

2.4 ปรับตั้ง ขันแน่น จุดที่กําหนดได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.2.14.3 ตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดเส้นรอบวงขอบลวด

3.1 ตรวจวัดเส้นรอบวงขอบลวดเทียบกับเกณฑ์คู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดเส้นรอบวงเทียบกับคู่มือการปฏิบัติงาน

3.2 ปรับแก้ไขตามคู่มือการปฏิบัติงาน

3.3 บันทึกผลการตรวจสอบ

1.1.2.14.4 ตรวจสอบความชื้นของห้องที่ปฏิบัติงาน

4.1 อ่านค่าจาก Gauge วัดความชื้น

4.2 เปรียบเทียบค่าความชื้นกับคู่มือการปฏิบัติงาน

4.3 บันทึกผลการตรวจสอบลงใน Check sheet


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้ประแจ แหวน ปากตาย หกเหลี่ยม
2. ทักษะการใช้อุปกรณ์อัดจาระบี
3. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์เทคนิคเบื้องต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ความรู้การตรวจสอบเครื่องมือวัด และระบบ Safety ของเครื่อง
3. ความรู้เกี่ยวกับการบํารุงรักษาด้วยตัวเอง (AM)
4. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเครื่องฉาบ
5. ความรู้เกี่ยวกับการบํารุงรักษาเครื่องฉาบ
6. ความรู้เกี่ยวกับข้อห้าม ข้อจํากัดของเครื่องจักร
7. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทํางานของเครื่องจักร
8. ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งเครื่อง
9. ความรู้เกี่ยวกับระบบ Hydraulic พื้นฐาน
10. ความรู้เกี่ยวกับระบบ Pneumatic พื้นฐาน
11. ความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าพื้นฐาน
12. ความรู้เกี่ยวกับระบบส่งกาลัง
13. ความรู้พื้นฐาน การหล่อลื่น ขันแน่น
14. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ สารหล่อลื่น หล่อเย็น
15. ความรู้เรื่องการตรวจสอบเครื่องจักร
16. ความรู้วิธีการใช้งานของเครื่องมือวัด และระบบ Safety ของเครื่อง
17. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องวัดเส้นรอบวงขอบลวด
18. ความรู้เกี่ยวกับการปรับแก้ไขค่า ความคลาดเคลื่อนของ เครื่องจักร
19. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่า Gauge วัดความชื้น และบันทึกผลการวัดค่าความชื้น
20. ความรู้เกี่ยวกับค่าความชื้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส
     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง
     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง
     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น
(ค) คําแนะนําในการประเมิน
     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด
(ง) วิธีการประเมิน
     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง
     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบผ้าใบจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน
(ก) คําแนะนํา
     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต
     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป
(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) คําอธิบายรายละเอียด
     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี
     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค
     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์
3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง
     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ


ยินดีต้อนรับ