หน่วยสมรรถนะ
จัดเก็บเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหาร
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-BQMB-625A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดเก็บเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหาร |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2563 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการรับชำระเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการ และส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการตามคำสั่งซื้อของผู้รับบริการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. คำแนะนำด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2. มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
0120101 รับชำระเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการ |
1. รวบรวมค่าบริการในการจัดส่งอาหารที่ผู้รับบริการต้องชำระได้ถูกต้องตามคำสั่งซื้อและเงื่อนไขในการจัดส่ง 2. เก็บเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการได้ถูกต้องครบถ้วนตามค่าบริการทั้งหมดของคำสั่งซื้อ 3. เก็บเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการได้ถูกต้องตามแนวทางของหลักสุขาภิบาลอาหารสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) |
0120102 ส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการ |
1. รวบรวมค่าบริการในการจัดส่งอาหารที่ผู้รับบริการต้องส่งให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องตามคำสั่งซื้อและเงื่อนไขในการจัดส่ง 2. จัดเก็บเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการได้ถูกต้องปลอดภัยตามแนวทางของหลักสุขาภิบาลอาหารสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) 3. ส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องครบถ้วนตามค่าบริการทั้งหมดของคำสั่งซื้อ 4. ส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องตามแนวทางของหลักสุขาภิบาลอาหารสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการรวบรวมค่าบริการในการจัดส่งอาหารที่ผู้รับบริการต้องชำระ 2. ทักษะในการจัดเก็บและนำส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารที่ถูกสุขอนามัย (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การปฏิบัติงานของคนขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ (delivery) ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อาทิเช่น คำแนะนำด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. ความรู้หลักสูตรสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence ) 1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากผู้ประกอบการ 2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารประเมินผลจากข้อสอบข้อเขียน 2. เอกสารรับรองผลการอบรม (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินโดยพิจารณาจากความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการรับชำระเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการ และส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการที่ถูกต้องและถูกสุขอนามัย (ง) วิธีการประเมิน พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
รับชำระเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการ จัดเก็บและส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารให้ผู้ประกอบการ (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถรับชำระและส่งเงินสดค่าบริการในการจัดส่งอาหารจากผู้รับบริการให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการสั่งซื้อและถูกสุขอนามัย (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. อาหาร หมายถึง อาหารและเครื่องดื่มที่ผู้รับบริการสั่งซื้อ 2. การปฏิบัติงานของคนขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ (delivery) ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อาทิเช่นคำแนะนำด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดบริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ (delivery) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข : คำแนะนำสำหรับคนขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ (delivery) ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้ออาหาร การรับอาหารจากร้านอาหาร และขนส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค 1) สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตนเอง และไอ จามปนเปื้อนอาหาร และลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ 2) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานขนส่งอาหารก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหารให้ผู้บริโภค หลังเข้าส้วม หลังจับสิ่งสกปรก และจับเงิน 3) หากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที 4) จัดหากล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะสำหรับขนส่งอาหาร ที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง ปกปิดมิดชิดในลักษณะที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อน และใช้กล่องบุฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์ 70 % โดยสเปรย์หรือหยดแอลกอฮอล์ 70 % ลงบนผ้าสะอาดพอหมาดๆ เช็ดไปในทิศทางเดียวกัน เป็นประจำทุกวัน 5) ตรวจสอบลักษณะภายนอกของกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ทันทีหลังได้รับจากร้านอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารไม่มีกลิ่นเน่าเสีย บรรจุอยู่ในภาชนะที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด การปกปิดอาหาร ฉลากอาหาร เป็นต้น และต้องไม่เปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอาหาร 6) การส่งอาหารต้องแยกเก็บอาหารเป็นสัดส่วนระหว่างอาหารปรุงสำเร็จและเครื่องดื่ม และจัดส่งถึงมือผู้บริโภคให้เร็วที่สุด 7) ไม่ควรเปิดกล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะจนกว่าจะพบผู้รับบริการอาหาร โดยก่อนเปิดกล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะทุกครั้งควรทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และจัดส่งอาหารให้ผู้รับบริการโดยตรงหรือจุดที่ผู้รับบริการกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการผู้รับบริการ ในการส่งอาหารคนขนส่งอาหารควรอยู่ห่างผู้รับอาหารอย่างน้อย 1-2 เมตร หรือในกรณีที่ไม่ได้ส่งอาหารให้กับผู้สั่งอาหารได้โดยตรง สถานที่หรือบริเวณที่จะส่งอาหารต้องไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน เช่น ไม่ส่งอาหารบริเวณใกล้ถังขยะ เป็นต้น และภายหลังส่งอาหารและหลังการจับเงินให้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 8) ถอดถุงมือผ้าในระหว่างการหยิบจับอาหาร เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนของฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่สะสมในถุงมือผ้า กรณีใส่ถุงมือผ้าในระหว่างการใช้ยานพาหนะขนส่งให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนการสวมใส่ทุกครั้ง และทำความสะอาดถุงมือด้วยน้ำยาทำความสะอาดทุกวัน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เครื่องมือประเมิน 1) แบบทดสอบข้อเขียน 2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |