หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-EHDV-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ ใช้ทักษะในการทำความสะอาดพื้นและผนังภายนอกอาคารได้ตามที่กำหนดและสามารถเลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้จำกัด โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพแม่บ้าน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10211 แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

1. กำหนดงานทำความสะอาดภายนอกอาคาร

2. บอกประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

3. อธิบายลักษณะการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์แต่ละประเภทได้

10212 ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

1. เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคารได้

2. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคารได้

10213 ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

1. ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์และทำความสะอาดด้วยได้

2. จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

10214 มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร

1. เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน

2. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวัง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  มีทักษะในการใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร
2.  มีทักษะในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้เหมาะกับงาน
3.  มีทักษะในการดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความรู้เกี่ยวกับชนิดของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร
2.  มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร
3.  มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
2.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
3.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (เตรียมความพร้อมก่อนทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
4.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารด้วยความระมัดระวัง)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.  แบบสัมภาษณ์ (กำหนดงานทำความสะอาดภายนอกอาคาร)
2.  แบบสัมภาษณ์ (บอกประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร)
3.  แบบสัมภาษณ์ (อธิบายการใช้งานของวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
4.  แบบสัมภาษณ์ (เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
5.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคารได้)
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
N/A
(ง)  วิธีการประเมิน
1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน
2.  การสัมภาษณ์
3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)     คำแนะนำ
N/A
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
1.  งานทำความสะอาดภายนอกอาคาร ได้แก่  พื้น  ผนัง
2.  ประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร
2.1  วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับปัดและกวาด           
2.2  วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับเช็ดถู
2.3  วัสดุ-อุปกรณ์สำหรับขัด
3.  วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดผนัง ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่  ไม้กวาดเสี้ยนตาล  ฟองน้ำ ผ้าสะอาด  และเครื่องดูดฝุ่น
4.  วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดพื้น ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว แผ่นขัด แปรงพลาสติก แปรงไนลอน แปรงกาบมะพร้าว แปรงทองเหลือง ไม้กวาดทางมะพร้าว ผ้าถูพื้น ฟองน้ำ  ไม้ถูพื้นถังน้ำและกะละมัง
5.  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นและผนัง ได้แก่ สารซักฟอก  น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดและผงขัดใช้ร่วมกับวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายนอกอาคารประเภทต่างๆ
6.  ลักษณะการใช้งาน
6.1  ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามผนัง  ขอบหน้าต่าง โดยต้องใช้ในบริเวณที่แห้งเท่านั้น
6.2  ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้สำหรับกวาดพื้นที่แห้งและเรียบ เช่น พื้นไม้ พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ พื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง  
6.3  ไม้กวาดเสี้ยนตาล ชนิดที่มีด้ามยาว ใช้สำหรับกวาด หยากไย่บนเพดานหรือกวาดบริเวณที่อยู่ไกลและเอื้อมไม่ถึง
6.4  ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้กวาดพื้นผิวที่หยาบหรือกวาดพื้นที่มีน้ำขัง ใช้กวาดน้ำเพื่อล้างพื้นประเภทต่างๆ
6.5  เครื่องดูดฝุ่น   ใช้แทนไม้กวาดเกือบทุกประเภท โดยเลือกใช้หัวเครื่องดูดฝุ่นให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด
6.6  แผ่นขัด ใช้ขัดถูคราบสกปรกที่พื้นกระเบื้องใช้ร่วมกับน้ำยาขัดหรือผงขัด
6.7  แปรงกาบมะพร้าว ใช้ขัดมุ้งลวด พื้นไม้  พื้นกระเบื้อง  พื้นซีเมนต์ที่ไม่ต้องการให้เห็นรอยขัดถู
6.8  แปรงทองเหลืองใช้ขัดพื้นไม้ พื้นซีเมนต์ พื้นหินขัดที่สกปรกมากใช้น้ำราดพื้นให้เปียกก่อนทำการขัด
6.9  ฟองน้ำ  ใช้ซับน้ำออกจากเครื่องใช้หรือเช็ดถูคราบสกปรก
6.10  ไม้ถูพื้นใช้ถูพื้นต่างๆ ภายในอาคาร
6.11  ถังน้ำและกะละมังใช้ใส่น้ำเพื่อซักล้างและทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ
7.  การเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายนอกอาคาร
7.1  การปัดกวาด
-  ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามชั้นวางของ หลังตู้หรือตามเฟอร์นิเจอร์ โดยต้องใช้ในบริเวณที่แห้งเท่านั้น
-  ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้สำหรับกวาดพื้นที่แห้งและเรียบ เช่น พื้นไม้ พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ พื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง
-  ไม้กวาดเสี้ยนตาล ใช้กวาดที่สูง ใช้สำหรับกวาด  หยากไย่บนเพดานหรือกวาดบริเวณที่อยู่ไกลและเอื้อมไม่ถึง
7.2  การเช็ดถู
-  ผ้าถูพื้น เส้นด้าย ฟองน้ำ ต้องสะอาด ไม่ทิ้งฝุ่น คราบ หรือเส้นใยผ้าหลังเช็ดถู ไม่ทำลายพื้นผิว และมีขนาดกว้าง พอสมควรซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็ว
-  ไม้ถูพื้นมีด้ามจับเหมาะมือ สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ยุ่งยากในการถอดออกและล้างโครงสร้างของ ไม้ถูพื้นควรแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน
7.3  การขัด
-  เลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นผิว ไม่ทำลายพื้นผิวให้สึกกร่อน เช่น พื้นกระเบื้องให้ใช้แปรงที่ทำจากวัสดุอ่อนๆ ไม่แข็ง ไม่ใช้แปรงพลาสติกหรือแปรงลวด
-  มีด้ามหรือที่จับเหมาะสม ไม่ผุกกร่อนได้ง่าย
-  แปรงแน่น เรียบเสมอ มีความแข็งแรง ผลึกติดแน่นกับด้ามหรือแผ่นไม้ แผ่นพลาสติก
7.4  เครื่องดูดฝุ่น  
-  ก่อนใช้งานควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำ
-  ประกอบต่อท่อหัวแปรงดูดฝุ่นให้แน่นไม่ให้เกิดรอยรั่วของอากาศ ถ้าไม่แน่นมอเตอร์จะทำงานหนักหรือไหม้ได้
-  ห้ามดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้ว เศษใบมีดหรือบุหรี่ที่กำลังติดไฟเพราะจะทำให้ตัวเครื่องเสียหาย
-  ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับพื้นอาคารที่เป็นรอยง่าย
-  หมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาดเพราะถ้าอุดตันจะดูดฝุ่นได้ไม่เต็มที่และเปลืองไฟ
7.5  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
-  สารซักฟอก ใช้งานตามที่ระบุในฉลาก เช่น ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า ซักล้างทั่วไป
-  น้ำยาล้างจาน  ก่อนการเลือกใช้ควรศึกษาฉลากและพิจารณาถึงส่วนผสมและคุณสมบัติให้เหมาะสม
-  น้ำยาขัดและผงขัด การใช้ ใช้ทำความสะอาดพื้น ขัดภาชนะตามที่ระบุไว้ในฉลาก
8.  หลักการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดอาคาร
8.1  ต้องปลอดภัยในการทำงาน
8.2  ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย พลังงานไฟฟ้า และน้ำ
8.3  ขั้นตอนการใช้งานและบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน
8.4  มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานทำจากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
9.  การดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความความสะอาดภายนอกอาคาร
9.1 ไม้กวาดขนไก่ หลังจากใช้เสร็จแล้ว ต้องสะบัดฝุ่นออกให้หมด แล้วแขวนไว้ในที่เหมาะสม        
9.2  ไม้กวาดดอกหญ้า  ควรทำที่แขวนโดยแขวนให้สูงกว่าพื้นเล็กน้อย ทำให้ปลายไม้กวาดไม่หักงอไม่เสียรูปทรง
9.3  ไม้กวาดทางมะพร้าว  ล้างให้สะอาด เก็บในที่ร่มและแห้ง โดยการแขวนหรือวางราบกับพื้นวางตั้ง
9.4  ไม้กวาดเสี้ยนตาล เมื่อใช้เสร็จแล้วควรดึงหยาบไย่ที่ติดอยู่กับไม้กวาดออกให้หมด เก็บโดยตั้งพิง  ไว้กับฝาผนัง ให้ปลายไม้กวาดอยู่ด้านบน
9.5  เครื่องดูดฝุ่น ควรทำความสะอาดตามคู่มือการใช้อุปกรณ์อย่างเคร่งครัด เพื่อจะช่วยยืดอายุการใช้งาน
9.6  แผ่นขัด ฟองน้ำ หลังใช้แล้วต้องล้างให้สะอาด บีบน้ำออกและผึ่งให้แห้ง
9.7  แปรงทองเหลือง  เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องล้างให้สะอาดและตากให้แห้งสนิทก่อน เพื่อป้องกันสนิม
9.8  แปรงเสี้ยนตาล  เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องใช้น้ำฉีดล้างให้สะอาดแล้วแขวนตากไว้
9.9  ผ้าถูพื้นชนิดต่างๆ ต้องซักให้สะอาด สะบัดหรือบีบไล่เศษผงออกให้หมด แขวนไว้โดยให้ปลายเหนือจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้แห้งและไม่วางหรือแขวนตากฝน เพราะจะทำให้ด้ามเป็นสนิมและผุกร่อนได้ง่าย
10.  การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายนอกอาคาร  
10.1  สารซักฟอก หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและให้พ้นมือเด็ก
10.2  น้ำยาล้างจาน หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท  วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก
10.3  น้ำยาขัด ผงขัด  หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท  วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก
11.  เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน
11.1  เตรียมความพร้อมร่างกาย
-  สวมเสื้อผ้ามิดชิด รัดกุม สะดวก เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน
-  ใส่อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ได้แก่ เสื้อคลุม ถุงมือยาง หมวกคลุมผม และผ้าปิดปากจมูกให้เรียบร้อย
11.2  เตรียมความพร้อมอุปกรณ์
- ตรวจดูสภาพของวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดก่อนนำไปใช้
-  เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
-  เตรียมถังน้ำและใส่น้ำสะอาด พร้อมผ้าสำหรับการเช็ดถูทำความสะอาด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน
2.  การสัมภาษณ์
3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ