หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมห้องต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-LQCX-001B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมห้องต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะในการทำความสะอาดอาคารและมีความรู้ความสามารถในการจัดเตรียมห้องรับแขก ห้องนอนและห้องครัวให้พร้อมใช้งาน สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบในระหว่างการทำความสะอาด โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือและข้อมูลพื้นฐานภายใต้การควบคุมแนะแนวของผู้บังคับบัญชา


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพแม่บ้าน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10141 จัดเตรียมห้องรับแขก

1. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก

2. ทำความสะอาดห้องรับแขกตามขั้นตอน

10142 จัดเตรียมห้องนอน

1. ทำความสะอาดห้องนอนตาม ขั้นตอน

2. ดูแลรักษาสิ่งของในห้องนอนให้พร้อมใช้งาน

10143 จัดเตรียมห้องครัว

1. ทำความสะอาดห้องครัวได้ถูกต้องตามขั้นตอน

2. ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  มีทักษะในการจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องต่างๆ ภายในอาคาร
2.  มีทักษะในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องต่างๆ ภายในอาคาร
3.  มีทักษะในการทำความสะอาดห้องห้องต่างๆ ภายในอาคาร
4.  มีทักษะในการจัดตกแต่งห้องต่างๆ ภายในอาคาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความ รู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอาคาร
2.  มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก)
2.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องรับแขกตามขั้นตอน)
3.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องนอนตามขั้นตอน)
4.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องครัวไดถูกต้องตามขั้นตอน)
5.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย)
(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาสิ่งของในห้องนอนให้พร้อมใช้งาน)                                                                                          
2.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย)
(ค)  คำแนะนำในการประเมิน
N/A
วิธีการประเมิน
1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน
2.  การสัมภาษณ์
3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก)    คำแนะนำ
N/A
(ข)  คำอธิบายรายละเอียด
1. ห้องรับแขก
1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดหยากไย่ ผ้าสะอาด ไม้ถูพื้น  ถังน้ำ ถุงมือยาง ฟองน้ำ   ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูกและปาก น้ำยาและผงทำความสะอาด
1.2  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องรับแขก
 -   เพดาน ฝาผนังใช้ไม้กวาดหยากไย่ปัดเอาใยแมงมุม ตามมุมหรือเพดานสัปดาห์ละครั้ง
-  โต๊ะ เก้าอี้รับแขก ใช้ไม่กวาดขนไก่และผ้าสะอาดปัดฝุ่น เช็ดถูทุกวัน
-  ภาพติดฝาผนัง ทำความสะอาดด้วยไม้กวาดขนไก่
-  วิทยุและโทรทัศน์ ควรปัดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าแห้งทุกวัน
-  หนังสือ จัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
2.  ห้องนอน คือ ห้องสำหรับพักผ่อนหลับนอน
2.1  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องนอน พื้นห้อง ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง ควรปัดกวาดเช็ดถูอย่างสม่ำเสมอ สำหรับของที่ยกหรือเลื่อนได้ ก็ควรยกหรือเลื่อนเมื่อทำความสะอาดทุกครั้ง
-  เตียงนอนหรือเครื่องนอนต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมออย่าให้มีฝุ่นเกาะ ใต้เตียงต้องให้สะอาด และทุกครั้งที่ตื่นนอนควรจัดเก็บ มุ้ง หมอน ผ้าห่มให้เรียบร้อยแล้วใช้ผ้าคลุมเตียงคลุมทับอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยให้เรียบร้อยน่าอยู่ยิ่งขึ้นและป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองหรือฝุ่นผงตกลงบนที่นอนด้วย
-  หน้าต่างห้องนอน ควรเปิดในตอนเช้าทุกวันเพื่อให้ภายในห้องนอนและที่นอนได้รับแสงแดด เป็นการผึ่งผ้าปูที่นอนไปในตัวและเป็นการถ่ายเทอากาศในห้องนอนให้ปลอดโปร่งด้วย
-  ม่านหน้าต่างและม่านประตู ควรเปลี่ยนออกซักรีดให้สะอาดตามเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยจนดำสกปรกเกินไป
2.2  ดูแลรักษาส่วนต่างๆ และสิ่งของในห้องนอนให้สวยงามและสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้
-  เก็บที่นอน หมอนมุ้ง พับผ้าห่ม ปัดที่นอนและคลุมเตียงด้วยผ้าคลุมให้เรียบร้อยทุกวัน
-  จัดตู้โต๊ะให้เป็นระเบียบ และเช็ดถูให้สะอาด
-  ขณะทำความสะอาดควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
-  มุ้งลวด ควรทำความสะอาด โดยปัดฝุ่นประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
-  พื้นห้อง ควรกวาดและถูกทุกวันเหมือนพื้นอาคารบริเวณอื่นๆ
3. ห้องครัว ห้องครัวหรือห้องอาหารจัดเป็นห้องที่สำคัญของตัวอาคาร โดยปฏิบัติดังนี้
3.1  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องครัว
-  ควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาดผนังหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ
-  พื้นห้องครัว ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่ประกอบอาหารเสร็จและเช็ดถูโต๊ะประกอบอาหาร เตาให้สะอาด  ควรทำความสะอาดพื้นครัวและขัดหรือเช็ดถูโต๊ะประกอบอาหาร เตาให้สะอาดอย่าง     ละเอียดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
-  ตู้กับข้าวควรแยกสิ่งของที่เก็บไว้ในตู้เป็นพวกๆ อย่าปะปนกันสิ่งของที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น พริกแห้ง น้ำปลา น้ำมันควรเก็บไว้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้
-  ถ้วยชาม เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำเก็บไว้ในที่มิดชิดอย่าคว่ำจานตลอดคืน เพราะกลางคืนอาจมีหนูหรือแมลงอื่นๆ ออกมาหาอาหารแล้วปีนป่ายบนจาน ทำให้ภาชนะที่ล้างไว้สกปรกและติดโรคบางอย่างได้
-  ถังขยะ ควรปิดฝาให้มิดชิด เศษขยะต่างๆ ที่เหลือใช้แล้วควรเก็บแยกประเภทขยะทั่วไปลงถังและ เมื่อมีเศษขยะมากพอควรนำเศษขยะไปฝังหรือเผาให้หมดหรือนำไปวางไว้ตามจุดก่อนให้รถขยะของเทศบาลมารับไปก็ได้ อย่าทิ้งให้เป็นบ่อเกิดเชื้อโรคต่างๆ
3.2  ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย
-  เตาแก๊ส ควรปิดวาล์ว และทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
-  เครื่องใช้ในครัวต่างๆ ต้องล้างให้สะอาดและคว่ำให้แห้ง โดยเฉพาะจานชาม ช้อนส้อม ควรใช้ผ้าสะอาดคลุมเพื่อป้องกันหนูและแมลงสาบ
-  โต๊ะและตู้กับข้าว โต๊ะในห้องครัวใช้สำหรับประกอบอาหาร หลังใช้งานควรจัดเก็บและทำความสะอาดทุกครั้ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน
2.  การสัมภาษณ์
3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ