หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งและทดสอบการทำงานของระบบควบคุม

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAC-UOZS-033B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งและทดสอบการทำงานของระบบควบคุม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างแมคคาทรอนิกส์ ระดับ 5


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่อธิบายถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นของช่างแมคคาทรอนิกส์ในการติดตั้งและทดสอบการทำงานของระบบควบคุมโดยจะครอบคลุมถึง การเชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านโปรแกรมสื่อสารและการติดตั้งชุดควบคุมและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ตามที่ระบุในแบบวงจรไฟฟ้า
 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
ME721 เชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านโปรแกรมสื่อสาร

1.1 สามารถเชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยการสื่อสาร แบบต่าง ๆ เช่น RS232, LAN เป็นต้น

1.2 สามารถ Up load และ Down load โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบแมคคาทรอนิกส์ออกและ เข้าชุดควบคุมได้

1.3 สามารถอ่านสถานะของอินพุตและเอ๊าพุตเพื่อทดสอบ ความถูกต้องของโปรแกรม ที่เขียนควบคุมได้

ME722 ติดตั้งชุดควบคุมและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ตามที่ระบุในแบบวงจรไฟฟ้า

2.1 สามารถต่อเชื่อมและทดสอบ การเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมกับสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอกได้โดยใช้การต่อสายสัญญาณโดยตรงได้

2.2 สามารถต่อเชื่อมและทดสอบ การเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมกับสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอกได้โดยใช้การสื่อสารแบบดิจิตอลต่างๆ เช่น LAN, Profibus เป็นต้น

2.3 สามารถเชื่อมต่อจอแบบสัมผัส (Touch screen monitor) กับระบบควบคุมได้

2.4 สามารถเชื่อมต่อชุดควบคุม แต่ละชุดควบคุมเป็นระบบโครงข่ายด้วยระบบ LAN ได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการอ่านและเขียนโปรแกรมที่ใช้ในระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์แบบต่าง ๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ในการสื่อสารระบบโครงข่ายแบบต่างๆ เช่น ระบบ LAN, RS232 และอื่น ๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
-    บันทึกการปฏิบัติงาน
-    Portfolio
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
-    ใบบันทึกการอบรม ความรู้ในการสื่อสารระบบโครงข่ายแบบต่าง ๆ เช่น ระบบ LAN, RS232 และอื่น ๆ
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยต้องแสดงถึง
    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
    2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    3. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ง)    วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียนทางทฤษฎี
2. สาธิตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) ประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการในการปฏิบัติงานจริง หรือการสังเกตการจำลองการปฏิบัติงานจริง
3. หลักฐานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม รวมถึง วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน กฎขอบังคับ มาตรการในการฝึกปฏิบัติ คู่มือในการปฏิบัติการ
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
N/A
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
    i) ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)
-    เชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านโปรแกรมสื่อสาร
ใช้โปรแกรมสำหรับการเขียน อ่านข้อมูลและชุดคำสั่งการทำงานลงในระบบควบคุม
แมคคาทรอนิกส์ โดย
o    เชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ด้วยการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น RS232, LAN เป็นต้น
o    Up load และ Down load โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบแมคคาทรอนิกส์ออกและเข้าชุดควบคุม
o    อ่านสถานะของอินพุตและเอ๊าพุตเพื่อทดสอบความถูกต้องของโปรแกรม
ที่เขียนควบคุมได้
-    ติดตั้งชุดควบคุมและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ตามที่ระบุในแบบวงจรไฟฟ้า โดย
o    ต่อเชื่อมและทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมกับสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอกได้โดยใช้การต่อสายสัญญาณโดยตรง
o    ต่อเชื่อมและทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างชุดควบคุมกับสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอกได้โดยใช้การสื่อสารแบบดิจิตอลต่าง ๆ เช่น LAN, Profibus
o    เชื่อมต่อจอแบบสัมผัส (Touch screen monitor) กับระบบควบคุม
o    เชื่อมต่อชุดควบคุมแต่ละชุดควบคุมเป็นระบบโครงข่ายด้วยระบบ LAN
ii) สถานที่ทำงาน (work site)
-    ทำความสะอาด บำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงระบบ
5ส และความปลอดภัยในการทำงาน
    iii) สภาวะในการทำงาน (operating conditions)
-    อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการติดตั้งและทดสอบการทำงานของระบบควบคุม ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านโปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบแมคคาทรอนิกส์และโปรแกรมในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องจักรโดยระบบจอแบบสัมผัส

    iv) ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)
-    แบบไฟฟ้าระบบควบคุม
-    แบบวงจรนิวเมติกส์
-    แบบวงจรไฮดรอลิกส์
-    ข้อระบุทางด้านเทคนิคในการติดตั้งระบบควบคุม
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1     เครื่องมือประเมิน หน่วยสมรรถนะเชื่อมต่อระบบควบคุมแมคคาทรอนิกส์กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านโปรแกรมสื่อสาร
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    ประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)
3.    หลักฐานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)
18.2     เครื่องมือประเมิน หน่วยสมรรถนะติดตั้งชุดควบคุมและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ตามที่ระบุในแบบวงจรไฟฟ้า
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    ประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)
3.    หลักฐานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)
 


ยินดีต้อนรับ