หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อ่านและเขียนแบบเพื่อการติดตั้ง

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAC-ASYT-014B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อ่านและเขียนแบบเพื่อการติดตั้ง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างเทคนิคระบบหุ่นยนต์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ อ่านแบบและเขียนแบบไฟฟ้า และอ่านและเขียนแบบทางกลได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03301.01 อ่านและเขียนแบบไฟฟ้า

1.1 อ่านแบบ Schematic diagramได้อย่างถูกต้อง

1.2 ระบุความหมายสัญลักษณ์แบบวงจรไฟฟ้าในระบบควบคุมหุ่นยนต์ได้

1.3 ระบุชนิด/ขนาด ของอุปกรณ์ได้ตรงตามแบบงานไฟฟ้า

1.4 ระบุจุดตรวจสอบงานไฟฟ้าระบบหุ่นยนต์จากแบบวงจรทางไฟฟ้าได้

1.5 เขียนแบบไฟฟ้างานติดตั้งระบบหุ่นยนต์ได้

03301.02 อ่านและเขียนแบบทางกล

1.1 อ่านแบบการประกอบติดตั้ง (Installation) ได้อย่างถูกต้อง

1.2 ระบุความหมายสัญลักษณ์แบบงานทางกลในการติดตั้งหุ่นยนต์ได้

1.3 ระบุจุดตรวจสอบงานระบบทางกลของระบบหุ่นยนต์จากแบบงานทางกลได้

1.4 เขียนแบบงานการติดตั้งระบบทางกลของหุ่นยนต์ได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าตามแบบงานไฟฟ้า
2.    เขียนแบบงานไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งระบบหุ่นยนต์
3.    ระบุจุดตรวจสอบงานไฟฟ้าระบบหุ่นยนต์
4.    ประกอบติดตั้ง (Installation) ชิ้นส่วนระบบทางกลหุ่นยนต์
5.    เขียนแบบงานการติดตั้งชิ้นส่วนระบบหุ่นยนต์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การทำงานของระบบไฟฟ้าหุ่นยนต์
2.    อ้างอิงการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรักษาจากแบบงานไฟฟ้า
3.    การทำงานของระบบทางกลของหุ่นยนต์
4.    อ้างอิงการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงรักษาจากแบบงานทางกล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน
2.    ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3.    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ
4.    ใบรับรองการผ่านงาน
5.    แฟ้มสะสมผลงาน
6.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข.)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน
2.    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม
3.    เอกสารการจัดทำคู่มือ
4.    เอกสารการสอนงาน
5.    หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
(ค.)    คำแนะนำในการประเมิน
    เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการทดสอบการอ่านแบบไฟฟ้าและเขียนแบบไฟฟ้า
(ก.)    คำแนะนำ
1.    ในการเลือกชนิดอุปกรณ์ไฟฟ้าจากแบบงาน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
และพื้นที่การติดตั้ง
2.    การระบุจุดการตรวจสอบงานไฟฟ้าจะต้องมีการอ้างอิงจากแบบงานไฟฟ้ามาเป็นเกณฑ์
ในการตรวจสอบ
3.    เขียนแบบงานไฟฟ้าได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางไฟฟ้า
4.    ประกอบชิ้นส่วนระบบทางกลได้ตรงตามแบบงานและเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสม
(ข.)    คำอธิบายรายละเอียด
     Schematic diagram (“สคีมเมติก ไดอะแกรม”) คือการเขียนวงจรไฟฟ้าด้วยสัญลักษณ์ที่ลากเส้น
ต่อถึงกัน ซึ่งเป็นการเขียนวงจรไฟฟ้าที่นิยมใช้งานเพราะสามารถเขียนวงจรทั้งระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นวงจรเล็ก ๆ จนถึงวงจรขนาดใหญ่ สามารถแสดงความหมายต่าง ๆ ได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการอ่านและเขียนแบบงานไฟฟ้า
1.    การสอบข้อเขียน
2.    สังเกตการณ์จำลองการปฏิบัติงาน
18.2 เครื่องมือประเมินการอ่านและเขียนแบบงานทางกล
1.    การสอบข้อเขียน
2.    สังเกตการณ์จำลองการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ