หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตั้งค่าการทำงานทางโปรแกรมการทำงาน

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAC-UWDA-006B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตั้งค่าการทำงานทางโปรแกรมการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์  อาชีพช่างเทคนิคระบบหุ่นยนต์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การตั้งค่าการทำงานจากโปรแกรม ค่าอุปกรณ์ปลายแขน พื้นที่ทำงาน ตำแหน่งเริ่มต้นเพื่อการทำงานในกระบวนการ ซึ่งเป็นสมรรถนะร่วมที่สำคัญของอาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์และช่างระบบหุ่นยนต์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
01201.01 ตั้งค่าอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์

1.1 ตั้งค่า Tool Coordinate ของหุ่นยนต์ได้

1.2 ตั้งค่า Tool Center Point ของหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง

1.3 ตั้งค่า ตัวแปรการเคลื่อนที่ (Load Inertia) Tool ของหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง

1.4 ตั้งค่า Tool Frame ของ หุ่นยนต์ ด้วยวิธี Teach ได้อย่างถูกต้อง

1.5 ทดสอบ Tool Frame ในโปรแกรมได้

01201.02 ตั้งค่าพื้นที่ทำงานหุ่นยนต์

1.1 ตั้งค่า User Frame ของ หุ่นยนต์ ได้อย่างถูกต้อง

1.2 ตั้งค่า User Frame ของ หุ่นยนต์ ด้วยวิธี Teach ได้อย่างถูกต้อง

1.3 ทดสอบ User Frame ในโปรแกรมได้

1.4 ตั้งค่า Robot Frame ของหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง

1.5 ตรวจสอบค่า Robot Frame ของหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง

1.6 ทดสอบ Robot Frame ในโปรแกรมได้

01201.03 ตั้งค่าตำแหน่งเริ่มต้นทำงานหุ่นยนต์

1.1 อธิบายความหมาย และความสำคัญ ในการตั้งค่า Reference ของหุ่นยนต์ได้

1.2 ตั้งค่า Reference ของ หุ่นยนต์ ด้วยวิธีป้อนค่าได้อย่างถูกต้อง

1.3 ตั้งค่า Reference ของ หุ่นยนต์ ด้วยวิธี Teach ได้อย่างถูกต้อง

1.4 ทดสอบการตั้งค่า Reference และค่าตัวแปรการเคลื่อนที่ด้วยโปรแกรมได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมหุ่นยนต์ (Programming Pendant)
2.    ทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ในทิศทางที่กำหนด
3.    ทักษะการเขียนโปรแกรม
4.    การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านระยะและพิดกัดแกน
2.    ความรู้ด้านการคำสั่งการควบคุมหุ่นยนต์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน
2.    ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3.    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ
4.    ใบรับรองการผ่านงาน
5.    แฟ้มสะสมผลงาน
6.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข.)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน
2.    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม
3.    เอกสารการจัดทำคู่มือ
4.    เอกสารการสอนงาน
5.    หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
(ค.)    คำแนะนำในการประเมิน
    เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหน่วยสมรรถนะย่อย โดยสมรรถนะย่อยแรกเป็นตั้งค่าอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ เป็นการตั้งค่าพิกัดระยะ ค่าการเคลื่อนที่สัมพันธ์กับความเร็ว
ได้อย่างถูกต้อง
และสมรรถนะย่อยที่ 2 คือปรับตั้งตั้งค่าพื้นที่ทำงานหุ่นยนต์ ตั้งค่าพื้นที่ทำงานหุ่นยนต์ เพื่อการกำหนดทิศทาง ระยะ การเคลื่อนที่ ของโปรแกรมหุ่นยนต์
และสมรรถนะย่อยสุดท้ายคือ ตั้งค่าตำแหน่งเริ่มต้นทำงานหุ่นยนต์ เพื่อการกำหนดจุดเริ่มต้นของทิศทาง ระยะทางในโปรแกรมการเคลื่อนที่
(ก.)    คำแนะนำ
    -

(ข.)    คำอธิบายรายละเอียด
        -


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์
    18.2 เครื่องมือประเมิน ปรับตั้งความแม่นยำทางกล
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์
    18.3 เครื่องมือประเมิน ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้า
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ