หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GGIT-546A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้บริหารคลังสินค้าอันตราย


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล และป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101111 ดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล

1. จัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล ตามโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

2. ติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

3. รายงานสรุปผล เสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

101112 ป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ

1. จัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ แหล่งน้ำสาธารณะตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

2. ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

3. รายงานสรุปผล เสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล

  1.1 สามารถจัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด

  1.2 สามารถติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลอย่างถูกต้องตามแผนที่กำหนด

  1.3 สามารถรายงานสรุปผล และเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลตามแผนอย่างถูกต้องตามที่กำหนด

2. ปฏิบัติการป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ

  2.1 สามารถจัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  2.2 สามารถติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  2.3 สามารถรายงานสรุปผล และเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การแก้ไขการรั่วไหล

2. การป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

   3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

   2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

   3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

   4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรบุคคลในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

   การปฏิบัติการการดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล และการป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การดำเนินการแก้ไขการรั่วไหล จะต้องจัดทำแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล สามารถติดตามตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล และรวมถึงรายงานสรุปผล ข้อเสนอแนะวิธีป้องกัน จากการติดตามตรวจสอบแผนการลดความรุนแรงของผลกระทบจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล

   2. การป้องกันการรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ จะต้องจัดทำแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ แหล่งน้ำสาธารณะ สามารถติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ รวมถึงรายงานสรุปผล ข้อเสนอแนะวิธีป้องกันจากการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการป้องกันไม่ให้วัตถุอันตรายที่หกรั่วไหลลงสู่พื้นที่ และแหล่งน้ำสาธารณะ 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบอัตนัย

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบอัตนัย 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

  3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ