หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-UUNU-540A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมคลังสินค้าอันตราย


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล และประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101051 ใช้อุปกรณ์การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล

1. ดำเนินการตามแผนจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

2. ควบคุมการใช้อุปกรณ์จัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

101052 ประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล

1. ประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด

2. รายงานผลกระทบจากการหกรั่วไหล ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉินที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการใช้อุปกรณ์การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล

  1.1 สามารถดำเนินการตามแผนจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและโต้ตอบภาวะฉุกเฉินได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

  1.2 สามารถควบคุมการใช้อุปกรณ์จัดการเมื่อเกิดการรั่วไหลได้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าอันตราย

2. ปฏิบัติการประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล

  2.1 สามารถประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหลได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2.2 สามารถรายงานผลกระทบจากการหกรั่วไหลได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การใช้อุปกรณ์การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล

2. การจัดการการรั่วไหลของสินค้าอันตราย

3. การประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน

   2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

   3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

   4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

   การปฏิบัติดำเนินการตามแผนจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน ควบคุมการใช้อุปกรณ์จัดการเมื่อเกิดการรั่วไหลได้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าอันตราย ประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล และรายงานผลกระทบจากการหกรั่วไหล

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. จัดการใช้อุปกรณ์การจัดการเมื่อเกิดการรั่วไหล จะต้องดำเนินการตามแผนจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหลและโต้ตอบภาวะฉุกเฉินอย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด และควบคุมการใช้อุปกรณ์จัดการเมื่อเกิดการรั่วไหลได้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนด

  2. จัดการประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหล จะต้องประเมินผลกระทบจากการหกรั่วไหลได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งรายงานผลกระทบจากการหกรั่วไหลครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ