หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-OAAG-537A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมคลังสินค้าอันตราย


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

    บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ และดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

9321 คนงานบรรจุผลิตภัณฑ์ด้วยมือ

9329 คนงานด้านการผลิต ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

9333 คนงานขนถ่ายสินค้า

9334 คนงานเติมสินค้าบนระดับวาง



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101021 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

1. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสินค้าตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

2. ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

101022 สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ

1. สำรวจความเรียบร้อยของภาชนะและหีบห่อสินค้าก่อนจัดเก็บตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

2. จัดเตรียมพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ ไว้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

3. จัดทำรายการควบคุมการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

101023 ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

1. เปลี่ยนภาชนะใหม่สินค้าอันตรายใหม่ ได้ดำเนินการตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

2. กำจัดสินค้าอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะใหม่ ได้เหมาะสมตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

3. จัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามของสถานประกอบการที่การกำหนด

101024 ดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

1. จัดทำเครื่องหมายที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตราย ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด

2. เคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

3. จัดการสินค้าอันตรายที่เสียหาย และแจ้งผู้เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด

4. จัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบสินค้าอันตรายที่รับเข้า จ่ายออก ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  1.1 สามารถตรวจสอบสภาพอุปกรณ์จัดเก็บสินค้าให้ใช้งานได้เหมาะสมกับสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด

  1.2 สามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. ปฏิบัติการสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ

  2.1 สามารถสำรวจความเรียบร้อยของภาชนะและหีบห่อสินค้าก่อนจัดเก็บตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2.2 สามารถจัดเตรียมพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

  2.3 สามารถจัดทำรายการควบคุมการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

  3.1 สามารถเปลี่ยนภาชนะใหม่สินค้าอันตรายใหม่ได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

  3.2 สามารถกำจัดสินค้าอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้เหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนด

  3.3 สามารถจัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ได้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด

4. ปฏิบัติการและดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  4.1 สามารถจัดทำเครื่องหมายที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตรายได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนนำเข้าจัดเก็บรักษา

  4.2 สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายดำเนินการได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

  4.3 สามารถจัดการสินค้าอันตรายที่เสียหาย และแจ้งผู้เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

  4.4 สามารถจัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบสินค้าอันตรายที่รับเข้าจ่ายออกได้ถูกต้องครบถ้วน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

2. การสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ

3. การควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

4. การเก็บรักษาสินค้าอันตราย



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) 

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

  2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์ด้านความรู้

  4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการจัดการเก็บรักษาสินค้าอันตราย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

   การปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าอันตราย สำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ ควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ และดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. จัดการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการเก็บรักษาสินค้าวัตถุอันตราย จะต้องจัดทำมาตรการชี้บ่งหรือเครื่องหมายสินค้า สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าได้รับการจัดทำตามประเภทสินค้าและลูกค้าแต่ละราย เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปะปนกับสินค้าของลูกค้ารายอื่น หรือเกิดการปนเปื้อน และรวมถึงกำหนดมาตรการป้องกันภาชนะที่อยู่บนแผ่นรองสินค้าตกเสียหายจากระดับวาง หรือได้รับขีดข่วนภาชนะ

   2. จัดการสำรวจความเรียบร้อยของสินค้าอันตรายก่อนจัดเก็บ จะต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะและหีบห่อสินค้า รวมทั้งกำหนดพื้นที่เฉพาะเพื่อถ่ายบรรจุใหม่ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการกอบกู้ และจัดทำรายงานการตรวจสอบสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะ 

   3. จัดการควบคุมสินค้าอันตรายที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่ จะต้องเปลี่ยนภาชนะบรรจุสินค้าอันตรายที่บรรจุอยู่ในภาชนะ และหีบห่อที่ได้รับความเสียหายก่อนนำไปใช้ และของเสียหรือวัตถุอันตรายที่รั่วไหลจากการเปลี่ยนภาชนะ จะต้องถูกกำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามหลักวิชา รวมทั้งจัดทำรายการตรวจสอบการควบคุมสินค้าอันตรายของสินค้าที่ถูกเปลี่ยนภาชนะใหม่

   4. จัดการดำเนินการเก็บรักษาสินค้าอันตราย จะต้องจัดทำเครื่องหมาย ฉลาก หรือสารสนเทศที่ใช้ชี้บ่งสินค้าอันตราย ก่อนนำเข้าจัดเก็บรักษา หากสินค้าอันตรายที่สูญหายหรือเสียหาย สามารถดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุ และแจ้งลูกค้าทราบ รวมทั้งจัดทำรายงานบันทึกตรวจสอบจำนวนและชนิดสินค้าอันตรายที่รับเข้าหรือจ่ายออกแต่ละครั้งและตลอดทั้งกระบวนการ 

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ