หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-ZWGK-505A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่รับจัดการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า กำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
401161 ติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

1. ประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. จัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

401162 กำหนดแนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

1. วิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

2. จัดการแก้ไขป้องกัน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

3. จัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ 

 1. ปฏิบัติการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   1.1 สามารถประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด

   1.2 สามารถจัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างถูกต้องตามแผนดำเนินการ

2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

  2.1 สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.2 สามารถจัดการแก้ไขปัญหา และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.3 สามารถจัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้าอย่างถูกต้องตามแผนดำเนินการ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

2. การจัดพื้นที่ในการจัดวาง

3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสำเร็จรูป

4. พิธีการทางศุลกากร



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

  3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้าโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การควบคุมการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้า การกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่า

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การติดตามประเมินผลการบริการเพิ่มมูลค่าสินค้าจะต้องประเมินผลการเพิ่มมูลค่าของสินค้า ของที่นำเข้ามาในเขตปลอดอากรเพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องผ่านมาตรฐานของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน (มอก.) และต้องดำเนินพิธีการศุลกากร และชำระค่าภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม และจัดทำรายงานการประเมินผลการเพิ่มมูลค่าสินค้า

   2. การกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาการบริการเพิ่มมูลค่าผู้ปฏิบัติงานจะต้องวิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า จัดการแก้ไขปัญหา เช่น ปรับปรุงในส่วนของกระบวนการรับสินค้า ปรับปรุงโครงสร้างในคลังสินค้า พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร เช่น การจ้ดฝึกอบรม และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดทำ จัดเก็บรายงานการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า 

   3. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

      ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 

 



ยินดีต้อนรับ