หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสินค้าขาเข้าทางบก

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-YLCK-500A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสินค้าขาเข้าทางบก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติงานการกระจายสินค้าระหว่างประเทศทางบก


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการด้านรับสินค้าขาเข้าทางบก และปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
401111 รับสินค้าขาเข้าทางบก

1. ขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกไปยังตำแหน่งพักวางที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ดูแลรักษาถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. บันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด

401112 ปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

1. ตรวจปล่อยสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด(รวมถึงความเสียหายต่างๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ)

2. บันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1. ปฏิบัติการรับสินค้าขาเข้าทางบก

    1.1 สามารถขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกไปยังตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า มีการพักวางและดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    1.2 สามารถบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน และส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  2. ปฏิบัติการปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

    2.1 สามารถตรวจปล่อยสินค้าได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน (รวมถึงความเสียหายต่าง ๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ)

    2.2 สามารถบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน และส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจรับตู้สินค้าและสินค้า

2. การเคลื่อนย้ายตู้สินค้า

3. การจัดเก็บสินค้า

4. การบำรุงรักษาซ่อมแซมตู้สินค้า

5. การตรวจปล่อยตู้สินค้าและสินค้า

6. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

7. พิธีการศุลกากร (พิธีการนำเข้า)



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางบก

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการสินค้าขาเข้าทางบกโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การจัดการสินค้าขาเข้าทางบก ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการรับสินค้าขาเข้าทางบก การปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การรับสินค้าขาเข้าทางบก จะต้องขนย้ายสินค้าจากระวางบรรทุกตรวจสอบสภาพตู้สินค้า ซีล และหมายเลขตู้ และซีล จากต้นทางไปยังตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า มีการพักวางและดูแลรักษา เช่น เคลื่อนย้ายตู้สินค้าพักวางในลานพักตู้ และบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกข้อมูลตู้สินค้าเข้าในท่าหรือสถานีขนถ่ายสินค้าในเอกสาร Equipment interchange receipt หรือ EIR

   2. การปล่อยสินค้าขาเข้าทางบก จะต้องตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงความเสียหายต่าง ๆ และระยะเวลาที่จัดเก็บ) และบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการปล่อยสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น Tally sheet, Survey note, Cargo Slip หรือ Slip ตรวจปล่อย, ใบรับของ Delivery order (D/O), Invoice, Transit entry 

   3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยวิธีการสัมภาษณ์

   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ