หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XUDQ-380A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกอ้อย
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการควบคุมกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย และการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย
          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปรับปรุงการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย โดยกำหนดเป้าหมาย และตรวจสอบการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยทั้งคุณภาพและปริมาณ สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย โดยประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนาการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานและทักษะในการควบคุมงาน สามารถกำกับดูแลควบคุมกระบวนการทำงานและปรับปรุงคุณภาพผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการสำคัญในงานอาชีพและมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)
 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B621 ควบคุมกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย

1.1 กำหนดเป้าหมายคุณภาพการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย

1.2 ตรวจสอบคุณภาพการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยให้เป็นไปตามเป้าหมาย

1.3 กำหนดเป้าหมายปริมาณการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย

1.4 ตรวจสอบปริมาณการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยให้เป็นไปตามเป้าหมาย

B622 ปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย

2.1 ประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนา การผลิตหรือบริการปลูกอ้อย

2.2 ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การประสานการทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมและปรับปรุงกระบวนการปลูกอ้อย
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การปลูกอ้อยอย่างมีคุณภาพ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

               ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) ที่ใช้สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

               ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

               1. การควบคุมกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย คือการกำหนดเป้าหมายคุณภาพและปริมาณการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย และมีการตรวจสอบให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
               2. การปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือบริการปลูกอ้อย คือการนำข้อมูลมาประเมินเพื่อพัฒนาการผลิตหรือบริการ แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือบริการปลูกอ้อยต่อไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
          2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
          3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ