หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบการผลิตหรือบริการในการปลูกอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BYCT-373A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบการผลิตหรือบริการในการปลูกอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปลูกอ้อย


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบการผลิตหรือบริการในการปลูกอ้อย ซึ่งประกอบด้วยการประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย การเลือกเครื่องมือปลูกอ้อย และการแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย
          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการระบบการผลิตหรือบริการในการปลูกอ้อย สามารถประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย เลือกวิธีการปลูกอ้อย และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย สามารถเลือกเครื่องมือปลูกอ้อย โดยสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกอ้อย และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย โดยใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา และแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)
 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B521 ประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย

1.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย

1.2 เลือกวิธีการปลูกอ้อย

1.3 ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย

B522 เลือกเครื่องมือปลูกอ้อย

2.1 สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกอ้อย

2.2 เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย

B523 แก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย

3.1 ใช้หลักการในการตรวจสอบปัญหา

3.2 แก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. ทักษะการแก้ปัญหา
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิควิธีการปลูกอ้อย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานปลูกอ้อย
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (RequiredSkills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

               ผลประเมินจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค (Technical Interview) ที่ใช้สังเกตความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

               ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

               ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

               1. การประยุกต์เทคนิควิธีการปลูกอ้อย คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อตัดสินใจในการปลูกอ้อย โดยผ่านทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อเลือกวิธีการและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย
               2. การเลือกเครื่องมือปลูกอ้อย คือการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกอ้อย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาและตัดสินใจเลือกเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม
               3. การแก้ปัญหาทางเทคนิคในการปลูกอ้อย คือการใช้หลักการหรือองค์ความรู้ในการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการปลูกอ้อย และการแก้ปัญหาโดยใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
          2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
          3. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ