หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-TBMU-369A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          สาขาเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้เก็บเกี่ยวอ้อย


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย
          ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเตรียมการเก็บเกี่ยวอ้อย สามารถสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อยและสำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยว สามารถวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย โดยกำหนดแผนการเก็บเกี่ยวและแผนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มีทักษะทางเทคนิคในการทำงาน สามารถเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และแก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือหรือภายใต้การแนะนำมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

          รหัสอาชีพ 6111 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก (ISCO, 2008)
 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B411 สำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อย

1.2 สำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อย

B412 วางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย

2.1 กำหนดแผนการเก็บเกี่ยวอ้อย

2.2 กำหนดแผนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การวางแผน
2. การรวบรวมข้อมูลและสำรวจพื้นที่
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กระบวนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพ
2. ระบบการส่งผลผลิตอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (RequiredSkills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

               หลักฐานที่แสดงประสบการณ์การปฏิบัติงานจากหนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

               ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน หรือหลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองการอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือ หลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

               เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน ใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบจะได้รับคะแนนเพิ่มในสมรรถนะนั้น 30%


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

               ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

               1. การสำรวจข้อมูลการเก็บเกี่ยวอ้อย คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวอ้อยและสำรวจพื้นที่เก็บเกี่ยว เพื่อทราบข้อมูลการเข้าเก็บเกี่ยว เช่น สภาพพื้นที่ ความชื้นในดินพื้นที่หัวแปลง ระยะแถวปลูก มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุเก็บเกี่ยวของอ้อยพันธุ์
หนักพันธุ์เบา ความชื้นที่เหมาะสม พันธุ์อ้อย ลำดับการตัดอ้อย เพื่อนำมากำหนดแผนการเก็บเกี่ยวให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพสูง
               2. การวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อย คือการกำหนดแผนการเก็บเกี่ยวอ้อยและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจตัดอ้อยทั้งลำหรือตัดอ้อยเป็นท่อน ขึ้นอยู่กับวิธีการและเครื่องมือเก็บเกี่ยว หากตัดเป็นลำต้องใช้เครื่องมืออื่นหรือแรงงานเข้ามาช่วยขนขึ้นรถบรรทุก เพื่อขนถ่ายออกจากไร่ เนื่องจากช่วงเวลาหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยมีระยะจำกัด โดยเฉพาะอ้อยที่ตัดส่งโรงงานน้ำตาลหลังจากตัดอ้อยต้องส่งเข้าโรงงานน้ำตาลภายในเวลาที่กำหนด ต้องวางแผนเก็บเกี่ยวอ้อยให้สัมพันธ์กับลำดับการตัดอ้อยที่ได้รับจากทางโรงงาน เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย เนื่องจากการตัดอ้อยค้างไว้เป็นเวลานาน จึงต้องเตรียมทั้งเครื่องมือเครื่องจักร แรงงาน และพาหนะขนส่งให้พร้อม การเก็บเกี่ยวอ้อยให้มีคุณภาพยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นอีกหลายด้าน เช่นพันธุ์อ้อย อายุของอ้อย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
          2. หลักฐานจากใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สามารถใช้เป็นหลักฐานการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ ส่วนหลักฐานอื่น ๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรม ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากรบรรยาย การจัดทำรายงานผลการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความ ที่เชื่อถือได้ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
          3. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ