หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-QLGT-320A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่และเกษตรกร ประกอบด้วย การส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้วอย่างกว้างขวาง
และประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริม
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวางแผนการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร ดำเนินงานตามแผนการส่งเสริม ประเมิน สรุป และรายงานผลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

          นักส่งเสริมการเกษตร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B431 ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ผลการทดสอบที่สำเร็จแล้ว

1. สนับสนุนเกษตรกรที่ร่วมทำแปลงทดสอบจนสำเร็จให้จัดทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบ

2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของวิทยากรเกษตรกร

3. ขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกรผู้ประยุกต์ใช้ผลการทดสอบ

4. ให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการ

B432 ประเมินและสรุปรายงานผลการดำเนินงานส่งเสริม

1. ประเมินและสรุปผลการส่งเสริมการประยุกต์ใช้

2. รายงานผลการส่งเสริม


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการใช้แนวทางการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม

(ก2) ทักษะการจัดทำแปลงเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล

(ก3) ทักษะการฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรเกษตรกร

(ก4) ทักษะการนิเทศในงานส่งเสริม

(ก5) ทักษะการประเมินผลการส่งเสริม

(ก6) ทักษะการเขียนรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมหรือแบบเกษตรกรสู่เกษตรกร

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับหลักและเทคนิคการจัดทำแปลงเรียนรู้

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรเกษตรกร

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศในงานส่งเสริม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการ สมควรใช้หลักฐาน (ก) และ (ข) ประกอบกัน

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

(ก1) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานวิจัยทดสอบในไร่นาแบบมีส่วนร่วม จากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ

(ก2) เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานติดตามและประเมินผลโครงการ

(ก3) ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว         

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

(ข1) ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการติดตามและประเมินผล

(ข2) ผลการสอบจากแบบสอบข้อเขียน         

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

- สอบข้อเขียน                                                      

- การสัมภาษณ์

- ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          (ก1) ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดเลือกใช้รูปแบบ วิธีการและเครื่องมือในการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผลการสำรวจและประเมินชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย

          (ก2) ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลการดำเนินงานส่งเสริมได้อย่างชัดเจน ตรงตามความเป็นจริง โดยไม่มีอคติ

          (ก3) ผู้เข้ารับการประเมินอธิบายผลสรุปจากการดำเนินงานส่งเสริมได้อย่างชัดเจน และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

(ข1) การส่งเสริมการเกษตร (Agricultural Extension)

                              การส่งเสริมการเกษตร (Agricultural Extension) หมายถึง กระบวนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติได้ไปสู่เกษตรกร และช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้จนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี ทำให้มีศักยภาพในการคิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหา สามารถประกอบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ กับทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาของครัวเรือน และของชุมชนให้ดีขึ้น ด้วยการพึ่งตนเองและพึ่งพากันและกัน

(ข2) การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Agricultural Extension)

                              การส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Agricultural Extension) เป็นแนวทางการส่งเสริมแบบหนึ่งที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการส่งเสริมแบบเกษตรกรสู่เกษตรกร (Farmer to farmer extension Approach) หมายถึง การส่งเสริมที่เกษตรกรมีบทบาทในการส่งเสริมเผยแพร่แก่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน โดยได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางวิชาการจากนักส่งเสริมการเกษตร และนักวิชาการเกษตรในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา และพัฒนาการประกอบการเกษตรของครัวเรือนให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บนพื้นฐานแนวคิดของการพึ่งตนเอง

(ข3) วิทยากรเกษตรกร (Farmer Trainer)

                              วิทยากรเกษตรกร (Farmer Trainer) หมายถึง เกษตรกรที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมเผยแพร่แก่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน ในเรื่องใดโดยเฉพาะหรือหลายเรื่องประกอบกันของการประกอบการเกษตร ทำให้เพื่อนเกษตรกรเข้าใจและยอมรับในเรื่องที่นำไปส่งเสริมเผยแพร่หรือถ่ายทอดนั้น

(ข4) แปลงเรียนรู้ต้นแบบ

                              แปลงเรียนรู้ต้นแบบ หมายถึง แปลงเกษตรที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างแสดงสิ่งที่ได้ทดสอบแล้วว่าเหมาะสมแก่ชุมชนท้องถิ่นแก่เกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อเรียนรู้การทำการเกษตรในเรื่องที่แสดงเป็นขั้นตอนไปจนจบสิ้นกระบวนการ และแสดงผลที่เกิดขึ้น โดยผู้ทำแปลงทดสอบเป็นเกษตรกรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่แสดง อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม เป็นการลงมือทำจริงตามแผนการผลิตร่วมกับแผนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สนใจเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่ทำและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

(ข5) การขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกร

                              การขยายพื้นที่และจำนวนเกษตรกรเป็นการส่งเสริมเพื่อขยายผลการทดสอบในไร่นาที่สำเร็จแล้วไปสู่ชุมชน โดยเริ่มจากชุมชนที่ใช้เป็นสถานที่ทดสอบนั้น ไปสู่ชุมชนโดยรอบ และชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ พื้นที่ที่จะส่งเสริมควรมีลักษณะทางระบบนิเวศน์การเกษตรเช่นเดียวกับพื้นที่ที่ทดสอบจึงจะลดความเสี่ยงของเกษตรกร และเพิ่มโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการประยุกต์ใช้สิ่งที่นำไปส่งเสริมเผยแพร่ได้ ในสภาพความเป็นจริงของชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร

(ข6) สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการ

                              สนับสนุนทางวิชาการและการจัดการหมายถึง การสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำของนักส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบ และเกษตรกรที่สนใจเรียนรู้การประยุกต์ใช้สิ่งที่แสดงในแปลงเรียนรู้ต้นแบบนั้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในความรู้ที่ได้รับ และมั่นใจในการนำไปประยุกต์ใช้ในที่ทำกินของตน

(ข7) ประเมินและสรุปผลการส่งเสริม

                              ประเมินและสรุปผลการส่งเสริม หมายถึง การประเมินการส่งเสริมอย่างเป็นระบบโดยใช้ทฤษฎีและแนวคิดการวิจัยประเมินผล วิธีการและเครื่องมือในการประเมิน ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของศาสตร์การเกษตรสาขาที่เกี่ยวข้องและศาสตร์การวิจัย ทำให้ได้ผลการประเมินตรงตามวัตถุประสงค์ ได้รับการเชื่อถือและยอมรับจากประชาคมวิจัยทางการส่งเสริมการเกษตร

(ข8) รายงานผลการส่งเสริม

                              รายงานผลการส่งเสริม หมายถึง การจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางการเกษตร ที่ผ่านการทดสอบสำเร็จแล้วไปยังเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ โดยจัดทำรายงานในรูปแบบทางวิชาการและทางการส่งเสริมเผยแพร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

18.2 การสัมภาษณ์ตามหน่วยสมรรถนะ

18.3 พิจารณาหลักฐานจากผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว


ยินดีต้อนรับ