หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-BOFE-305A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

611 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวนและพืชไร่เพื่อการค้าขาย

612 ผู้เลี้ยงสัตว์

613 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์      

622 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงล่าสัตว์และวางกับดักสัตว์ต่าง ๆ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน แผนการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่นำไปใช้เหมาะสมกับพื้นที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุดคำนึงถึงหลักการวิเคราะห์สถานการณ์ระบบทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี และสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม สาขาเกษตรกรปราดเปรื่อง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C511 วางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลและเนื้อหาที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

2. ประเมินสถานภาพปัจจุบันของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. การวิเคราะห์ความต้องการในการกำหนดรูปแบบการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. วางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการ

C512 เลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1. ดำเนินการจัดทำแผนการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ได้จริงและเหมาะสมกับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

2. เลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับพื้นที่

C513 รักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1. กำหนดแนวทางในการรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง

2. ดำเนินกิจกรรมการรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา/รักษาสิ่งแวดล้อม

3. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

C514 สร้างความมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1. กำหนดแนวทางสร้างความมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ

2. ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับพื้นที่

3. ประเมินผลการดำเนินการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการสืบค้นความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

(ก2) ทักษะการจำแนกข้อมูล

(ก3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ก4) ทักษะการพยากรณ์ข้อมูล

(ก5) ทักษะการวางแผน 

(ก6) ทักษะการสื่อสาร

(ก7) ทักษะการสร้างแรงจูงใจการสืบสานการปฏิบัติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) การวิเคราะห์ข้อมูล

(ข2) สถานการณ์ด้านทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม  

(ข3) หลักการวางแผน

(ข4) การประเมินผลโครงการ

(ข5) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) แผนการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

          (ก2) แบบฟอร์มการเลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

          (ก3) ภาพกิจกรรมการดำเนินการรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

          (ก4) ภาพกิจกรรมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) สามารถอธิบายแผน/แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมได้

          (ข2) รายงานผลการเลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          - การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

          - การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การสัมภาษณ์ การประเมินทักษะการปฏิบัติงานจะควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องสามารถศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ระบบทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้แผนงานในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้      

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          - การเลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเป็นการดำเนินการจัดทำแผนการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบเพื่อสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงและเหมาะสมกับพื้นที่

          - การรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการดำเนินการหรือวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมดำรงอยู่มีเพิ่มขึ้นหรือไม่ถูกทำลายจนเกินขอบเขตโดยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่การป้องกันการรักษาหรือการแก้ไข

          - การสร้างความมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินกิจกรรมการสร้างความมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยผ่านการคิดวิเคราะห์ มีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมรวมถึงสามารถนำแนวทางที่ร่วมคิดไปปรับใช้ได้จริง โดยแนวทางการมีส่วนร่วมที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องใช้ให้น้อยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนานและก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดรวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึงและการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือในการประเมินการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2) การสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือในการประเมินการเลือกใช้ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2) การสอบสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือในการประเมินการรักษาทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2) การสอบสัมภาษณ์

3) พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

18.4 เครื่องมือในการประเมินการสร้างความมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

1) แบบสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2) การสอบสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ