หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PGKI-485A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
อาชีพผู้ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับวางแผนและจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเล จัดหาและควบคุมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเล จัดหาและควบคุมตัวแทนออกของรับอนุญาตทางทะเล จัดหาและควบคุมผู้ให้บริการคลังสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศทางทะเล จัดหาและควบคุมผู้ให้บริการจัดการบรรจุสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศทางทะเล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
04631 วิเคราะห์ปัจจัยทางอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1 รวบรวมปัจจัยมีผลต่ออุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากแหล่งข้อมูล

2 ปัจจัยทางอุตสาหกรรมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้วางแผนธุรกิจ

04632 จัดทำแผนการธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1. ทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยการกำหนดและวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

2. จัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าด้านรูปแบบและเส้นทางการขนส่งสินค้านำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. จัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อเตรียมนำเสนอลูกค้าเป้าหมาย

04633 ทบทวนและปรับปรุงแผนการธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1. ทบทวนแผนงานและการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

2. ปรับปรุงแก้ไขแผนการตลาดบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวิเคราะห์ปัจจัยทางอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  1.1 สามารถรวบรวมปัจจัยมีผลต่ออุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากแหล่งข้อมูล

  1.2 สามารถปัจจัยทางอุตสาหกรรมขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมีการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้วางแผนธุรกิจ

2. ปฏิบัติการด้านการจัดทำแผนการธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  2.1 สามารถทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยการกำหนดและวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.2 สามารถจัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าด้านรูปแบบและเส้นทางการขนส่งสินค้านำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2.3 สามารถจัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องครบถ้วนเพื่อเตรียมนำเสนอลูกค้าเป้าหมาย

3. ปฏิบัติการด้านการทบทวนและปรับปรุงแผนการธุรกิจการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  3.1 สามารถทบทวนแผนงานและการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  3.2 สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนการตลาดบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1. กระบวนการจัดทำเอกสารสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  2. กระบวนการจัดบันทึกข้อมูลที่ใช้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบคอมพิวเตอร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
   1. รายงานการติดตามการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
   1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
   2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
   ประเมินเกี่ยวกับการจัดหาและควบคุมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
(ง) วิธีการประเมิน
   1. พิจารณาหลักฐานความรู้
   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรวบรวมปัจจัยมีผลต่ออุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เช่น ศักยภาพของคณะผู้บริหาร แนวทางการตลาดและการบริหารการผลิต คู่แข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งในบางครั้งอาจต้องมองไปถึงความเสี่ยงระดับประเทศที่อาจมีผลต่อกิจการได้ และอาจต้องทำแผนสำรองสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย เช่น เงินทุนสำรองยามฉุกเฉิน พนักงานทดแทน ทรัพยากรสำรองฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้วางแผนธุรกิจ

    2. ทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยการกำหนดและวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมาย เช่น ลูกค้าเป็นใครหรือใครคือลูกค้า ลูกค้าต้องการซื้ออะไร ทำไมลูกค้าถึงซื้อ หลังจากนั้นนำมาจัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าด้านรูปแบบและเส้นทางการขนส่งสินค้า จัดทำแผนธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

    3. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทบทวนแผนงานและการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เนื่องจากบริบทต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน หลังจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขแผนการตลาดบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

    4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วน” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

    5. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
1. เครื่องมือการประเมิน
 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย
 2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ
 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
2. เครื่องมือการประเมิน
 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย
 2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ
 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
3. เครื่องมือการประเมิน
 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย
 2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ
 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 
 

ยินดีต้อนรับ