หน่วยสมรรถนะ
วิเคราะห์อุตสาหกรรมการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-BZVN-484A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วิเคราะห์อุตสาหกรรมการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กำหนดทิศทางและประเมินศักยภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กำหนดกลยุทธ์การให้บริการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
|
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า
|
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
04621 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
1. วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อจัดทำรายงานข้อมูลสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนำเสนอให้ผู้บริหารระดับกลางใช้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากรายงานข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศไทยและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้อง 4. วิเคราะห์อุปสงค์ อุปทาน ทิศทางและแนวโน้มบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง 5. วิเคราะห์รูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่ง ร่วมกับผู้รับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 6. กำหนดรูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตรงตามเป้าหมายการบริการ |
04622 กำหนดทิศทางและประเมินศักยภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
1. วิเคราะห์รายงานข้อมูลอุตสาหกรรมและการแข่งขันของธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศประกอบการกำหนดทิศทางการให้บริการ อย่างมีประสิทธิภาพ 2. วิเคราะห์และประเมินศักยภาพการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. จัดทำรายงานการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อใช้กำหนดทิศทางการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ |
04623 กำหนดกลยุทธ์การให้บริการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
1. กำหนดกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบและการแก้ไขความเสียเปรียบทางการแข่งขันขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 2. กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพตามความสามารถในการให้บริการขององค์กร 3. จัดทำแผนกลยุทธ์การแข่งขัน ทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขันอย่างถูกต้อง |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ
|
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 1.1 สามารถวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อจัดทำรายงานข้อมูลสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนำเสนอให้ผู้บริหารระดับกลางใช้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 สามารถเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากรายงานข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 สามารถวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้อง 1.4 สามารถวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทาน ทิศทางและแนวโน้มบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง 1.5 สามารถวิเคราะห์รูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่ง ร่วมกับผู้รับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1.6 สามารถกำหนดรูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตรงตามเป้าหมายการบริการ 2. ปฏิบัติการด้านการกำหนดทิศทางและประเมินศักยภาพการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2.1 สามารถวิเคราะห์รายงานข้อมูลอุตสาหกรรมและการแข่งขันของธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประกอบการกำหนดทิศทางการให้บริการ อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 สามารถวิเคราะห์และประเมินศักยภาพการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2.3 สามารถจัดทำรายงานการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อใช้กำหนดทิศทางการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ปฏิบัติการด้านการกำหนดกลยุทธ์การให้บริการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 3.1 สามารถกำหนดกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบ และการแก้ไขความเสียเปรียบทางการแข่งขันขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพตามความสามารถในการให้บริการขององค์กร 3.3 สามารถจัดทำแผนกลยุทธ์การแข่งขัน ทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขันอย่างถูกต้อง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. กระบวนการจัดทำเอกสารสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2. กระบวนการจัดบันทึกข้อมูลที่ใช้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบคอมพิวเตอร์ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. รายงานการติดตามการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการจัดหาและควบคุมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อจัดทำรายงานข้อมูลสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนำเสนอให้ผู้บริหารระดับกลางใช้ประกอบการ เช่น ประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ องพยายามเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของสภาพแวดล้อมดังกล่าว เป็นไปในลักษณะที่เป็นโอกาส (Opportunities) หรือ อุปสรรค (Threats) ในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ด้านอุปสงค์ อุปทาน ทิศทางและแนวโน้มบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจากข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้า วิเคราะห์รูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่ง ร่วมกับผู้รับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และกำหนดรูปแบบการขนส่ง และเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตรงตามเป้าหมายการบริการ 2. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องวิเคราะห์รายงานข้อมูลอุตสาหกรรมและการแข่งขันของธุรกิจบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประกอบการกำหนดทิศทางการให้บริการ เช่น วามได้เปรียบจากตัวผลิตภัณฑ์ การได้เปรียบจากการเข้าตลาดก่อน ความได้เปรียบจากการที่คู่แข่งขันอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตลอดจนเงื่อนไขอื่นๆ ของอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนการบริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อใช้กำหนดทิศทางการให้บริการ 3. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องกำหนดกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบ และการแก้ไขความเสียเปรียบทางการแข่งขันขององค์กรอ เช่น ความได้เปรียบและเหนือกว่าในการแข่งขัน ไม่ว่าจากการบริการ หรือการเข้าสู่ตลาดขนส่งระหว่างประเทศก่อนคู่แข่งขัน หรือ คู่แข่งขันอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตลอดจนเงื่อนไขอื่น ๆ หลังจากนั้นนำมกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขันตามความสามารถในการให้บริการขององค์กร โดยการ จัดทำแผนกลยุทธ์การแข่งขัน ทิศทาง เป้าหมาย และตำแหน่งการแข่งขัน 4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วน” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน 5. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ
|
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน
1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย
2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 3. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา-การพัฒนาธุรกิจ 3. แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |