หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-HRBE-465A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1 3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประสานงานการบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ และประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

3331 ตัวแทนพิธีการศุลกากรและตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
04131 ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าทั่วไป

1. บรรจุสินค้าอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2.เลือกใช้วิธีการบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

3.บรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายของประเทศไทยกำหนดไว้

4. จัดวางบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

5.เลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

6.จัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามตารางเวลาที่กำหนด

04132 ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์

1. บรรจุสินค้าอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2. เลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์อย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

3. ใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องเหมาะสมกับประเภทสินค้า

4. บรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนดไว้

5. จัดวางบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

6. จัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามกำหนดเวลา

04133 ประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษ

1. บรรจุสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2.เลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

3. ใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

4. บรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนดไว้

5.จัดวางบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

6. จัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามกำหนดเวลา


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการด้านการประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าทั่วไป 

  1.1 สามารถบรรจุสินค้าอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  1.2 สามารถเลือกใช้วิธีการบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

  1.3 สามารถบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายของประเทศไทยกำหนดไว้

  1.4 สามารถจัดวางบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

  1.5 สามารถเลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

  1.6 สามารถจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามตารางเวลาที่กำหนด

2. ปฏิบัติการด้านการประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์

  2.1 สามารถบรรจุสินค้าอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  2.2 สามารถเลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์อย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

  2.3 สามารถใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องเหมาะสมกับประเภทสินค้า

  2.4 สามารถบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนดไว้

  2.5 สามารถจัดวางบรรทุกสินค้าอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

  2.6 สามารถจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามกำหนดเวลา

3. ปฏิบัติการด้านการประสานงานการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษ

  3.1 สามารถบรรจุสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

  3.2 สามารถเลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตรงกับประเภทของสินค้า

  3.3 สามารถใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  3.4 สามารถบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนดไว้

  3.5 สามารถจัดวางบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องปลอดภัยในการขนส่ง

  3.6 สามารถจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามกำหนดเวลา


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กระบวนการจัดทำเอกสารสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

2. กระบวนการจัดบันทึกข้อมูลที่ใช้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในระบบคอมพิวเตอร์



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. รายงานการติดตามการบริการของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการจัดหาและควบคุมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องประสานการบรรจุสินค้าตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบ เช่น ใส่วัสดุกันกระแทกที่ก้นกล่อง ห่อสินค้าด้วยถุงพลาสติก นำสินค้าที่ห่อหุ้มแล้วลงกล่อง ปิดกล่อง เลือกใช้วิธีการบรรทุกสินค้าเช่น กล่องกระดาษ ลังไม้ ห่อพลาสติก บรรทุกสินค้าตามที่กฎหมายของประเทศไทยกำหนด จัดวางบรรทุกสินค้า เช่น สินค้าน้ำหนักมากอยู่ข้างล่าง สินค้าน้ำหนักเบาอยู่ข้างบน เลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้ากับประเภทของสินค้า เช่น รถพ่วง รถตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุก เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้า

   2. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องประสานงานการบรรจุสินค้าโดยเลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนสินค้าแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เช่น ใส่วัสดุกันกระแทกที่ก้นกล่อง ห่อสินค้าด้วยถุงพลาสติก นำสินค้าที่ห่อหุ้มแล้วลงกล่อง ปิดกล่อง ใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้า บรรทุกสินค้าตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนด เช่น สินค้าน้ำหนักมากอยู่ข้างล่าง สินค้าน้ำหนักเบาอยู่ข้างบน เลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้ากับประเภทของสินค้า เช่น รถพ่วง รถตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุก เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้า

   3. ผู้ปฏิบัติงานจะต้องบรรจุสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและกฎระเบียบ เช่น สารที่มีความเป็นอันตรายมาก ต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด โดยเลือกใช้วิธีการบรรทุกและขนส่งสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่คงรูป หรือยืดหยุ่นสามารถเคลื่อนย้ายได้ บรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยบรรจุภัณฑ์ภายนอก ซึ่งบรรจุสิ่งของ หรือบรรจุภัณฑ์ภายใน และโดยที่ ได้ออกแบบสำหรับขนถ่ายด้วยเครื่องจักร- มีมวลสุทธิเกิน 400 กิโลกรัม หรือมีความจุเกิน 450 ลิตร แต่มีปริมาณไม่เกิน 3 ลูกบาศก์เมตร ใช้เครื่องมือบรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษ บรรทุกสินค้าอันตรายและสินค้าพิเศษอย่างถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศกำหนด เช่น ต้องมีใบกำกับการขนส่ง ติดฉลาดไว้ในบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นสินค้าอันตราย หรือสินค้าพิเศษ จัดวางสินค้า เช่น สินค้าน้ำหนักมากอยู่ข้างล่าง สินค้าน้ำหนักเบาอยู่ข้างบน เลือกใช้วิธีการขนส่งสินค้ากับประเภทของสินค้า เช่น รถพ่วง รถตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุก เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรือ สนามบิน หรือจุดรับสินค้า

   4. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วน” หมายถึง ความถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

   5. คำว่า “อย่างมีประสิทธิภาพ” หมายถึง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. สังเกตพฤติกรรม

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. สังเกตพฤติกรรม

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

  2. แบบประเมินการสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

  3. สังเกตพฤติกรรม

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ