หน่วยสมรรถนะ
ควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-JEJY-449A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้บริหารสินค้าคงคลัง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าคงคลังโดยการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าคงคลัง ควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นปัจจุบันโดยการบันทึกทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดตามช่วงเวลาที่กำหนด จำแนกสินค้าคงคลังตามความสำคัญของสินค้า และตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
1321 ผู้จัดการด้านการผลิต 1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
520081 ควบคุมสินค้าคงคลังโดยการตรวจสอบสภาพและปริมาณของสินค้าคงคลัง |
1.ตรวจสอบสภาพของสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ตรวจสอบปริมาณของสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง ครบถ้วน 3. รายงานการตรวจสอบสภาพและปริมาณของสินค้า ได้อย่างถูกต้อง |
520082 ควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นปัจจุบันโดยการบันทึกทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า |
1.กำกับดูแลขั้นตอนการควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นปัจจุบันโดยการบันทึกทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน 2. ตรวจสอบข้อมูลบันทึกการรับและจ่ายสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน |
520083 ควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดตามช่วงเวลาที่กำหนด |
1.กำกับดูแลขั้นตอนการควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน 2. ตรวจสอบข้อมูลบันทึกการรับและจ่ายสินค้ามีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน 3.จัดทำรายงานผลการควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดโดยวิธีการลงบันทึกตามช่วงเวลาที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง |
520084 จำแนกสินค้าคงคลังตามความสำคัญของสินค้า |
1.จัดกลุ่มประเภทสินค้าคงคลังตามเกณฑ์การแบ่งประเภทสินค้าคงคลังระบบ ABC ได้อย่างถูกต้อง 2. ดำเนินการแบ่งประเภทสินค้าคงคลังตามระบบของ ABC ได้อย่างถูกต้อง 3. จัดทำรายงานการจำแนกความสำคัญของสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง |
520085 ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง |
1. ตรวจสอบข้อมูลบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลังมีอย่างถูกต้องแม่นยำ และเที่ยงตรง 2. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าคงคลังโดยการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าคงคลัง 1.1 สามารถตรวจสอบคุณภาพของสินค้าคงคลัง 1.2 สามารถตรวจสอบปริมาณของสินค้าคงคลัง 1.3 สามารถรายงานการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้า 2. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องโดยวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า 2.1 สามารถกำกับดูแลขั้นตอนการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องโดยวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า 2.2 สามารถตรวจสอบข้อมูลบัญชีการรับและจ่ายสินค้า 2.3 สามารถจัดทำรายงานผลข้อมูลการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องโดยวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า 3. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดโดยวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนด 3.1 สามารถกำกับดูแลขั้นตอนการควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดโดยวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ 3.2 สามารถตรวจสอบข้อมูลบัญชีการรับและจ่ายสินค้า 3.3 สามารถจัดทำรายงานผลการควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดโดยวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนด 4. ปฏิบัติการจำแนกสินค้าคงคลังตามความสำคัญของสินค้า 4.1 สามารถวิเคราะห์จำนวนหน่วยของสินค้าประจำปี ของจำนวนสินค้าคงคลัง 4.2 สามารถกำหนดมูลค่าของสินค้าในแต่ละรายการตามจำนวนมูลค่าความต้องการของสินค้าคงคลัง 4.3 สามารถจำแนกมูลค่าสินค้าด้วยวิธีต่าง ๆ 4.4 สามารถจัดทำรายงานการจำแนกความสำคัญของสินค้าคงคลัง 5. ปฏิบัติการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง 5.1 สามารถจัดทำเอกสารการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง 5.2 สามารถตรวจสอบข้อมูลบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง 5.3 สามารถจัดทำรายงานผลการตรวจสอบบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การควบคุมสินค้าคงคลัง 2. การตรวจสอบสินค้าคงคลัง 3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ 4. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 5. การจัดทำบัญชีเบื้องต้น 6. การจัดทำบัญชีสินค้าคงคลัง 7. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า 8. การวิเคราะห์จำนวนสินค้าแบบเอบีซี (ABC Analysis) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. ควบคุมสินค้าคงคลังโดยการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าคงคลัง หมายถึงการตรวจสอบสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าโดยตรวจสอบความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ การหมดอายุของสินค้า รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากการจัดเก็บชิ้นงาน โดยใช้ตรวจนับสินค้าที่อยู่ในคลังเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า 2. ควบคุมสินค้าคงคลังให้เป็นปัจจุบัน โดยวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายสินค้า เป็นการควบคุมดูแล ระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทำให้บัญชีคุมยอดแสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมสินค้าคงคลังรายการที่สำคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้ แต่ระบบนี้เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายด้านงานเอกสารค่อนข้างสูง และต้องใช้พนักงานจำนวนมากจึงดูแลการรับจ่ายได้ทั่วถึง ในปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในข้อนี้ โดยการใช้รหัสแห่ง (Bar Code) หรือรหัสสากลสำหรับผลิตภัณฑ์ (EAN13) ติดบนสินค้าแล้วใช้เครื่องอ่านรหัสแห่ง(Laser Scan) ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะมีความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลของการบริหารสินค้าคงคลังในซัพพลายเชนของสินค้าได้อีกด้วย 3. ควบคุมสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดโดยวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่นตรวจนับและลงบัญชีทุกปลายสัปดาห์หรือปลายเดือน เมื่อของถูกเบิกไปก็จะมีการสั่งซื้อเข้ามาเติมให้เต็มระดับที่ตั้งไว้ ระบบนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ร้านขายหนังสือของซีเอ็ดจะมีการสำรวจยอดหนังสือในแต่ละวัน และสรุปยอดตอนสิ้นเดือน เพื่อดูปริมาณหนังสือคงค้างในร้านและคลังสินค้า ยอดหนังสือที่ต้องเตรียมจัดส่งให้แก่ร้านตามที่ต้องการสั่งซื้อ 4. จำแนกสินค้าคงคลังตามความสำคัญของสินค้า หมายถึง การจัดแบ่งประเภทของสินค้าคงคลัง (Classification) โดยแบ่งออกตามมูลค่า (Value) ของสินค้าชนิดนั้น ๆ จำแนกระดับชั้น ABC (Activity Based Costing) จัดการในแต่ละชั้นได้ แบบ A ควบคุมอย่างเข้มงวดมาก การควบคุมจึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บ ของไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้าและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้ แบบ B ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า (เช่น ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A และ แบบ C ไม่มีการจดบันทึกหรือมีก็เพียงเล็กน้อย สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวก เนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมากจะเห็นได้ว่าการนำ ABC เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากในการนำมาใช้บริหารจัดการคลังสินค้า นั้น เพราะช่วยทำให้มองเห็นถึงต้นทุนที่เสียเปล่าที่อาจจะเกิดขึ้น 5. ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีสินค้ากับสินค้าคงคลัง หมายถึงการจัดทำเอกสารตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าคงคลังกับสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีจัดเก็บ ซึ่งจะถูกจัดทำออกมาในลักษณะของรายงานการตรวจสอบบัญชีสินค้าคงคลัง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 3. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 4. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 5. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
|