หน่วยสมรรถนะ
จัดการสินค้าคงคลังตามแผนการปฏิบัติงาน
สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | LOG-KOXO-448A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดการสินค้าคงคลังตามแผนการปฏิบัติงาน |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพผู้บริหารสินค้าคงคลัง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมสินค้าคงคลัง ให้อยู่ในแผนการปฏิบัติงาน และการกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
1321 ผู้จัดการด้านการผลิต 1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
520071 ควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในแผนการปฏิบัติงาน |
1.นำข้อมูลที่ได้จากรายงาน ใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง 2. วางแผนการควบคุมสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ควบคุมติดตามและประเมินสินค้าคงคลังอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ |
520072 กำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา |
1.ตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในแผนการปฏิบัติงาน 1.1 สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการจัดการสินค้าคงคลัง 1.2 สามารถวางแผนการควบคุมสินค้าคงคลัง 1.3 สามารถควบคุมติดตามและประเมินสินค้าคงคลัง 2. ปฏิบัติการกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหา 2.1 สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 2.2 สามารถจัดทำการพยากรณ์อุปสงค์ในการจัดการสินค้าคงคลัง (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การจัดทำแผนการควบคุมการจัดการสินค้าคงคลัง 2. การบริหารความขัดแย้ง 3. หลักการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 4. การประเมินระดับความรุนแรงของปัญหา 5. การบริหารความเสี่ยง 6. วิธีการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง 2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการวางแผน การควบคุม การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การควบคุมสินค้าคงคลังให้อยู่ในแผนการปฏิบัติงาน เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจากลูกค้ามาทำการวางแผนจัดการคลังสินค้า พร้อมทั้งทำการกำกับควบคุมดูแลระดับของสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ นั่นคืออยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเสียค่าใช่จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่ำสุด 2. การกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ ปัญหาที่พบในคลังสินค้าส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหาสินค้าคงคลังไม่เคลื่อนไหว การขาดสต๊อกของสินค้า และปัญหาในเรื่องของการสูญหายของสินค้าในคลัง เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีการตรวจสอบและกำหนดแนวทางป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไปหรือน้อยลง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 2. เครื่องมือการประเมิน 1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย 2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล 3. แฟ้มสะสมผลงาน 4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |