หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการต้นทุนสินค้าคงคลัง

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-ICZJ-446A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการต้นทุนสินค้าคงคลัง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารสินค้าคงคลัง


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายจัดซื้อสินค้าคงคลัง และควบคุมต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
520051 กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายจัดซื้อสินค้าคงคลัง

1.วางแผนการเติมเต็มสินค้าคงคลังอย่างถูกต้องและครบถ้วน

2. ใช้เทคนิคระบบการเติมสินค้าคงคลัง อย่างเหมาะสม ถูกต้องและทันเวลา

3. จัดทำรายงานผลการเติมเต็มสินค้าคงคลังได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

520052 จัดการต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง

1.วางแผนค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลังอย่างถูกต้อง

2. ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าล้าสมัย เสียหายและสูญหายอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำเดือนอย่างมีประสิทธิภาพ

4. รายงานการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง ถูกต้อง ครบถ้วน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายจัดซื้อสินค้าคงคลัง

1.1 สามารถวางแผนการจัดซื้อ

1.2 สามารถดำเนินการจัดชื้อปริมาณที่ประหยัดตรงกับความต้องการมีปริมาณที่เพียงพอราคาที่เหมาะสม และทันเวลา

2. ปฏิบัติการจัดการต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง

2.1 สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง

2.2 สามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าล้าสมัย

2.3 สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าเสียหาย

2.4 สามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายประจำเดือน

2.5 สามารถรายงานการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การควบคุมสินค้าคงคลัง

2. การบริหารต้นทุนสินค้าคงคลัง

3. การจัดซื้อสินค้าคงคลัง

4. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์

5. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

6. การจัดทำบัญชีเบื้องต้น

7. การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการจัดการต้นทุนสินค้าคงคลัง

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การกำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายจัดซื้อสินค้าคงคลัง การกำกับดูแลให้การดำเนินงานของคลังสินค้าเป็นไปตามแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ สินค้าเข้ามาเติมสต๊อกในคลังสินค้า รวมทั้งต้องมีการคำนวณหาปริมาณจัดซื้อที่ประหยัดเพียงพอต่อความต้องการ โดยการสั่งซื้อจะใช้วิธีการสั่งซื้อแบบระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด หรือเรียกง่ายๆว่า EOQ หมายถึงการสั่งซื้อที่ประหยัดเป็นจำนวนในการสั่งซื้อที่เหมาะสม โดย EOQ จะเป็นการคำนวณหาจำนวนสินค้าที่จะสั่งซื้อ เมื่อสามารถพยากรณ์ได้ว่าปีนั้นต้องสั่งสินค้าเท่าไร 

   2. การจัดการต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง หมายถึงการจัดการต้นทุนค่าจัดเก็บสินค้า จะประกอบไปด้วยเงินลงทุนในคลังสินค้า ต้นทุนบริการสินค้าคงคลัง ต้นทุนค่าพื้นที่จัดเก็บ และต้นทุนความเสี่ยงของสินค้าคงคลัง เช่นค่าสินค้าล้าสมัยหรือหมดอายุ ค่าสินค้าแตกหักเสียหาย ค่าสินค้าถูกลักขโมย เป็นต้น ต้นทุนเหล่านี้จะต้องถูกควบคุมจัดการดูแลอย่างเหมาะสม



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ