หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนกำหนดระดับการถือครอง และการสำรองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-WAHL-445A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนกำหนดระดับการถือครอง และการสำรองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารสินค้าคงคลัง


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการกำหนดระดับการถือครองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้า และการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
520041 กำหนดระดับการถือครองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้า

1.กำหนดระดับการถือครอง และการสำรองสินค้าคงคลัง ได้อย่างถูกต้อง

2. เลือกใช้ข้อมูลในการกำหนดระดับสินค้าคงคลัง อย่างถูกต้อง

3. เลือกใช้เทคนิคในการกำหนดระดับถือครองและการสำรองสินค้าได้อย่างถูกต้อง

520042 กำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน

1.กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงานไว้อย่างชัดเจน

2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน

3. จัดทำการประเมินดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงานได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการกำหนดระดับการถือครองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้า

  1.1 สามารถนำข้อมูลที่ได้จากรายงาน ใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการจัดการสินค้าคงคลัง

  1.2 สามารถวางแผนการควบคุมสินค้าคงคลัง

  1.3 สามารถควบคุมติดตามและประเมินสินค้าคงคลัง

2. ปฏิบัติการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน

  2.1 สามารถกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน

  2.2 สามารถจัดทำแผนการปฏิบัติงาน ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จ

  2.3 สามารถจัดทำการประเมินดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เทคนิคการพยากรณ์สินค้าคงคลัง

2. การจัดการสินค้าคงคลัง

3. การควบคุมสินค้าคงคลัง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนการผลิต

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การกำหนดระดับการถือครองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้าจะใช้การพยากรณ์ในการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการคาดคะเนระดับการถือครองสินค้าคงคลังทั้งช่วงระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว การกำหนดระดับการถือครองสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับแผนพยากรณ์ความต้องการสินค้าจะมีประโยชน์ในการวางแผนและการตัดสินใจต่อหลายฝ่ายขององค์กร เทคนิคที่ใช้คือการพยากรณ์ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การพยากรณ์โดยใช้วิจารณญาณ, วิธีพยากรณ์หาสาเหตุ และการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา เป็นต้น

   2. การกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน ดัชนีชี้ความสำเร็จจะใช้ในการประเมินความสามารถในภาพรวมทั้งด้านต้นทุน เวลา และความน่าเชื่อถือ โดยค่าดัชนีจะเป็นตัวสะท้อนการดำเนินงานในภาพรวมของคลังสินค้าเป็นอย่างไร แผนบริหารจัดการคลังสินค้าที่จัดทำขึ้นจะต้องสอดคล้องกับค่าดัชนีความสำเร็จของงาน

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์ (กรณีศึกษา – การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง)

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์ (กรณีศึกษา – การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง)

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ