หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนการผลิต

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PITI-444A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารสินค้าคงคลัง


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวางแผนกระบวนการทำงานของการควบคุมสินค้าคงคลัง และควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า



9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
520031 วางแผนกระบวนการทำงานของการควบคุมสินค้าคงคลัง

1.วางแผนกำหนดกระบวนการทำงานของสินค้าคงคลัง อย่างถูกต้อง ชัดเจน

2. ประเมินแผนการทำงานสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ

520032 ควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม

1.ควบคุมกระบวนการทำงานของสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้อง

2.ประเมินรายงานการควบคุมสินค้าคงคลังให้ตรงตามความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องชัดเจน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนกระบวนการทำงานของการควบคุมสินค้าคงคลัง

1.1 สามารถวางแผนกำหนดกระบวนการทำงานของสินค้าคงคลัง

1.2 สามารถประเมินแผนการทำงานสินค้าคงคลัง

2. ปฏิบัติการควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม 

2.1 สามารถควบคุมกระบวนการทำงานของสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม

2.2 สามารถประเมินรายงานการควบคุมสินค้าคงคลังให้ตรงตามความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การควบคุมสินค้าคงคลัง

2. การวางแผนการปฏิบัติงาน

3. การสำรวจความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม

 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

  3. รายงานข้อมูลการตรวจสอบและเปรียบเทียบความถูกต้องของสินค้าคงคลังกับรอบบัญชี

  4. รายงานการตรวจสอบสินค้าคงคลัง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าคงคลัง

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนการผลิต

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. วางแผนกระบวนการทำงานของการควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของแผนการผลิต พื้นที่การเก็บสินค้าเป็นทรัพยากรพื้นฐานของการจัดเก็บรักษาสินค้าของกิจการคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรักษาก็เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของต้นทุนในการจัดเก็บ การปฏิบัติงานเก็บรักษาอย่างมีประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับการใช้เนื้อที่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดด้วยการก่อให้เกิดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้าและการปฏิบัติงานอื่นอันเกิดจากการเก็บสินค้าต่ำสุด การที่จะทำให้บรรลุผลดังกล่าวต้องเกิดจากการวางแผนการจัดเก็บสินค้าที่ดี ปัจจัยที่ใช้ในการวางแผนจัดการสินค้าได้แก่ ความคล้ายคลึงของสินค้า ความเป็นที่นิยมของสินค้า ขนาด น้ำหนัก และปริมาณของสินค้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่จะนำมาใช้ในการวางแผนจัดการ

   2. ควบคุมสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตของอุตสาหกรรม การควบคุมสินค้าคงคลังจะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานทางการตลาด โดยพิจารณาจากการวางแผน การดำเนินคลังสินค้ารวมถึงรูปแบบของอุปสงค์เคลื่อนที่ช้าและเร็ว หลักการพื้นฐานของคลังสินค้า เช่น การเติมหรือสต๊อกหมุนเวียน การสต๊อกเพื่อความปลอดภัยและสต๊อกกันชน สต๊อกถือครองเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลอุปทาน เป็นต้น จะต้องถูกดำเนินการอย่างถูกต้อง



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ