หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-UCLG-441A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารคลังสินค้า 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารคลังสินค้าซึ่งจะต้องปฏิบัติการวางแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า และบริหารการเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510211 วางแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า

1.สำรวจความต้องการสินค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วน

2. วางแผนเพิ่มมูลค่าของสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ควบคุมแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

510212 บริหารการเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

1.จัดการเพิ่มคุณค่าของสินค้าโดยเน้นกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

2. จัดการเพิ่มคุณค่าของสินค้าโดยเน้นผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า

  1.1 สามารถสำรวจความต้องการสินค้า

  1.2 สามารถวางแผนเพิ่มมูลค่าของสินค้า

  1.3 สามารถควบคุมแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สอดคล้องกับที่กำหนด

2. ปฏิบัติการบริหารการเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

  2.1 สามารถจัดการเพิ่มคุณค่าของสินค้าโดยเน้นกระบวนการ

  2.2 สามารถจัดการเพิ่มคุณค่าของสินค้าโดยเน้นผลิตภัณฑ์


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

2. วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า

3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า

4. การเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า และการกระจายสินค้า



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

   3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าในคลังสินค้าและการกระจายสินค้า

   4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าในคลังสินค้าและการกระจายสินค้า

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ควรแนะนำวิธีการประเมินเกี่ยวกับการกำหนดคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การวางแผนการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เป็นการวางแผนการใช้ความได้เปรียบหรือการนำจุดแข็งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ให้กับสินค้าหรือบริการ ส่งผลให้ยากต่อ การลอกเลียนแบบ โดยการมองสินค้าให้เป็นกระบวนการแล้วพิจารณาว่าในแต่ละกระบวนการนั้นเราสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างไร โดยวิธีใด

   2. การบริหารการเพิ่มคุณค่าของสินค้าในคลังสินค้า คือการจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการ แก่ลูกค้า นอกเหนือจากการให้บริการเป็นจุดที่พักสินค้าระหว่างทาง ตัวอย่างการให้บริการมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ การจัดเรียงสินค้า ตามใบสั่งซื้อ การตรวจสอบ (inspection) ตามความต้องการของลูกค้า



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์จากกรณีศึกษา

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ