หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-BYOL-439A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้บริหารงานคลังสินค้า


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้บริหารคลังสินค้าซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การบริหารงบประมาณในคลังสินค้า การบริหารทรัพยากรในคลังสินค้า และประเมินผลและการควบคุมการปฏิบัติงาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

1324 ผู้จัดการด้านการจัดหาและจัดส่งสินค้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
510191 บริหารงบประมาณในคลังสินค้า

1.จัดทำงบประมาณในคลังสินค้าอย่างถูกต้องตามนโยบายที่กำหนดไว้

2. ควบคุมงบประมาณในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

3. รายงานผลการบริหารงบประมาณในคลังสินค้าประจำปี มีความถูกต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

510192 บริหารทรัพยากรในคลังสินค้า

1.บริหารทรัพยากรมนุษย์ในคลังสินค้าอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ

2. บริหารเครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับการจัดการและจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ

3. บริหารทรัพยากรด้านการจัดสภาพแวดล้อมในคลังสินค้าดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ตรวจสอบข้อมูลการบริหารทรัพยากรภายในคลังสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วน

5. ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้

6.ใช้ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานในการควบคุมภายในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการบริหารงบประมาณในคลังสินค้า

   1.1 สามารถจัดทำงบประมาณในคลังสินค้า

   1.2 สามารถควบคุมงบประมาณในคลังสินค้า

   1.3 สามารถรายงานผลการบริหารงบประมาณในคลังสินค้าประจำปี

2. ปฏิบัติการบริหารทรัพยากรในคลังสินค้า

   2.1 สามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ในคลังสินค้า

   2.2 สามารถบริหารเครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับการจัดการและจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า

   2.3 สามารถบริหารทรัพยากรด้านการจัดสภาพแวดล้อมในคลังสินค้า

   2.4 สามารถตรวจสอบข้อมูลการบริหารทรัพยากรภายในคลังสินค้า


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การบริหารองค์กร

2. การบริหารงบประมาณ

3. การบริหารงานบุคคล

4. การจัดการเครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับการจัดการและจัดเก็บสินค้า

5. การทวนสอบข้อมูล



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

   3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

   4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการจัดการงบประมาณ และทรัพยากรภายในคลังสินค้า

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. บริหารจัดการงบประมาณในคลังสินค้า การถือสินค้าคงคลังถือว่าเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งที่ต้องจมอยู่กับสินค้าโดยที่ไม่สามารถนำเงินทุนนั้นไปใช้ในกิจกรรมอื่นได้ทุนส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าเสียโอกาสของเงินทุน โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนของการรักษาสินค้าจะคำนวณจากต้นทุนที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาสินค้าคงคลังตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการที่จะทำให้สินค้าคงคลังพร้อมจำหน่ายอยู่เสมอ ดังนั้นต้องมีการจัดทำงบประมาณในส่วนนี้เพื่อจัดเตรียมไว้ดูแลสินค้าที่ถูกจัดเก็บอยู่ในคลัง

    2. บริหารทรัพยากรในคลังสินค้า เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีการใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแล จัดเตรียม ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์เหล่านี้ให้มีความพร้อมในการใช้งานเสมอ รวมทั้งต้องดูปริมาณของอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการใช้งานในคลังสินค้าและบริหารจัดการให้มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์ (กรณีศึกษา – การบริหารจัดการคลังสินค้า)

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย หรือ แบบทดสอบอัตนัย

  2. ประเมินโครงการเฉพาะรายบุคคล

  3. แฟ้มสะสมผลงาน

  4. แบบประเมินสัมภาษณ์ (กรณีศึกษา – การบริหารจัดการคลังสินค้า)

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ